การส่งเสริมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Boosting R&D to Support Green Growth Policy of Thailand) หัวข้อหนึ่งในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 สวทช. ซึ่งในปีนี้จัดภายใต้หัวข้อ เรื่อง “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (S & T : Driving Force for Sustainable Development) ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2557 โดยหัวข้อ ดังกล่าว กำหนดขึ้นในวันพุธที่ 2 เมษายน 2557 ได้รับเกียรติจากวิทยากรหลายท่าน ได้แก่ Dr. Stefanos Fotiou (UNEP Asia-Pacific Regional Office) มาบรรยายในหัวข้อเรื่อง International Policy and Action
การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors)
การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 10 วันที่ 2 เมษายน 2557 ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันการตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ท าให้สามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้สะดวกขึ้น สามารถที่จะสกัดพฤติกรรมการคัดลอกผลงานของคนอื่นส่งผลให้การผลิตผลงานทางวิชาการในระดับต่างๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยได้มีการนำโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา และมีแผนจะนำไปใช้กับการพิจารณาการให้ทุนวิจัยการพิจารณาผลงานทางวิชาการ การสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้พัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานและความคล้ายกันของเอกสาร 3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เทคโนโลโยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ – ( 808 Views)
เก่งได้…ไร้ขีดจำกัด
วันนี้ (1 เมษายน 2557) ได้ฟัง ดร. ต่าย หรือ นิศรา การุณอุทัยศิริ เรื่อง เก่งได้…ไร้ขีดจำกัด ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 สวทช. หรือ NAC2014 โดยในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อหลัก “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ดร. ต่ายใช้เวลาเล่าให้ฟังแบบสนุก แต่ได้สาระ แม้ว่าเราจะไม่ใช่กลุ่มผู้ปกครองที่อยากรู้เคล็ดลับ เพื่อจะได้ดูแลลูกหรือเด็กๆ หรือผลักดันให้เก่งอย่าง ดร. ต่าย แต่เราไปฟัง เพราะเกิดศรัทธาในความคิดจากการเคยฟังเรื่องการอ่าน ที่ ดร. ต่ายมาพูดให้ฟังถึงความสำคัญของการอ่าน เพื่อสนับสนุนโครงการอ่านล้านเล่ม ในงาน NSTDA Charity Day ที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ ศรัทธาความคิดของ ดร. ต่าย อย่างไรนั้น คงต้องเคารพการเลี้ยงดูและการปลูกฝังความคิดจากครอบครัวของ ดร. ต่าย เพราะ ดร. ต่าย ระลึกอยู่เสมอว่า คุณพ่อและคุณแม่ เป็นข้าราชการ ได้เรียนในโรงเรียนรัฐบาล
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
วันนี้ (31 มีนาคม 2557) ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการเสวนาพิเศษหัวข้อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน (แต่ละท่านมีเวลา 20 นาที) คือ 1. คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้พูดถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2. คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเน้นยุทธศาสตร์ของภาคเอกชนคือการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3. คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงกลยุทธ์เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยกตัวอย่างบริษัทน้ำตาลมิตรผลซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยโดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรไม่ใช่ใช้แรงงานคนอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน ทำให้ในอนาคตอาจแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ 4. ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงนวัตกรรมขับเคลื่อน
NAC2014: กิจกรรมและการเยี่ยมชมเพื่อเยาวชนและผู้ปกครอง
พบกับกิจกรรมสนุกๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเยาวชน การเสวนาพิเศษเพื่อนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ครูอาจารย์และผู้สนใจทั่วไป การเยี่ยมชมศูนย์วิจัยแห่งชาติทั้ง 4 ศูนย์ของ สวทช. และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สถานที่จัดกิจกรรม: บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร One Day Camp กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย – มัธยมศึกษาตอนต้น Robots All Around: วันที่ 1 เมษายน 2557 (ทั้งวัน) เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านสื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ มหัศจรรย์เคมี ตอน เคมีของเงิน และ ลูกเด้ง: วันที่ 2 เมษายน 2557 (รอบเช้า) เรียนรู้หลักพื้นฐานของวิชาเคมี องค์ความรู้ทางเคมี และลงมือทดลองปฏิบัติการด้านเคมี เรื่อง “เคมีของเงิน และลูกเด้ง” กระตุกต่อมคิด…กับนักประดิษฐ์หุ่นยนต์น้อยสู่อาเซียนปีที่ 2: วันที่
การผลิตกรดไขมันโอเมก้าสามและโอเมก้าหก จากจุลินทรีย์
ปัจจุบัน เทคโนโลยีชีวภาพด้านลิปิดมีการเติบโตอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการลิปิดที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ การผลิตลิปิดจากจุลินทรีย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพนอกเหนือจากการผลิตจากแหล่งดั้งเดิมจากพืช สัตว์ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อย่างไรก็ตามในการนำลิปิดจากจุลินทรีย์มาใช้จริงในระดับอุตสาหกรรมมีข้อจำกัดทั้งด้านต้นทุน คุณภาพและปริมาณผลผลิต ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการหมักและวิศวกรรมชีวเคมี หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ จึงมุ่งเน้นศึกษาการพัฒนาการผลิตลิปิดจากจุลินทรีย์ โดยเฉพาะกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้าสามและโอเมก้าหก กรดไขมันโอเมก้าสามที่สำคัญ ได้แก่ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิค (EICOSAPENTAENOIC ACID) หรือ EPA และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิค (DOCOSAHEXAENOIC ACID) หรือ DHA ส่วนกรดไขมันโอเมก้าหกที่สำคัญ ได้แก่ กรดแกมม่าลิโนเลนิค (GAMMA-LINOLENIC ACID) หรือ GLA และกรดอะแรคชิโดนิค (ARACHIDONIC ACID) หรือ ARA หรือ AA ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้มีประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ โดยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิต้านทาน เป็นต้น ข้อมูลเพิ่มเติม ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ผลงานวิจัย วิชาการ สำหรับกิจกรรม NAC2014 ได้ที่
หินฟองน้ำไล่ยุง
บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด เป็นบริษัทที่ผลิตกระจกสำหรับอาคารมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และพบว่าในแต่ละเดือนจะมีเศษกระจกเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตหลายสิบตัน นายพลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ ทายาทธุรกิจรุ่นที่สองจึงเกิดแนวคิดสร้างมูลค่าจากของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ พลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ เผยว่าเขาเป็นทายาทรุ่น 2 ของ บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด ซึ่งมีธุรกิจผลิตกระจกสำหรับอาคาร โดยแต่ละเดือนต้องซื้อกระจกมาผลิตถึง 400 ตัน และมีเศษกระจกเหลือทิ้งที่ต้องขายคืนโรงหล่อกระจกมากถึง 40 ตัน ในฐานะผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรมของบริษัท พลัฏฐ์จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากเศษกระจกดังกล่าว และแก้ปัญหาให้แก่บริษัท และพบว่ามีงานวิจัยที่นำเศษกระจกไปทำเป็นแก้วรูพรุน หรือ หินฟองน้ำสำหรับใช้ประดับสวนได้ “แก้วรูพรุนที่ได้มีความคงตัว ไม่ยุบเพราะเผาที่อุณหภูมิสูง และสีไม่ซีดเพราะผสมผงสีลงในกระจแล้วเผา แต่นอกจากใช้เป็นหินประดับแล้ว น่าจะเพิ่มฟังก์ชันอื่นๆ ที่ไม่ขัดกับสินค้า เนื่องจากเป็นหินประดับสวน หากเติมกลิ่นไล่แมลงได้ด้วยน่าจะเป็นประโยชน์” พลัฏฐ์กล่าว ทั้งนี้ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลัฏฐ์ได้ลองฉีดกลิ่นตะไคร้หอมลงหินรูพรุน แต่กลิ่นอยู่ได้เพียง 2 สัปดาห์ จึงอยากได้วิธีที่รักษากลิ่นได้ยาวนาน ซึ่งพบว่าศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) มีเทคโนโลยีที่ช่วยกักกลิ่นได้นาน 2 เดือน จึงได้ประสานงานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี จากการสำรวจตลาดโดยให้กลุ่มร้านอาหารทดลอง พบว่าบางส่วนไม่ชอบกลิ่นตะไคร้หอม จึงเป็นโจทย์ว่าต้องพัฒนากลิ่นอื่นเติมลงไป