magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก อีโมติคอน (Emoticon)
formats

อีโมติคอน (Emoticon)

อีโมติคอน (Emoticon) หรือ สัญรูปอารมณ์ เปรียบเสมือนภาพศิลปะอย่างหนึ่งในที่ใช้แทนการสื่อสารแทนที่เป็นตัวหนังสือ (Text) สามารถแสดงกิริยาท่าทางหรืออารมณ์ความรู้สึกที่มีความหมายทำให้เห็นภาพเป็นภาษาที่แสดงออกหรือสื่อด้วยร่างกาย (Body language) เห็นหน้ากันเวลาสื่อสาร ซึ่งสามารถเข้าใจง่ายโดยมีตัวหนังสือและภาพที่ใช้สื่อความหมายที่ใกล้เคียงกัน มีคู่เทียบเคียงสามรถอุปมาอุปมัยได้เสมอ และอีโมติคอน (Emoticon) นั้น มีประวัติการใช้มานานกว่า 20 ปี เนื่องจากสมองของมนุษย์นั้นเริ่มมีความคุ้นชินกับสัญลักษณ์บางอย่าง

จากผลวิจัยของ Social Neuroscience พบว่าปัจจุบันมนุษย์ตีความ และมีปฏิกิริยาตอบโต้กับสัญลักษณ์ :-) เสมือนการเห็นหน้ามนุษย์คนอื่นๆ โดยเดิมนั้นก่อนมีการใช้งาน Emoticon อย่างแพร่หลาย เมื่อมนุษย์เห็นหน้ามนุษย์คนอื่น ไม่ว่าจะกลับด้านซ้าย ขวา บน หรือล่าง สมองบางส่วนของพวกเขาจะทำงาน และในตอนนี้เมื่อเห็นสัญลักษณ์ :-) สมองของพวกเขาก็มีการตอบโต้ในลักษณะเดียวกัน

Dr.Owen Churches ได้เผยข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากได้ทำการทดลองกับกลุ่มทดลองว่าการตีความสัญลักษณ์ดังกล่าวนั้นไม่ได้ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด แต่ทว่าการตีความ Emoticon นั้นเกิดจากความคุ้นชิน ทำให้เมื่อใดที่เห็นสัญลักษณ์ :-) ทุกคนจะสามารถเข้าใจได้ว่าสัญลักษณ์นั้นหมายถึงใบหน้ามนุษย์ นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่า พฤติกรรมการตีความดังกล่าวจะไม่สามารถเจอได้ในช่วงปี 1982 หรือก่อนหน้านั้นที่การใช้งาน Emoticon นั้นยังไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ฉะนั้นการใช้งาน Emoticon ที่ถูกต้องนั้นคือ :-) เท่านั้น

ที่มา :

Pilibda Utayanakorn.  (2557).  จากการศึกษาพบว่า Emoticon ทำให้สมองตอบสนองกับตัวอักษรจนกลายเป็นใบหน้าคนแล้ว. ค้นคืนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://thumbsup.in.th/2014/02/emoticon-reshape-our-brain/– ( 137 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


eight × = 40

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>