magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เหตุใดกาแลกซี่กังหันจึงมีรูปร่างต่างกัน
formats

เหตุใดกาแลกซี่กังหันจึงมีรูปร่างต่างกัน

ทีมนักดาราศาสตร์จากศูนย์วิจัยวิทยุดาราศาสตร์นานาชาติ ออสเตรเลีย ได้ค้นพบว่า กาแลกซี่ที่หมุนรอบตัวเองเร็วๆ จะแบนกว่ากาแลกซี่ที่ขนาดเท่ากันแต่หมุนรอบตัวเองช้ากว่า โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Astrophysical Journal แล้ว

รศ.ดร.ดาเนล โอเบรสช์โคว แห่งมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย เผยว่าการหมุนรอบตัวเองของกาแลกซี่กังหัน คือกุญแจสำคัญที่มีผลต่อรูปร่างของมัน ความเร็วในการหมุนส่งผลต่อรูปร่างของกาแลกซี่ หรือดาราจักรกังหันบางแห่งจึงมีรูปร่างแตกต่างกัน บางแห่งอ้วน บางแห่งโป่ง และกลับมีลักษณะเป็นจานบิน การก่อตัวของกาแลกซี่นี้คล้ายกับการหมุนของม้าหมุนบนจาน ถ้าม้าหมุนอยู่ในสถานะหยุดนิ่ง แผ่นจานจะเล็ก แต่ถ้าทุกอย่างหมุน แผ่นจานก็จะใหญ่ขึ้น เพราะมันคือปรากฏการณ์เคลื่อนที่ออกจากจุดศูนย์กลาง กาแลกซี่ทางช้างเผือกของเรานั้นมีรูปร่างที่ค่อนข้างแบนแต่มีส่วนโป่งนูนค่อนข้างเล็ก สามารถมองเห็นได้บนท้องฟ้ายามค่ำขึ้น แถบสีขาวที่พาดผ่านท้องฟ้ายามค่ำคืนนี้ถือว่ามีความหนาคงที่แต่ค่อนข้างเล็กนะ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเราดูที่กลุ่มดาวราศีธนู เราจะเห็นส่วนโป่งนูนของทางช้างเผือก

นักวิจัยได้ศึกษากาแลกซี่ทั้งหมด 16 แห่ง ในช่วงห่างจากโลก 10 ล้านถึง 50 ล้านปีแสง โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจที่เรียกว่า THINGS ซึ่ง THINGS แสดงให้เราทราบถึงแก๊สเย็นที่อยู่ในกาแลกซี่นั้นๆ ไม่ใช่แค่บอกว่ามันเคลื่อนที่อย่างไร นับว่าเป็นจุดสำคัญเพราะถ้าจะวัดการหมุน แค่ถ่ายภาพมันไม่พอ จะต้องดูภาพพิเศษที่บอกการเคลื่อนที่ของมันด้วย รูปร่างของกาแลกซี่กังหันนั้นขึ้นอยู่กับทั้งการหมุนของมันและมวล และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้สักหลายพันล้านปี คุณสมบัติทั้งสองก็ยังเหมือนเดิม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก เหตุใดกาแลกซี่กังหันจึงมีรูปร่างต่างกัน หรือ Fat or flat: Getting galaxies into shape– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 − five =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>