ทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาเลียง ประเทศฝรั่งเศส ทำการทดลองใช้ Positron Emission Tomography (PET) ในการวัดกิจกรรมของสมองโดยธรรมชาติของอาสาสมัคร 41 คนในช่วงที่หลับและตื่น อาสาสมัครนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 21 คนเป็นผู้ที่จำความฝันได้ดี คือ มีจำความฝันได้เฉลี่ย 5.2 ครั้งต่อสัปดาห์ กับอีก 20 คนที่เป็นผู้จำความฝันได้ไม่ดี คือ จะจำความฝันได้เพียง 2 ครั้งต่อเดือนโดยเฉลี่ยเท่านั้น
นักวิจัยกล่าวว่า ผู้ที่จำความฝันได้ดีนั้น ทั้งช่วงที่หลับและตื่นจะมีกิจกรรมในสมองในส่วน medial prefrontal cortex (mPFC) และ temporo-parietal junction (TPJ) ที่ชัดเจน อันเป็นส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่มาจากการกระตุ้นจากภายนอก ซึ่งกล่าวคือ ผู้ที่จำความฝันได้ดีจะมีการตื่นตัวในขณะที่หลับบ่อยครั้ง ซึ่งมากกว่าผู้ที่จำความฝันไม่ค่อยได้หลายเท่านัก นอกจากนี้ สมองของผู้ที่จำความฝันได้ดียังมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระตุ้นในขณะที่หลับและช่วงที่ตื่นมากกว่าอีกด้วย ซึ่งปฏิกิริยาที่มากกว่าปกตินี้ทำให้เกิดการตื่นตัวในช่วงกลางคืนอยู่นั่นเอง และอาจจะช่วยทำให้จดจำความฝันในช่วงกลางคืนได้ด้วยนั่นเอง
ที่มา : Natty_sci. (2557). เหตุใดบางคนจึงจำความฝันได้ดี. ค้นคืนเมื่อ 4 มีนาคม 2557, จาก http://www.vcharkarn.com/vnews/448227– ( 22 Views)