magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก การประเมินวัดความพร้อมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
formats

การประเมินวัดความพร้อมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

e-Government readiness หรือ การประเมินวัดความพร้อมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จากการสำรวจขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้ริเริ่มการสำรวจทางด้านความพร้อมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นนับแต่ปี 2545 โดยวัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อ (i)ประเมินเปรียบเทียบความสามารถของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติในการเปลี่ยนแปลงภาครัฐโดยการนำ ICT มาใช้เพื่อให้บริการผ่านสื่อออนไลน์แก่ประชาชน (ii) เพื่อเป็นเครื่องมือในการ benchmark ความก้าวหน้าในการให้บริการ e-Services ของภาครัฐอยู่เป็นระยะ

e-Government readiness ประกอบด้วย ดัชนีย่อย 3 ด้าน คือ

  1. Web measure index ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของ e-Government Model ที่แบ่งขั้นตอนของวิวัฒนาการของการให้บริการทางออนไลน์ของ e-Government เป็น 5 ขั้นตอน
  2. Telecommunication infrastructure index ประกอบด้วย การแพร่กระจายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภายในประเทศ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ (ประจำที่และโทรศัพท์เคลื่อนที่) การแพร่กระจายของอินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband
  3. Human capital index ซึ่งเน้นที่ความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ภายในประเทศ เช่น ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ (literacy) และจำนวนประชากรที่เข้าศึกษาต่อทั้งในระดับประถม มัธยมและอุดมศึกษา

นอกจากนี้ ในการสำรวจระยะหลัง องค์การสหประชาชาตืเริ่มปรับแนวคิดจาก e-Government เป็น e-Governance โดยได้ขยายมิติให้ครอบคลุมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครอง/บริหารบ้านเมืองของประชาชน หรือ e-Praticipation ด้วย

 

ที่มา: UN E-Government Survey 2008: from e-Government to Connected Governance. ค้นข้อมูลวันที่ 31 ตุลาคม 2555 จาก http://unpan1.un.org/intradoc/groups/public/documents/un/unpan028607.pdf– ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− 3 = six

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>