ทางเว็บไซต์วิทยาศาสตร์ยักษ์ใหญ่ ทางฝั่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อย่างเว็บไซต์ ScienceAlert ได้แนะนำ 11 เหตุการณ์บนท้องฟ้าที่ไม่ควรพลาด ในปี 2557 ซึ่งมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจดังนี้
- Jupiter at Opposition : ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งถือได้วันนี้เป็นปีที่มีช่วงเวลาที่ดีที่สุด ในการสังเกตุการณ์ดาวพฤหัสบดีที่เข้ามาใกล้โลกเรา
- วันพฤหัสบดี ที่ 20 มีนาคม 2557 Asteroid blocks out star: ดาวเคราะห์น้อย 163 Erigone จะโคจรมาบดบังดาวเรกูลัส (Regulus) ที่อยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ประมาณ 12 วินาที ปรากฏการณ์นี้จะเริ่มขึ้นและสังเกตุได้ชัดเจนในนครนิวยอร์กและเลื่อนไปยังออนตาริโอ ประเทศแคนาดา
- วันอังคาร ที่ 8 เมษายน 2557 Mars at Opposition: ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด ที่จะสังเกตการณ์รายละเอียดของพื้นผิวดาวอังคารซึ่งสามารถเฝ้าติดตามผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยาย 80-100x ได้อีกด้วย
- วันอังคาร ที่ 15 เมษายน 2557 (ช่วงวันสงกรานต์) Total Lunar Eclipse: จันทรุปราคาเต็มดวง ปรากฏการณ์นี้เห็นได้ชัดเจนในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลากลางวันตามเวลาประเทศไทยด้วย
- วันจันทร์ อังคาร ที่ 28 – 29 เมษายน 2557 Ring of Fire Eclipse: สุริยุปราคาวงแหวน ซึ่งนับเป็นสุริยุปราคาครั้งแรกของปีนี้ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่สุดในทวีปแอนตาร์กติก แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่เห็นปรากฎการณ์ครั้งนี้
- วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม 2557 Saturn at Opposition: ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด ที่จะสังเกตการณ์ โดยมองผ่านจากกล้องโทรทรรศน์ ในวันนี้จะสังเกตเห็นวงแหวนบางส่วนอย่างชัดเจน
- วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม 2557 Meteor Shower: ฝนดาวตก ซึ่งวันนี้อาจเกิดฝนดาวตกจำนวนมากเป็นพิเศษ โดยเกิดจากฝุ่นดาวหาง 209 พี/ลีเนียร์ (209P/LINEAR) ซึ่งโคจรผ่านมายังโลก
- วันเสาร์ ที่ 7 มิถุนายน 2557 Conjunction of Mars and Moon: ดาวเคียงเดือน ในวันนี้สมารถสังเกตเห็นดาวอังคารปรากฏเคียงข้างดวงจันทร์บนฟากฟ้า
- วันจันทร์ ที่ 18 สิงหาคม 2557 Conjunction of Jupiter and Venus: ดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้กับดาวศุกร์ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการชมปรากฏการณ์คือช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นนั่นเอง
- วันพุธ ที่ 8 ตุลาคม 2557 Total Lunar Eclipse: จันทรุปราคาเต็มดวง เป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ของปี นอกจากประเทศไทยที่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์นี้แล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ด้านตะวันตกของอเมริกาใต้ ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก ก็สามารถชมปรากฏการ์ณพิเศษนี้ได้เช่นกัน
- วันพฤหัสบดี ที่ 23 ตุลาคม 2557 (ซึ่งตรงกับวันปิยมหาราช) Partial Solar Eclipse: สุริยุปราคาบางส่วน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย ทวีปอเมริกาเหนือและทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก
ที่มา : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2557). 11 เหตุการณ์บนท้องฟ้าที่ไม่ควรพลาด!!! . ค้นคืนเมื่อ 14 มีนาคม 2557, จาก http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=1058:11-เหตุการณ์บนท้องฟ้าที่ไม่ควรพลาด&Itemid=719– ( 68 Views)