ปัจจุบัน เทคโนโลยีชีวภาพด้านลิปิดมีการเติบโตอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการลิปิดที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ การผลิตลิปิดจากจุลินทรีย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพนอกเหนือจากการผลิตจากแหล่งดั้งเดิมจากพืช สัตว์ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อย่างไรก็ตามในการนำลิปิดจากจุลินทรีย์มาใช้จริงในระดับอุตสาหกรรมมีข้อจำกัดทั้งด้านต้นทุน คุณภาพและปริมาณผลผลิต ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการหมักและวิศวกรรมชีวเคมี หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ จึงมุ่งเน้นศึกษาการพัฒนาการผลิตลิปิดจากจุลินทรีย์ โดยเฉพาะกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้าสามและโอเมก้าหก กรดไขมันโอเมก้าสามที่สำคัญ ได้แก่ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิค (EICOSAPENTAENOIC ACID) หรือ EPA และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิค (DOCOSAHEXAENOIC ACID) หรือ DHA ส่วนกรดไขมันโอเมก้าหกที่สำคัญ ได้แก่ กรดแกมม่าลิโนเลนิค (GAMMA-LINOLENIC ACID) หรือ GLA และกรดอะแรคชิโดนิค (ARACHIDONIC ACID) หรือ ARA หรือ AA ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้มีประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ โดยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิต้านทาน เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ผลงานวิจัย วิชาการ สำหรับกิจกรรม NAC2014 ได้ที่ http://www.nstda.or.th/component/content/category/259-nac2014–– ( 54 Views)