magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Health เหตุใดมนุษย์อวกาศความดันตกฮวบเมื่อกลับถึงโลก
formats

เหตุใดมนุษย์อวกาศความดันตกฮวบเมื่อกลับถึงโลก

จากการรายงานข่าวต่างประเทศ พบบรรดามนุษย์อวกาศที่กลับจากการเดินทางนอกโลก ไม่ว่าช้านานมากน้อยเท่าใด มักจะพากันมีอาการความดันเลือดตกเมื่อยืนขึ้น ผู้ที่ไปนานตั้ง 4-6 เดือน จะเป็นกันถ้วนหนัา แล้วอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จึงทำให้ผู้คนเอาใจใส่และให้ความสำคัญทว่าภัยของโรคความดันโลหิตต่ำนั้นคนทั่วไปมักไม่รู้เท่าทัน เรามักจะพบผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นแม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดีตามปกติ อีกทั้งยังเสริมอาหารและวิตามินบำรุงร่างกายอย่างเต็มที่ ส่วนด้านการงานก็ไม่ได้เหน็ดเหนื่อยและไม่มีความกดดัน ทว่ายังคงรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง โดยเฉพาะหลักจากรับประทานอาหารมือกลางวันแล้วจะรู้สึกง่วงซึม เรี่ยวแรงหดหาย นั่งฟุบโต๊ะหาวหวอดๆ จนน้ำหูน้ำตาไหล ไม่มีสมาธิในการทำงานยิ่งไปกว่านั้นอาจมีอาการใจสั่น ขี้หนาว ในขณะที่เพื่อนร่วมงานล้วนคิดว่าอุณหภูมิจากเครื่องปรับอากาศกำลังพอเหมาะแต่ตนเองกลับรู้สึกว่าช่างหนาวเย็นจับใจจนต้องสวมเสื้อคลุมทับ แต่พอไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลกลับไม่พบความผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรตรวจวัดความดันโลหิตเพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นผลมาจากความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยความดันโลหิตต่ำชนิดที่เรากล่าวถึงคือ ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลันหมายถึงว่า ความดันโลหิตต่ำลงอย่างฮวบฮาบจากเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะแสดงอาการหลักๆ คือ หน้ามืดและช็อคหมดสติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นลมหรือหัวใจล้มเหลว แล้วในกรณีที่เป็นนักอวกาศ การออกไปอาศัยอยู่นอกโลกจะมีผลอย่างไร และเพราะสาเหตุใด

หลังจากปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเป็นเวลานาน เมื่อนักบินอวกาศได้เดินทางกลับมายังโลกแล้ว คุณหมอเบนจามิน เลวิน ที่ทำงานให้กับศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสเซาท์เวสเทิร์น กล่าวว่า ไม่เพียงแต่นักบินอวกาศจะสับสนในระบบการทรงตัวของตนเองเท่านั้น ระบบประสาทสัมผัสภายในที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวก็แทบจะโยนทิ้งไปได้เลย นอกจากนี้ กระดูกและกล้ามเนื้อของนักบินอวกาศเหล่านี้ก็มีสภาพเสื่อมลง

ทั้งนี้ร่างกายของมนุษย์และอวัยวะต่างๆ จำเป็นที่จะต้องทำงานและเคลื่อนไหวเพื่อให้มีความกระปรี้กระเปร่า กระดูกก็ต้องรองรับน้ำหนักเพื่อรักษาความหนาแน่นและความแข็งแรงของมันเอง กล้ามเนื้อเองก็จำเป็นต้องมีการยืดและหดต่อแรงต้านเพื่อที่ตัวมันเองจะคงรูปอยู่ ถ้าเราไม่ได้กายบริหารแล้วละก็ เราจะสูญเสียมันไป ซึ่งมีคำถามตามมาว่า “แล้วมันเป็นจริงกับกล้ามเนื้อที่สำคัญที่สุดอย่างหัวใจของเราด้วยไหม” เพื่อประเด็นนี้ นาซาได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยใหม่ ที่เรียกว่า “ระบบไหลเวียนโลหิตแบบบูรณาการ (Integrated Cardiovascular)” ขึ้น

ซึ่งในภายหลังได้มีวารสารทางวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่งเปิดเผยว่า การศึกษาหาสาเหตุดังกล่าวพบว่า เกิดเพราะเมื่อต้องไปอยู่ในที่ซึ่งแรงดึงดูดน้อยลง ได้ทำให้หลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยไม่อาจหดตัวลงได้อย่างปกติ หากว่าสามารถหาวิธีป้องกันและรักษาพบ ยังจะเป็นประโยชน์กับ ชาวโลกที่สูงอายุ ซึ่งมักจะมีอาการแบบนี้ มากยิ่งขึ้นกว่ากลุ่มคนวัยอื่นด้วย

ดร.ไมเคิล ดี. เคลอป์ คณะสรีรวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยฟลอริดา กล่าวว่า “ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ ทำให้ได้ทราบว่า การเดินทางนอกโกลที่มีสภาพไร้น้ำหนักนั้น อาจก่อให้เกิดอาการไม่สบายขึ้นได้หลายอย่างตั้งแต่ความดันเลือดตก การสูญเสียเนื้อกระดูกและความบกพร่องในการมองเห็น”

ดังนั้น จากผลการวิจัยถึงสาเหตุดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ว่าจะแค่ยืนเส้นยืดสาย หรือออกกำลังแบบจริงจัง แต่พอดีๆ ย่อมส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายของเราอย่างแน่นอน

 

รายการอ้างอิง :

มนุษย์อวกาศความดันตกเมื่อถึงโลก ยิ่งเดินทางกินเวลานานยิ่งเป็นกันมาก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thairath.co.th/content/edu/302697. (วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2555).

สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์. การเต้นของหัวใจนักบินอวกาศ ภายใต้สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=cardio. (วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2555).

Mootri. โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/17259. (วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2555).– ( 159 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


three × = 6

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>