Thai National Research Repository : TNRR คือ ระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ จัดทำขึ้นเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าไปสืบค้นงานวิจัยและให้บริการเรื่องของการยื่นขอทุนวิจัยได้จากที่เดียว โดยมีคณะทำงานเพื่อพัฒนาและบูรณาการระบบข้อมูลวิจัยของประเทศ พ.ศ. 2554 ได้แก่
- สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
มีที่มาตามช่วงหรือยุคการพัฒนา ดังนี้
- Link Exchange เริ่มจากปี 2544 ได้มีการรวบรวม Link และ Banner ไว้ที่เว็บไซต์ของ สวทช. เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้จากที่หน้าเว็บไซต์ แต่ไม่สามารถสืบค้นข้ามระบบกันได้
- Thai Research
- National Repository (TNRR)
- Expert Finder & Profile
- Unified Research Proposal Service การนำงานวิจัยออกสู่ภาคธุรกิจ
ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย (Thai National Research Repository : TNRR) สามารถแบ่งคณะทำงาน TNRR ได้ทั้งหมด 5 คณะ โดยมีแนวคิดและการทำงานดังนี้
TNRR 1 : คณะทำงานโครงการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ให้บริการข้อมูลผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จแก่สาธารณชน Research Repository สามารถสืบค้นงานวิจัยทั้งหมดของทุกหน่วยงาน โดยคำนึงถึงการจัดเก็บที่เป็นมาตรฐานสากล และใช้การเชื่อมโยงโดยวิธีการทำงานระบบเปิด ซึ่งฐานข้อมูลสามารถรองรับ Protocol OAI-PMH ซึ่งข้อมูลที่เชื่อมโยงนั้น ต้องไม่ใช่ผลงานที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและการยื่นจดทะเบียบทรัพย์สินทางปัญญา
TNRR 2 : คณะทำงานฐานข้อมูลนักวิจัยและ Expert Finder ให้บริการข้อมูลนักวิจัยและบริการเพื่อการหาผู้เชี่ยวชาญแก่สาธารณชน Expert Profile & Finder
TNRR 2.1 Expert Profile ซึ่งเป็นระบบลงทะเบียบนักวิจัยที่จะใช้ในสมัครเพื่อยื่นขอทุน เป็นระบบปิดไม่สามารถสืบค้นได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนตัว ซึ่งจะมีระบบ Authen หรือการพิสูจน์ตัวตน และมีการทำงานที่เชื่อมโยงกับคณะทำงาน Single Window & Data Entry
TNRR 2.2 Expert Finder จะสืบค้นจากฐานข้อมูลจำนวนนักวิจัยที่ไม่ใช่จาก Expert Profile ที่ใช้ในการขอทุน แต่เป็นรายชื่อหรือคำค้นที่ได้จากการวิเคราะห์และประมวลจากข้อมูลงานวิจัยที่มีการเก็บเกี่ยวมาแหล่งต่างๆ ใน TNRR 1 มาแสดงผล และในกรณีที่ชื่อของคุณอยู่ในระบบ TNRR 1 อยู่แล้ว อีกประมาณ 1 สัปดาห์ ผลงานต่างๆ จะถูกเชื่อมโยงและดึงข้อมูลอัตโนมัติมาปรากฏที่ TNRR 2 โดยไม่ต้องเสียเวลากรอกข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม ในส่วนของสิทธิบัตรนั้นต้องกรอกข้อมูลเอง เนื่องจากยังไม่มีฐานข้อมูลในเรื่องของสิทธิบัตร รวมถึงส่วนของผลงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรที่มีการนำออกไปเผยแพร่
TNRR 3 : คณะทำงานฐานข้อมูลสิทธิบัตร Utilization & Commercialization บริการค้นหาสิทธิบัตรไทยความร่วมมือด้าน Commercialization เพื่อวิเคราะห์ว่าผลงานใดสามารถนำเผยแพร่หรือถ่ายทอดสู่เชิงพาณิชย์ได้แล้วบ้าง
TNRR 4 : คณะทำงานโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ให้บริการติดตามโครงการวิจัย On-going Projets โดยให้หน่วยงานให้ทุนบริหารจัดการติดตามความคืบหน้าผู้ที่รับทุนไป
TNRR 5 : คณะทำงาน Single Window & Data Entry ให้บริการการยื่นขอทุนวิจัยแบบมุ่งเป้าที่เดียว เพื่อตอบสนองและอำนวยความให้นักวิจัยที่ไม่ต้องยื่นขออทุนหลายที่ ลดการซ้ำซ้อนของการยื่นขอทุน และการทำวิจัย
– ( 256 Views)