magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2556
formats

การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2556

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการเปิดเผยผลการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรไทย ซึ่งมีค่าสถิติที่อยู่ในระดับวิกฤต  หรือที่กล่าวกันชัดๆ ว่า “คนไทยอ่านหนังสือเพียงปีละ 8 บรรทัด” ถือเป็นเรื่องใหญ่และน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะการอ่านหนังสือมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างหนึ่ง เป็นรากฐานของการศึกษา เรียนรู้ เพิ่มพูนความรู้ พัฒนา และเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองต่างๆ ในการเรียนหรือการดำรงชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์

ผลการดำเนินการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2556 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จากจำนวนครัวเรือนตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือน ซึ่งจำแนกประชากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1. การอ่านหนังสือของเด็กเล็ก 2. การอ่านหนังสือของประชากร (อายุตั้งแต่ง 6 ปีขึ้นไป)

1. การอ่านหนังสือของเด็กเล็ก
การอ่านหนังสือของเด็กเล็ก ในที่นี้คือเด็กสามารถอ่านได้เอง รวมทั้งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง พบว่า เด็กเล็กที่อ่านหนังสือมีประมาณ 2.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 58.9 เด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าเด็กผู้ชายเล็กน้อย ซึ่งเขตการปกครองในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล ในเขตกรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมานั้น จะเห็นว่าอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีความถี่ในการอ่านหนังสือสัปดาห์ละ 2 – 3 วัน มากที่สุด ร้อยละ 37.6 รองลงมาคือ อ่านทุกวันและอ่านสัปดาห์ละ 4 – 6 วัน ตามลำดับ

2. การอ่านหนังสือของประชากร (อายุตั้งแต่ง 6 ปีขึ้นไป)
การรอ่านหนังสือของประชากร (อายุตั้งแต่ง 6 ปีขึ้นไป) มีอัตราการอ่านหนังสือร้อยละ 81.8 ผู้ชายมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย พบว่าประชาการที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล ในเขตกรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำที่สุดเช่นเดียวกับผลการสำรวจการอ่านหนังสือของเด็กเล็ก

ทั้งนี้ กลุ่มวัยเด็กมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุดร้อยละ 95.1 รองลงมาคือ กลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยสูงอายุ ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มวัยที่แตกต่างกันนั้น มีความสนใจอ่านหนังสือที่อ่านแตกต่างกันตามแต่ละวัย โดยมีความเชื่อมโยงกันกับระดับการศึกษา เนื่องจากพบว่า ผู้มีระดับการศึกษาที่สูงกว่า มีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้มีการศึกษาระดับต่ำกว่า และหนังสือพิมพ์เป็นประเภทของหนังสือที่มีผู้อ่านสูงสุด รองลงมาคือ วารสาร/เอกสารประเภทที่ออกประจำ ตำรา/หนังสือ/เอกสารที่ให้ความรู้ นิตยสาร หนังสือ/เอกสารเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และแบบเรียน/ตำราเรียนตามหลักสูตร และหนังสือประเภทอื่นๆ ตามลำดับ

เนื้อหาสาระที่ผู้อ่านชื่นชอบมากที่สุดคือ ข่าว รองลงมาคือ สารคดี/ความรู้ ทั่วไป บันเทิง ความรู้วิชาการ และคำสอนทางศาสนา ตามลำดับ เวลาเฉลี่ยที่ใช้อ่านหนังสือเฉลี่ย 37 นาทีต่อวัน และมีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเกือบทุกวัย ยกเว้นกล่มวัยสูงอายุที่ใช้เวลาอ่านลดน้อยลง

วิธีการรณรงค์ที่ได้รับการเสนอแนะมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่

  1. หนังสือควรมีราคาถูกลง
  2. ปลูกฝังให้รักการอ่านผ่านพ่อแม่/ครอบครัว
  3. ให้สถานศึกษามีการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน
  4. ส่งเสริมให้มีห้องสมุด/ห้องสมุดเคลื่อนที่/มุมอ่านหนังสือในชุมชน/พื้นที่สาธารณะ
  5. รูปเล่ม/เนื้อหาน่าสนใจ หรือใช่ภาษาง่ายๆ

จากผลการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2556 นี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ประเทศไทยจะพัฒนาคนและพัฒนาประเทศ ก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เป็นสังคมแห่งปัญญา แต่ทุกอย่างจะสำเร็จผลได้นั้น เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนให้เห็นถึงความสำคัญของการอ่าน ช่วยกันกระตุ้น สนับสนุน และให้ความร่วมมือส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจัง

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2556

ที่มา :
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557).  สรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 25 เมษายน 2557 จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/readingRep56.pdf– ( 2213 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 + six =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>