magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ Google Science Fair ประตูบานใหม่สำหรับนักวิทยาศาสตร์เยาวชน
formats

Google Science Fair ประตูบานใหม่สำหรับนักวิทยาศาสตร์เยาวชน

Google.com เว็บไซต์เพื่อการสืบค้นที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันนี้ กำลังจัดการแข่งขันด้าน วิทยาศาสตร์บนระบบอินเตอร์เน็ต การแข่งขัน Google Science Fair เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 โดย Larry Page และ Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Google มีวัถตุประสงค์ ในการกระตุ้นให้เยาวชนและคนรุ่นใหม่ระดมความคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิทยาศาสตร์ และค้นหา คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถโดดเด่นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้

Feb_STnews_2014_11

ผู้สนับสนุนการแข่งขันในปีนี้เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เช่น Lego Group, National Geographic, Scientific America Magazine และ Virgin Galactic Space Venture ผู้ชนะในการแข่งขันจะได้ เยี่ยมชมสถานีอวกาศ Virgin Galactic ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐ New Mexico ในฐานะผู้เข้าชม VIP ได้ร่วมเดินทางไปยังหมู่เกาะ กาลาปาโกส กับคณะของ National Geographic เป็นระยะเวลา 10 วัน และเงินรางวัลเป็นจำนวน 1,800,000 บาท ($60,000) สำหรับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต้นสังกัดของผู้ชนะเพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา และงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์

การแข่งขันนี้เปิดโอกาสให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาอายุ 13 – 18 ปี จากทั่วโลก โดยสามารถลงแข่งขันได้ทั้งรายบุคคลและ กลุ่มผู้แข่งขัน บริษัท Google จะคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 15 คนหรือกลุ่ม โดยโครงการที่จะผ่านเข้ารอบนั้นจะต้องเป็น โครงการที่เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในเชิงลึก มีกำหนดส่งผลงานวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 และจะ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในระดับโลกในเดือนสิงหาคม 2557 จากนั้น ผู้เข้ารอบสุดท้ายจะรวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรม แสดงผลงานที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท Google ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

Feb_STnews_2014_13 Feb_STnews_2014_12

ตัวอย่างผู้ชนะที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลกคือ Shree Bose อายุ 17 ปี โดยในปี พ.ศ. 2554 เธอเป็นผู้ชนะจากการวิจัยยารักษาโรคมะเร็งจากยาซิสแพลติน (cisplatin) และในปี พ.ศ. 2555 เธอก็ยังได้เป็นผู้ชนะจากการวิจัยการตรวจสอบเนื้องอกที่อาจจะ พัฒนาเป็นเนื้อร้ายในเต้านม ผลงานอื่นๆ ของผู้ชนะในปีที่ผ่านมา เช่น ยาป้องกันโรคไข้หวัด ไฟฉายที่ไม่ต้องใช้พลังงาน จากถ่านไฟฉาย และพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากกล้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18043-science-and-technology-news

 

 

 – ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


three + = 10

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>