เมื่อ 63 ปีก่อน ได้มีการเริ่มวิจัยดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจากแสงที่ส่งผ่านไปยังชั้น บรรยากาศ นักวิทยาศาสตร์ ได้พบวิธีการวิเคราะห์มวลแบบใหม่ ที่สามารถช่วยนักวิจัยระบุได้ว่าดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงดาวต่างๆ สิ่งมีชีวิต สามารถดำรงชีวิตได้หรือไม่ และดาวเคราะห์ เหล่านั้นควรประกอบไปด้วยอนุภาคที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิตในชั้น บรรยากาศ อาทิ เช่น ออกซิเจน และน้ำ
การวัดขนาดของดาวเคราะห์โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ (Telescopes) เมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนตัวมาบดบังดวงดาว นักดาราศาสตร์สามารถประมาณขนาดได้จากเงาที่เกิดขึ้น การศึกษาดาวเคราะห์มีความเป็นไปได้มากขึ้น เมื่อนาซาได้ เตรียมกล้องโทรทรรศน์ James Webb Space ที่จะเริ่มปฏิบัติการในปี ค.ศ. 2018 นักดาราศาสตร์จะสามารถวิเคราะห์ แสงดาวที่ผ่านไปยังดาวเคราะห์ในอวกาศ หรือการส่งผ่านของสเปกตรัม (Transmission spectrum) ซึ่งจะสามารถบ่งบอก ได้ถึงประเภทของโมเลกุลบนดาวเคราะห์และในชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังสามารถใช้วิธีการวัดอัตรา ความเร็วแนวเล็ง หรือความเร็วในแนวรัศมี (Radial velocity method) ซึ่งวิธีการนี้สามารถวัดปริมาณการผูกมัด โยงกันของแรงโน้มถ่วง (Gravitational tug) ของดาวเคราะห์และดวงดาว โดยที่ใช้ได้กับดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่และ อยู่ใกล้กับดวงดาวค่อนข้างมาก
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18043-science-and-technology-news– ( 18 Views)