ที่มา: Tina Hesman Saey, Science News, January 11, 2014
นักวิจัยพบว่า หนูทดลองที่มีลักษณะของโรคออทิซึม เกิดจากภาวะลำไส้รั่วและการรวมตัวที่ ผิดปกติของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งก่อให้เกิดเพิ่มขึ้นของสารเคมีที่มี ความคล้ายคลึงกับสารประกอบใน ปัสสาวะของเด็กที่อาการของโรคออทิซึม จากการศึกษาและสังเกตของ Alessio Fasano นักชีววิทยาด้านลำไส้ (gut biology) โรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ในกรุงบอสตัน การศึกษาขั้นต้นพบว่า การเปลี่ยน แปลงของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ และโรคออทิซึม มีความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาใหม่สามารถใช้ในการอธิบายถึงความเป็นไปได้ของสาเหตุการเกิดของโรค ออทิซึมในเด็กได้เพียงบางส่วน
Sarkis Mazmanian หัวหน้าสถาบันวิจัย Caltech กล่าวว่า คนจำนวนมากเชื่อว่า เด็กที่มีอาการของโรคออทิซึมจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร ซึ่งความเชื่อนี้ยังคงเป็นประเด็น ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทีมผู้วิจัยค้นพบว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์สามารถเกิดภาวะติดเชื้อขั้ั้นรุนแรง หรือมีอาการไข้ขึ้นสูงซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออทิซึมในเด็ก มากกว่าปกติ คณะผู้วิจัยได้ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กับหนูทดลองที่กำลังตั้งท้อง เพื่อจำลองภาวะติดเชื้อชั้นรุนแรง หนูที่เกิดใหม่มี อาการของโรคออทิซึม อาทิเช่น ปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงน้อยกว่าหนูปกติ รวมไปถึงภาวะวิตกกังวล มีอาการตกใจต่อเสียงอย่างรวดเร็ว และมีพฤติกรรมซ้ำๆ หนูที่เกิดใหม่ยังคงมีอาการของลำไส้รั่ว และยังคงเกิดการรวมตัวของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ เชื้อแบคทีเรียประเภทนี้คือ Lachnospiraceae จะผลิตสารเคมีในปริมาณมาก และปล่อยเข้าสู่ระบบระแสเลือดของหนูทดลอง สารเคมีถูกพบมากคือ 4-ethylphenylsurfate ในหนูทดลองที่มีอาการปกติเมื่อถูกฉีดด้วยสาร p-cresol หรือ 4-methylphenol ในปริมาณมากระดับเดียวกับปริมาณสารในปัสสาวะของเด็กที่มีความผิดปกติของ โรคออทิซึม หนูทดลองจะเกิดอาการของโรคออทิซึม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18043-science-and-technology-news– ( 14 Views)