magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ ไบโอเทค เผยโฉม วิจัย “เอนไซม์อาหารสัตว์” ลดนำเข้ากว่าพันล.บาท
formats

ไบโอเทค เผยโฉม วิจัย “เอนไซม์อาหารสัตว์” ลดนำเข้ากว่าพันล.บาท

ไบโอเทค เผยโฉมงานวิจัยเอนไซม์อาหารสัตว์ ฝีมือนักวิจัยไทย หนุนวงการปศุสัตว์ไทย ลดการนำเข้าเอนไซม์ราคาแพงจากต่างประเทศ มูลค่ากว่าพันล้านบาท
นายวรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวว่า งานวิจัยเอนไซม์อาหารสัตว์เป็นการวิจัยเกี่ยวกับเอนไซม์สำหรับเสริมเข้าไปใน อาหารสัตว์เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตได้ดี คือ เมื่อสัตว์ได้รับเอนไซม์เข้าไปจะช่วยย่อยสัตว์ได้ดีขึ้น เนื่องจากสัตว์จะขาดเอนไซม์ในบางกลุ่มที่จำเป็นในการย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ ใช่แป้ง อย่างเปลือกพืช กากเมล็ดธัญพืชที่เหลือจากการแปรรูป ที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น กาก รำ อาหารจำพวกนี้สัตว์จะไม่สามารถย่อยได้ ดังนั้นถ้าให้อาหารเหล่านี้โดยไม่เสริมเอนไซม์ สัตว์จะดูดซึมอาหารไม่ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพไม่แข็งแรงและผลผลิตที่ได้ก็จะต่ำ

ทั้งนี้ โจทย์งานวิจัยนี้เกิดจากภาคเอกชนที่เลี้ยงสุกรซึ่งจำเป็นต้องมีการนำเข้า ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ราคาแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย โดยพัฒนากระบวนการผลิตเอนไซม์ในสภาวะที่เหมาะสมและเลือกใช้จุลินทรีย์ที่ดี เพื่อนำมาผสมอาหารสัตว์ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นการเสริมสร้างให้เกิดการใช้เทคโนโลยีการหมักในระดับอุตสาหกรรมเพื่อ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และทดแทนการนำเข้าเอนไซม์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์จากต่างประเทศผู้อำนวยการ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร ไบโอเทค กล่าวต่อว่า งานวิจัยดังกล่าว จะนำมาผลิตเอนไซม์และเป็นจุลินทรีย์ที่มาจากธนาคารจุลินทรีย์ หรือ Microbe Bank ของไบโอเทค ซึ่งเป็นแหล่งที่มีจุลินทรีย์ให้บริการมากกว่า 20,000 ตัวอย่าง และมีเก็บรักษาจุลินทรีย์ตามมาตรฐานคุณภาพสากล (ISO 9001) คือ เก็บรักษาในสภาพเยือกแข็งในถังไนโตรเจนเหลว หรือในหลอดแห้งสุญญากาศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์จะกำหนดขั้นตอน วิธีการจัดเก็บ เพื่อให้ได้จุลินทรีย์ที่ถูกต้อง มีชีวิตรอด และปราศจากการปนเปื้อน

ขณะ ที่ธนาคารจุลินทรีย์ของไบโอเทคยังพร้อมให้บริการด้วยคุณภาพ ปริมาณ ความหลากหลายของจุลินทรีย์ และการบริหารจัดการที่ดีมีมาตรฐานเทียบเท่ากับธนาคารจุลินทรีย์ระดับโลก เช่น ในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น นอกจากนี้ไบโอเทคยังได้ศึกษา และนำจุลินทรีย์ที่หลากหลายสายพันธุ์นี้ ไปใช้ประโยชน์ทั้งทางการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร และสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถลดการพึ่งพาสารเคมี ลดการนำเข้ายาปฏิชีวนะ และผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ พัฒนา และปรับปรุงสินค้าเกษตรทำให้สามารถสร้างมูลค่าและแข่งขันในตลาดโลกได้นาย วรรณพ กล่าวอีกว่า จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ยังเกิดจากความตั้งใจของทีมนักวิจัยจากไบโอเทค สวทช.และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ร่วมกันคิดค้นและพัฒนา จุลินทรีย์ที่มีความเหมาะสมในการใช้ผลิตเอนไซม์ โดยมีการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพสูง วิจัยและพัฒนาจนได้เป็นผลิตภัณฑ์เอนไซม์อาหารสัตว์ โดยจุดเด่นเอนไซม์อาหารสัตว์ คือ เมื่อได้วิจัยและพัฒนาเอนไซม์เพนโตซาเนสขึ้นมาเป็นเอนไซม์ที่ใช้เสริมใน อาหารเลี้ยงสัตว์เพื่อช่วยย่อย ทำให้สัตว์ได้สารอาหาร อาทิ แร่ธาตุและโปรตีนจากการย่อยของเอนไซม์ เป็นต้น อีกทั้งเอนไซม์เพนโตซาเนสยังเป็นเอนไซม์หลักสำหรับเลี้ยงสัตว์บก ซึ่งในอดีตต้องนำเข้า 100% อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรไทยจะหันมาใช้เอนไซม์คุณภาพที่เหนือกว่าเอนไซม์นำเข้าและองค์ ประกอบของเอนไซม์ที่ดีกว่าย่อมทำให้ได้ผลผลิตที่ได้มีประสิทธิภาพสูงตามไป ด้วย นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้นำไปทดลองใช้จริงในสุกรพบว่า ทำให้สุกรมีน้ำหนักมากขึ้น อัตราแลกเนื้อต่ำลง คือ ใช้อาหารน้อยลงแต่ได้น้ำหนักมากขึ้น ย่อยและดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น

ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร ไบโอเทค กล่าวด้วยว่า งานวิขัยชิ้นนี้ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับ บริษัท เอเชีย สตาร์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด เพื่อนำผลงานดังกล่าวไปพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ การนำเข้าเอนไซม์ยังปัญหาหลักของประเทศ โดยประเทศไทยต้องนำเข้าเอนไซม์เป็นมูลค่านับพันล้านบาท อีกทั้งในปศุสัตว์ยังมีปัญหาเรื่องสัตว์ไม่ย่อยสารเอ็นเอสพี(Non-starch polysaccharides: NSP) ทำให้สัตว์กินอาหารแล้วไม่ย่อย สัตว์ขี้เหลว และดูดซึมอาหารไม่ได้ การพัฒนาผลงานวิจัยดังกล่าวจึงช่วยลดปัญหาสุขภาพเหล่านี้ของสัตว์ได้ด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากบริษัทได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีก็สามารถผลิตเอนไซม์อาหารสัตว์ และนำไปจำหน่ายทั่วประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมสุกร และยังมีการพัฒนาสูตรเอนไซม์ต่อเนื่องหลายสูตร ขยายการจำหน่ายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เวียดนาม กัมพูชา

 

ที่มา :  ไบโอเทค เผยโฉม วิจัย “เอนไซม์อาหารสัตว์” ลดนำเข้ากว่าพันล.บาท. (3 พฤศจิกายน 2555). ไทยรัฐ. ค้นข้อมูลวันที่ 4 พฤศจิกายน 2555. จาก http://www.thairath.co.th– ( 181 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ nine = 13

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>