น้ำมันพืชที่นำมาปรุงอาหารมีด้วยกันสองชนิดคือ น้ำมันจากสัตว์ และน้ำมันพืช โดยน้ำมันจากสัตว์ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวเป็นหลัก ส่วนน้ำมันพืช มีทั้งกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวเป็นองค์ประกอบ
ปัจจุบันมีการนำพืชมาผลิตเป็นน้ำมันปรุงอาหารมากกว่าน้ำมันจากสัตว์เนื่องจากหาง่ายกว่า การผลิตน้ำมันพืชแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
- การผลิตน้ำมันพืชโดยผ่านกรรมวิธี ใช้สารเคมีเป็นตัวทำละลายสกัดน้ำมันจากเมล็ดพืช
- การผลิตน้ำมันโดยวิธีธรรมชาติ ทำได้หลายวิธีเช่น การหมัก การเคี่ยว การบีบอัด
แต่น้ำมันในท้องตลาดนั้นมีหลายชนิด ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อควรดูด้วยว่า น้ำมันเหล่านั้นเหมาะที่จะนำไปปรุงอาหารประเภทใด การนำอาหารไปทอดหรือผัดนั้น ควรใช้น้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดควันมากซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
มาดูกันว่าน้ำมันแต่ละชนิดเหมาะกับการปรุงอาหารประเภทไหน
- น้ำมันถั่วเหลือง เหมาะสำหรับทำอาหารทุกชนิดทั้งผัดและทอด
- น้ำมันรำข้าว เหมาะกับการทำอาหารทุกชนิด โดยเฉพาะการทอด เป็นของสารต้านอนุมูลอิสระ
- น้ำมันมะกอก ทนความร้อนได้ไม่สูง เกิดควันง่าย นิยมนำไปทำน้ำสลัด หรือ ผัดสปาเก็ตตี้
- น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นน้ำมันที่ไม่เหมาะกับการทอด แต่เหมาะสำหรับน้ำสลัด อุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ
- น้ำมันข้าวโพด ทนความร้อนได้สูง เหมาะกับอาหารที่ใช้ความร้อนในการทอดสูงมาก
- น้ำมันงา ทนความร้อนไม่ได้เลย เหมาะกับทำสลัด หรือผสมในเครื่องสำอาง
- น้ำมันปาล์ม ทนความร้อนได้สูง นิยมนำไปผสมกับน้ำมันอื่นๆ เพื่อให้มีราคาถูกลง เป็นน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูงมาก ทำให้คอเลสเตอรอลสูงไปด้วย
ทีนี้เราก็สามารถเลือกน้ำมันให้เหมาะกับการปรุงอาหารได้แล้ว แถมยังให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาด้วย
แหล่งที่มา:
หนูชะเอม. “น้ำมันปรุงอาหาร…น้ำมันปรุงสุขภาพ”. Update. 26 (281) : 107 ; กุมภาพันธ์ 2554.– ( 382 Views)