เซอร์เจมส์ ไดสัน เกิดเมื่อวันที่ 2 May 1947 เป็นนักประดิษฐ์และนักออกแบบอุตสาหกรรม ชาวอังกฤษ ผู้ก่อตั้งบริษัทไดสัน ทั้งยังเป็นนักประดิษฐ์ผู้มีชื่อเสียงจากการคิดค้นเครื่องดูดฝุ่นพลังไซโคลนเครื่องแรกของโลก รวมถึงผลงานพัดลมไร้ใบพัด ทำให้เซอร์เจมส์ ไดสันเป็นนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ที่น่าจับตากับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เซอร์เจมส์ ไดสัน กล่าวไว้ว่า “There is no such thing as a quantum leap. There is only dogged persistence – and in the end you make it look like a quantum leap”. “ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า การก้าวกระโดดแบบควอนตัม มีเพียงการยืนหยัด พากเพียร และในที่สุด คุณจะสัมฤทธิ์ผลเหมือนการก้าวกระโดดแบบควอนตัม”. แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “วาทะนักวิทย์ : เซอร์เจมส์
วาทะนักวิทย์ : ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo)
ไมเคิลแองเจโล เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 เป็นสถาปนิก วิศวกร กวี ประติมากร และจิตรกร เป็นชาวอิตาลี หนึ่งในสถาปนิกผู้สร้างมหาวิหารนักบุญเปโตร หรือเซนต์ปีเตอร์สมาซิลิกา ณ กรุงโรม ทั้งยังมีผลงานประติมากรรมหินอ่อนเลื่องชื่ออย่างเดวิด และปิเอตะ รวมถึงเป็นผู้วาดภาพ The Last Judgement อันโด่งดังด้วย และเสียชีวิต เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ไมเคิลแองเจโล ได้กล่าวไว้ว่า “The danger for most of us is not that our aim is too high and we miss it. but that it is too low
สิ่งสร้างมหัศจรรย์ : แคปปิตอลเกต
ตึกระฟ้าที่เอนที่สุดในโลก หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ หอเอนแห่งอาบูดาบี ตั้งอยู่ในกรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันตก 18 องศา มากกว่าหอเอนเมืองปีชาในประเทศอิตาลี ที่เอนไปราวสี่องศา มีความสูง 160 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยจำนวน 35 ชั้น บนเนื้อที่ 53,100 ตารางเมตร ออกแบบให้ต้านทานต่อแรงลมและแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว อำนวยการสร้างและพัฒนาโดยบริษัทจัดแสดงนิทรรศการแห่งชาติบูดาบี เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์พร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยเปิดให้บริการเป็นโรงแรม หรือสำนักงาน แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “สิ่งสร้างมหัศจรรย์ : แคปปิตอลเกต”. Update. 29(321) : 97. (สิงหาคม 2557).– ( 190 Views)
สิ่งสร้างมหัศจรรย์ : บ้านทรงลูกบาศก์
บ้านทรงลูกบาศก์ หรือที่รู้จักกันดีว่า ดูบัสวอนนิงเกน ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ออกแบบสร้างเป็นบ้านลักษณะสี่เหลี่ยมเรียงติดกัน ตั้งเอียง 45 องศา อยู่บนฐานหกเหลี่ยมทรงสูง โดยฝีมือของสถาปนิกชาวดัตซ์ ปิเอ บอลม ก่อสร้างในสองเมือง ได้แก่ เมืองเฮลมอนด์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2517 เสร็จสิ้นลงในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2520 จำนวน 18 หลัง แต่เกิดเหตุเพลิงไหม้เผาทำลายไปเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และเมืองรอตเทอร์ดาม ที่ออกแบบขึ้นใน พ.ศ. 2520 จำนวน 38 หลัง ในลักษณะของอพาร์ตเมนต์ที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 100 ตารางเมตร ผนังและหน้าต่างเอียงทำมุม 547 องศา ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2552 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นหอพัก แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “สิ่งสร้างมหัศจรรย์ : บ้านทรงลูกบาศก์”. Update. 29(317) :
สิ่งสร้างมหัศจรรย์ : แคนตันทาวเวอร์
หอส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์และสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในเมืองกว่างโจว สาธารณะรัฐประชาชนจีน รูปลักษณ์โครงสร้างเป็นแบบถักที่เกิดจากความซับซ้อนของรูปทรงเราขาคณิต กลายเป็ฯหอคอยรูปร่างบิดที่มีความสูง 600 เมตร บนเนื้อที่ 114.054 ตารางเมตรออกแบบโดยสองสถาปนิกชาวดัตซ์ มาร์ก เฮเมล และบาร์บารา คูตร่วมกับบริษัทวิศวกรโครงสร้าง Arup เริ่มก่อสร้าขึ้นใน พ.ศ. 2548 พร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553 จากเนื้อที่ใช้สอย 37 ชั้น และชั้นใต้ดินอีกสองชั้น นอกจากจะใช้งานด้านโทรคมนาคมและการสังเกตการณ์แล้ว ยังเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ของเมืองและภัตตาคารด้วย โดยปัจจุบัน แคนตันทาวเวอร์นับเป็นอาคารโครงสร้างอิสระที่สูงเป็นอันดับห้าของโลก แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “สิ่งสร้างมหัศจจรย์ : แคนตันทาวเวอร์”. Update. 29(319) : 97. (มิถุนายน 2557).– ( 40 Views)
วาทะนักวิทย์ : ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday)
(พ.ศ. 2334-2410) นักฟิสิกส์ และนักเคมี ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งไฟฟ้า โดยสร้างผลงานอันเป็นที่ประจักษ์จากการคิดค้นและประดิษฐ์ ไดนาโม ต้นแบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นอกจากนี้ยังเป็นผู้ค้นพบสารประกอบเบนซิน รวมถึงสเตนเลส ตลอดจนบัญญัติศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ อาทิ แอโนด, คาโทด, อิเล็กโทรด และไอออน เป็นต้น ไมเคิล ฟาราเดย์ กล่าวไว้วว่า “Nothing is too wonderful to be true, if it be consistent with the laws of nature”. “ไม่มีสิ่งใดที่จะอัศจรรย์เกินจริง ถ้ามันสอดคล้องกับกฎของธรรมชาติ”. แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “วาทะนักวิทย์ : ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday)”. Update. 29(319) : 97. (มิถุนายน 2557).–
สิ่งสร้างมหัศจรรย์ : โอเอชิสออฟเดอะซีส
เรือสำราญขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ณ ปัจจุบันและมีเรือแฝดลำน้องที่สร้างขึ้นภายหลังชื่อว่า อัลลัวร์ออฟเดอะซีส์ โดยมีบริษัทรอยัลแคริบเบียนอินเทอร์เนชันแนลเป็นเจ้าของเรือทั้งสองลำ เรือโอเอชิสออฟเดอะซีส์ถือกำเนิดขึ้นด้วยทุนสร้างราว 4.7 หมื่นล้านบาท ออกเดินเรือครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เรือลำนี้มีน้ำหนัก 225,282 ตัน ยาว 361.6 เมตร สูง 72 เมตรเหนือระดับน้ำลอยลำฝ่าน้ำทะเลด้วยความเร็ว 22.6 นอต หรือ 41.9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้สูงสุดที่ 6,296 คน และลูกเรืออีกกว่า 2,000 คน ภายในตัวเรือแบ่งออกเป็น 16 ชั้น ประกอบด้วยลานชมการแสดงกีฬาทางบกและทางน้ำ ฟิตเนส สปา สวน บาร์เคลื่อนที่ระหว่างชั้นภัตตาคาร ร้านค้า โซนสำหรับเด็ก ฯลฯ แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “สิ่งสร้างมหัศจรรย์ : โอเอชิสออฟเดอะซีส”. Update. 29(320) : 97. (กรกฎาคม
วาทะนักวิทย์ : อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต (Amelia Earhart)
อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 และเสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2482 (พ.ศ. 2440 -2480 (หายสาบสูญ)) นักบิน และนักประพันธ์ ชาวอเมริกัน สตรีคนแรกที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแสนติก และได้รับการบันทึกสถิติด้านการบนิอีกหลายครั้ง รวมถึงเขียนหนังสือขายดีเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านการบินของอะมีเลีย แอร์ฮาร์ต นอกจากนี้ อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต ยังพยายามทำลายสถิติด้วยการบินรอบโลก แต่กลับเกิดเหตุไม่คาดฝัน อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต ได้หายสาบสูญไป และมีการระบุว่า เสียชีวิต ลงในภายหลัง เธอกล่าวไว้ว่า “Never interupt someone doing what you said couldn’t be done.” “อย่าไปขัดขวางคนที่กำลังทำสิ่งที่คุณบอกว่า ไม่มีทางทำได้” แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “วาทะนักวิทย์ : อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต
ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 6 สนุกกับค่ายวิทยาศาสตร์การบิน
ในค่ายวิทยาศาสตร์การบินจะมีกิจกรรมฐานการบินที่เป็นการเรียนรู้ทฤษฏีด้านการบินและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เน้นการทำงานและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มมีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยมีพี่เลี้ยงเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง มีการแบ่งกลุ่มน้องๆ เป็น 5 กลุ่ม และเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ต่างๆ หลังจากนั้นจะลงมือฝึกประกอบเครื่องบินด้วยตนเอง โดยมีพี่เลี้ยงเป็นผู้แนะนำอย่างใกล้ชิด ฐานการเรียนรู้มี 5 ฐานดังนี้ คือ 1. ฐานหลักอากาศพลศาสตร์เบื้องต้น 2 .ฐานฝึกบินด้วยคอมพิวเตอร์ 3. ฐานประกอบเครื่องบินเล็ก 4. ฐานการออกแบบเครื่องบินบังคับวิทยุ 5. ฐานฝึกบินจริง อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 20 Views)