เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 ดร. สาทินี ซื่อตรง นักวิจัยห้องปฏิบัติการราวิทยา หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ไบ โอเทค ได้รับรางวัลทะกุจิ ประเภทวิทยานิพนธ์ดีเด่น ระดับปริญญาเอก ประจำปี 2555 จากสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการในระดับโมเลกุลของราทะเลกลุ่มโดทิดิโอไมซีส (Dothideomycetes)
ปัจจุบันการศึกษาตำแหน่งทางอนุกรมวิธานและสายวิวัฒนาการของราทะเลกลุ่มโดทิดิโอไม ซีสประสบปัญหาอย่างมาก โดยมีราหลายชนิดที่ยังมีความสับสนในการจัดกลุ่มทำให้ไม่สามารถจัดอยู่ใน อันดับหรือวงศ์ที่เหมาะสมได้ เนื่องจากลักษณะสัณฐานวิทยาของรากลุ่มนี้มีความหลากหลายและซับซ้อนมาก ดังนั้นงานวิจัยดังกล่าวจึงมุ่งเน้นการเก็บรวบรวมตัวอย่างราทะเลกลุ่มกลุ่ม ไบทูนิเคทจากแหล่งที่อยู่ในทะเลคัดแยกให้ได้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ วิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ ของไรโบโซมอลดีเอ็นเอในบริเวณ small subunit (SSU) และ large subunit (LSU) ร่วมกับ translation elongation factor 1-alpha (TEF-1- alpha) และ the second largest subunit RNA polymerase II (RPB2) เพื่อระบุตำแหน่งทางอนุกรมวิธาน อันดับหรือวงศ์ที่เหมาะสม ผลจากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าราทะเลกลุ่มดังกล่าวประกอบไปด้วยราทะเลที่จัดอยู่ในอันดับ Jahnulales และ Pleosporales ราทะเลที่อยู่ในอันดับ Pleosporales จำนวน 3 วงศ์ ถูกนำเสนอและจัดตั้งขึ้นมาใหม่ ได้แก่ วงศ์ Aigialaceae, Morosphaeriaceae และ Trematosphaeriaceae รวมทั้งราชนิดใหม่ 3 สกุล คือ Halomassarina, Morosphaeria และ Rimora ราวงศ์ใหม่ Manglicolaceae อันดับ Jahnulales จัดตั้งขึ้นสำหรับราทะเล Manglicola guatemalensisผลศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการพบว่าราทะเลดังกล่าวเป็นราทะเลชนิดแรกในอันดับ Jahnulales ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันกับราน้ำจืดและราในป่าพรุและคาดว่าน่าจะเป็นราในสายวิวัฒนาการใหม่
รางวัล ทะกุจิ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีผลงานวิทยานิพนธ์ดีเด่น และภาคเอกชนที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการศึกษา วิจัย และการประยุกต์ใช้วิทยาการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และสาธารณสุข ในประเทศไทย
– ( 173 Views)