magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ
formats

อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ

นายนิรุตติ  คุณวัฒน์  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิด อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ Space Krenovative Park (SKP) ภายใต้แนวคิด “Inspiring Beyond” โดยมี ดร.อานนท์  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) กล่างรายงานสรุปเกี่ยวกับ SKP และภายในงานได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง GISTDA กับผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมการแสดงศักยภาพของ GISTDA ในด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย อาทิ การแสดงอากาศยานไร้คนขับ (UAV) และยานยนต์ภูมิสารสนเทศในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีผู้ร่วมงานทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากกว่า 300 คน ณ Visionarium สถานีควบคุมดาวเทียมไทยโชต อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555

GISTDA เปิดอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ เพื่อต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านภูมิสารสนเทศระดับภูมิภาคอาเซียน

นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า GISTDA ได้เปิดอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ณ สถานีควบคุมดาวเทียมไทยโชต อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พร้อมลงนามการเป็นพันธมิตรของผุ้ประกอบการด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ไทยและต่างชาติ 5 ประเทศ ซึ่งถือเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง ที่เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อเป็นฐานรับข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชตและดาวเทียมอื่น นำไปพัฒนาต่อยอดงานวิจัย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ การผลิตชิ้นส่วนอวกาศ แบตเตอรี่ การจัดทำแผนที่และภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมูลค่าของเทคโนโลยีด้านนี้ทั่วโลกมีมูลค่านับล้านล้านบาท นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์ข้อมูลวิชาการในการเรียนรู้ให้นักเรียน นักศึกษา พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านภูมิสารสนเทศระดับภูมิภาคอาเซียน ในการทำวิจัยพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศและเผยแพร่ความรู้ เพื่อสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ในด้านนี้ให้มากขึ้น
 
โครงการอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมด้านอวกาศ (SKP) เป็นโครงการที่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย และพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SME และระดับอุตสาหกรรมอันจะเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของการ พัฒนาธุรกิจบนฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียน  ดังนั้น อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมด้านอวกาศ จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระดับภูมิภาค และเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้รองรับการพัฒนาของประเทศที่มุ่งเน้นนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน โดยที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมด้านอวกาศจะมีพื้นที่ให้หน่วยงานภาคเอกชนเข้าทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมกับให้บริการอันเป็นการสนับสนุนการวิจัยให้บังเกิดผลเชิงพาณิชย์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
 
สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ แบ่งเป็น 7 ส่วน ได้แก่
  1. Satellite Operations หน่วยควบคุมและผลิตข้อมูลดาวเทียมไทยโชต รวมถึงดาวเทียมอื่นๆ ตามภารกิจของ สทอภ.
  2. Geo-Informatics Solution Delivery and Center ศูนย์กลางด้านภูมิสารสนเทศระดับอาเซียน เพื่อวิจัยและพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ และเผยแพร่ความรู้โดยมีหลักสูตรฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ
  3. Visionarium สถานที่จัดกิจกรรมและแสดงประวัติความเป็นมาด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และเป็นศูนย์รวมข้อมูลและวิชาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทาง สทอภ.จะให้องคืการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มีส่วนในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์
  4. Space Development เพื่อการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบและประกอบดาวเทียมสำรวจโลก รวมถึงเทคโนโลยีอวกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
           
  5. Space Business Prototyping เพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ ที่ต้องการสร้างธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศเป็นฐาน โดยทาง สทอภ.มีแผนที่จะให้อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก (Eastern Science Park) ที่มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นแม่ข่าย เข้ามาร่วมดำเนินการ เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายบัณฑิตและผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างธุรกิจทางด้านนี้
  6. Entrepreneurial Development เป็นพื้นที่เช่าสำหรับเอกชนที่ต้องการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่นำเทคโนโลยีด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศ ไปต่อยอดจนนเกิดการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทเอกชน มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและ สทอภ.
  7. Recreation Area เป็นพื้นที่สันทนาการสำหรับนักวิจัยและผู้ปฏิบัติงาน

รายการอ้างอิง :

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สทอภ. เปิดอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ Space Krenovative Park. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.tm.mahidol.ac.th/th/asean/ASEAN7.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 3 ธันวาคม 2555).

คณิต จินดาวรรณ. GISTDA เปิดอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ เพื่อต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านภูมิสารสนเทศระดับภูมิภาคอาเซียน.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://thainews.prd.go.th/centerweb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=WNICT5511290020001. (วันที่ค้นข้อมูล 3 ธันวาคม 2555).

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. เพื่อต่อยอดงานวิจัยด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1354163202&grpid=&catid=no&subcatid=0000. (วันที่ค้นข้อมูล 3 ธันวาคม 2555).

ASTVผู้จัดการออนไลน์. ไทยมีแล้ว “สเปซปาร์ก” อุทยานอวกาศที่ศรีราชา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000145821. (วันที่ค้นข้อมูล 3 ธันวาคม 2555).

 – ( 537 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven − = 2

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>