เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการจริยธรรมการเผยแพร่งานวิชาการและงานวิจัย และฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการบรรยายวิชาการเรื่อง ” What should you know before research publication submission ? ” วัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความตระหนักเกี่ยวกับจริยธรรมกับงานวิจัย โดยวิทยากร 2 ท่าน คือ ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ (นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2540 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2540 ) และ นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต (ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ) ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อหาคือประเด็นในเรื่องการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการวิชาการทั่วโลก ชุมชนวิชาการไทย ควรรับรู้ ติดตามให้เท่าทัน (เกมส์) ของผู้ไม่หวังดีต่อวงการวิชาการ เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ขอสรุปเนื้อหาการบรรยาย
จะเป็นอย่างไรเมื่อมีการละเลยเรื่องโรคเขตร้อน
เป็นรายงานของบริษัท Thomson Reuters โดยแผนก Global Research Report, GRR ในชื่อเรื่อง (What does it mean to be “NEGLECTED” ?) พร้อมแสดงภาพประกอบที่เข้าใจได้ง่าย เป็นบทความที่วิเคราะห์ด้วยการนับจากจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์ (Research Article) ซึ่งเป็นหลักการของการศึกษา Bibliometrics สรุปเนื้อหาได้ดังนี้ จากชื่อเรื่องที่สื่อถึงความนัย ว่ามีการละเลย ทอดทิ้ง ในเรื่องการวิจัยเพื่อรักษาโรคเขตร้อน ซึ่งมักเป็นหัวข้อที่คลุมเครือบ่อยๆเสมอมา รายงานนี้เป็นผลจากการทบทวน ตรวจสอบ ด้วยหลักการของการศึกษา Bibliometrics study แสดงผลออกมาเป็น ภูมิทัศน์งานวิจัยจากสิ่งที่ซับซ้อน สามารถเปิดเผยออกมาได้อย่างน่าทึ่ง โดยพบหลักฐานว่ามีความสนใจมากขึ้นในการวิจัยเพื่อหาวิธีรักษา และควบคุมโรคเขตร้อนในสาขาต่างๆ จากประเทศต่างๆ ยังพบว่ามีการเกิดขึ้นของศูนย์กลางการวิจัยในภูมิภาคใหม่ สามารถให้รายละเอียดสำคัญนี้แก่ผู้บริหารที่กำหนด ตัดสินนโยบาย ของวงการสาธารณสุขทั่วโลกได้ – ( 151 Views)
เทคโนโลยี 3-D ในทุกๆ สิ่งกำลังจะมาเร็วๆ นี้ (Coming Soon in 3-D …… Everything !)
รายงาน IP Market Report ของบริษัท Thomson Reuters ที่เผยแพร่เมื่อราวต้นปี 2010 ที่มีคำโปรยหลักว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรสามารถแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมในอุตสาหกรรมความบันเทิงแบบ 3D มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น (Patent data shows rise in 3-D entertainment innovations) แม้ว่าเป็นรายงานนี้เป็นฉบับเก่าแต่ก็น่าสนใจด้วยเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตมากยิ่งขึ้นในขณะนี้ ในปี 2009 เป็นปีที่ฮอลลีวูดบันทึกว่าเป็นปีแห่งการผลิตภาพยนต์ 3D ด้วยมีการออกฉายของภาพยนต์แบบ 3D หลายเรื่อง เช่น Avatar, Bolt, Beowulf, Harry Potter ฯลฯ โดยมีการประมาณการว่าจะมีการดำเนินการสร้างหนังแบบ 3-D ราว 7,000 เรื่องทั่วโลก ภายในสิ้นปี 2009 อะไรคือเหตุผลที่มีผลกระทบให้เกิดความสนใจขึ้นมาใหม่ในธุรกิจด้านความบันเทิงแบบ 3D ขึ้นมาอีก เพื่อหาคำตอบในเรื่องนี้ แผนก IP Solution Business ของ บริษัท Thomson Reuters
Thomson Reuters : บริการ InCites
บริษัท Thomson Reuters ผู้นำการให้บริการสารสนเทศวิชาการแบบสร้างสรรค์ มีชื่อเสียงเป็นผู้ผลิตฐานข้อมูลการอ้างอิงแห่งแรกของโลก (Citation Index Database) และฐานข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการการอ้างอิงเป็นหลัก เช่น ฐานข้อมูล Journal Citation Report, JCR แหล่งข้อมูลที่ให้ค่าผลกระทบ (Impact Factor, IF) ของวารสารวิชาการคุณภาพชั้นนำในสาขาต่างๆ ของโลก รวมถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตร Derwent World Patent Index, DWPI และ Thomson Innovation ผลิตโปรแกรม EndNote ที่ช่วยจัดการรายการบรรณานุกรมของบทความวิจัยในรูปแบบต่างๆ และยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศวิเคราะห์ทางวิชาการ บริษัท Thomson Reuters ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ InCites เป็นครั้งแรกในเมืองไทยให้แก่ชุมชนห้องสมุด InCites คือ บริการประเมินคุณภาพการวิจัย (Research Performance Evaluation) ที่เป็นลักษณะเป็นแพลทฟอร์ม เว็บเบส หรือเป็นเครื่องมือ ที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยจากรายการบทความวิจัยตีพิมพ์ จากทั่วโลก เป็นระบบที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้ (Customized, citation-based
CAS : ผู้นำในการบริการสารสนเทศเคมี
หน่วยงาน CAS ผู้ผลิตฐานข้อมูล SciFinder Chemical Abstract Service (CAS) เป็นหน่วยงานภายใต้สมาคมวิชาชีพเคมีของสหรัฐอเมริกา (American Chemical Society, ACS) ทำหน้าที่รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่สารสนเทศเคมีจากทั่วโลก ตีพิมพ์สิ่งพิมพ์ชื่อ Chemical Abstracts, CA ที่มีชื่อเสียงมายาวนาน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1907 สำนักงานใหญ่ ตั้งที่เมือง Columbus, Ohio สหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำสารสนเทศวิชาการด้านเคมีของโลก เป็นที่ยอมรับเชื่อถือจากสถาบัน องค์กรบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสาขาเคมีทั่วโลก แหล่งข้อมูลวิชาการด้านเคมีที่สำคัญของ CAS ได้แก่ CAS REGISTRY บริการรหัสเลขทะเบียนสารเคมี 63 ล้านสารเคมี (Substances, Sequences) CAS REACT บริการปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical reactions) 53 ล้านชุด CA Plus บริการบรรณานุกรมของบทความวิจัยและสิทธิบัตร 36 ล้าน รายการ Markush
CAS แนะนำแหล่งข้อมูลวิชาการด้านเคมี
ด้วยการบรรยาย เรื่อง How to improve your research output in Asia โดย Mr.Walter Chow, CAS, Hong Kong เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 จัดโดยบริษัทบุ๊คโปรโมชั่น ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอข้อมูลแนวโน้มการใช้งบประมาณสำหรับงานวิจัยพัฒนา (R&D) ของโลก ตั้งแต่ช่วงปี 1996-2009 พบว่าสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดมา โดยลำดับที่ 1 คือ สหรัฐอเมริกา ลำดับที่ 2 คือ กลุ่มประเทศในแถบเอเชียและลำดับที่ 3 คือ ยุโรป คิดเป็นหน่วย พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยยอดรวมในการลงทุนการวิจัยและพัฒนาของโลก คิดเป็นหลักล้านล้านเหรียญสหรัฐ (trillion) ผลลัพธ์จากงานวิจัย ในรูปบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร แสดงได้ถึงการค้นพบสิ่งใหม่ ส่วนผลลัพธ์ที่เป็นสิทธิบัตร แสดงถึงนวัตกรรมและการประดิษฐ์ โดยที่สิทธิบัตรชุดที่มีคุณค่าสูง สามารถแปลงเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ได้ ประเทศหลักที่ผลิตสิทธิบัตรมากคือสหรัฐ ยุโรป
ฐานข้อมูลวิชาการด้านเคมี SciFinder
ฐานข้อมูล SciFinder (SF) คือแหล่งข้อมูลวิชาการที่สำคัญด้านวิทยาศาสตร์สำหรับนักวิทยาศาสตร์สาขาเคมี มีเนื้อหาที่ครอบคลุมมากที่สุดโดยรวบรวมจากวารสาร 1 หมื่นชื่อทั่วโลก (ต้นฉบับจากหลากหลายภาษา) บริการข้อมูลรายชื่อสารเคมี (โปรตีนนิวคลีโอไทด์) ข้อมูลปฏิกิริยาทางเคมี กฎระเบียบเรื่องสารเคมีต่างๆ ผลิตโดย Chemical Abstract Services, CAS ผู้นำด้านสารสนเทศทางเคมีที่ผลิต Chemical Abstracts ที่มีชื่อเสียงยาวนานมากกว่า 100 ปี SF มีความสามารถในการสืบค้น ที่มีคุณลักษณะพิเศษ ตัวอย่างเช่น – Multiple access point – Chemical Structure & Reaction Searching – Intelligent algorithms – Advance Analysis (Frequency, Categorization, Co-occurrence) – Alerting SF ประกอบด้วยเนื้อหาที่ครอบคลุมด้านเคมีครบถ้วน คือประกอบด้วย CAS Registry, CASREACT, CA