magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "เก็บมาเล่า เอามาฝาก" (Page 2)
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 6 สนุกกับค่ายวิทยาศาสตร์การบิน

ในค่ายวิทยาศาสตร์การบินจะมีกิจกรรมฐานการบินที่เป็นการเรียนรู้ทฤษฏีด้านการบินและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เน้นการทำงานและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มมีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยมีพี่เลี้ยงเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง มีการแบ่งกลุ่มน้องๆ เป็น 5 กลุ่ม และเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ต่างๆ หลังจากนั้นจะลงมือฝึกประกอบเครื่องบินด้วยตนเอง โดยมีพี่เลี้ยงเป็นผู้แนะนำอย่างใกล้ชิด ฐานการเรียนรู้มี 5 ฐานดังนี้ คือ 1. ฐานหลักอากาศพลศาสตร์เบื้องต้น 2 .ฐานฝึกบินด้วยคอมพิวเตอร์ 3. ฐานประกอบเครื่องบินเล็ก 4. ฐานการออกแบบเครื่องบินบังคับวิทยุ 5. ฐานฝึกบินจริง อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 5 การสร้างเครื่องบินเล็ก (บังคับวิทยุ)

ก่อนลงมือสร้างเครื่องบินเล็กจำเป็นต้องเตรียมวัสดุให้พร้อม วัสดุส่วนมากสามารถหาซื้อได้จากร้านเครื่องเขียนทั่วไป มีบางรายการที่จำเป็นต้องซื้อจากตลาดหรือแหล่งอื่นๆ เช่น ร้านขายเครื่องมือช่างเป็นต้น การสร้างเครื่องบินเล็กเป็นเรื่องสนุกไม่น้อยสำหรับมือใหม่ เพราะนอกจากจะได้ลงมือสร้างเครื่องบินด้วยตนเองแล้ว การเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นและเพลิดเพลินเช่นกัน และหลังจากเตรียมอุปกรณ์แล้ว ยังได้สนุกกับการลุ้นว่าเครื่องบินจะพร้อมบินหรือไม่ อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 4 การออกแบบเครื่องบินเล็กเบื้องต้น

สำหรับการออกแบบเครื่องบินเล็กเบื้องต้นมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้ 1. แรงขับ 2. น้ำหนักรวมพร้อมบิน 3. คำนวณขนาดของปีก 4. คำนวณหาความยาวลำตัวที่เหมาะสม 5. หาขนาดของแพนระดับ 6. หาขนาดของแพนดิ่ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เครื่องบิน ลอยตัวอยู่กลางอากาศได้ตามการออกแบบ อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 3 หลักพื้นฐานการบิน

จากความฝันสู่ความจริง จากจินตนาการสู่การค้นคว้าและพัฒนา การบินไปไหนมาไหนได้เหมือน นก เป็นความฝันของมนุษย์มานานแสนนานตั้งแต่สมัยโบราณ เหล่านักประดิษฐ์ที่มีความฝันเดียวกันได้ค้นคว้าและพัฒนาเรื่อยมา จนมนุษย์สามารถบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สำเร็จ และเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านการบินในปัจจุบัน อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 19 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 2 ภาษาการบิน

มารู้จักภาษาการบินกันก่อน เพื่อจะช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการบินและเครื่องบินดียิ่งขึ้น เช่น อากาศพลศาสตร์ ปีกเล็กแก้เอียง กระแสอากาศ รูปร่างปีก มุมปะทะ หลักการของเบอร์นูลลี่ ห้องนักบิน คันบังคับที่ตั้งตรง แพนปีกปรับระดับ แพนปีกเพิ่มแรงยก  การเคลื่อนที่สัมพัทธ์ แพนหางเสือ ปีกรักษาเสถียรภาพ เป็นต้น อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน เที่ยวบินที่ 1 ประวัติการบินของไทย

การบินของไทยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ ปีพ.ศ.2454 โดยพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ เป็นนักบินคนแรกของไทยที่ได้ทดลองบินเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรต์จากนั้นได้คัดเลือกนายทหารไทย 3 นาย ได้แก่ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ(สุณี สุวรรณประทีป) นาวาอากาศเอกพระยาเวหาสยานศิลปะสิทธิ์(หลง สิน-สุข) และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต(ทิพย์ เกตุทัต) ไปศึกษา ณ ประเทศฝรั่งเศส และกลับมาเข้าประจำการเป็นหน่วยบินแรกของกองทัพอากาศ อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่  http://www.nstda.or.th/e-book/604-flight-sci-camp แหล่งที่มา : ฤทัย จงสฤษดิ์ และอติพร สุวรรณ. (บรรณาธิการ). (2548). ตะลุยค่ายวิทยาศาสตร์การบิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.– ( 24 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระเป๋าอัจฉริยะมาแล้ว

Phorce Pro คือกระเป๋าอัจฉริยะตัวแรกที่ออกมาทำการตลาด โดยมันมาพร้อมกับแบตเตอรี่เสริมในตัวสำหรับเอาไว้ชาร์จอุปกรณ์ต่างๆ ได้ถึง 3 อุปกรณ์พร้อมกัน ไม่ว่าจะมือถือ, แท็บเล็ต หรือแม้แต่แล็บท็อป ด้านในเขามีสายพร้อมหัวต่อต่างๆ ถึง 11 แบบรวมถึงมีอแดปเตอร์สำหรับเสียใช้งานเวลาที่คุณเดินทางไปต่างประเทศ อย่าง อเมริกา, ยุโรป, อังกฤษและเอเชียที่ใช้หัวปลั๊กต่อไฟบ้านที่ไม่เหมือนกันเลย – ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Food Cycler เครื่องที่เปลี่ยนเศษอาหารให้เป็นดิน

เศษอาหารที่เหลือจากในครัว  ปกติดก็จะทิ้งให้เปล่าประโยชน์ ตอนนี้สามารถนำมันมาใช้ผลิตดินได้ด้วยอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Food Cycler ที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนเศษอาหารให้กลายเป็นดินที่อุดมด้วยสารอาหารซึ่งใกล้เคียงกับปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งกระบวนการในการเปลี่ยนตามธรรมชาตินั้นต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนในสภาพแวดล้อมนอกบ้าน แต่ด้วยเครื่องมือชิ้นนี้จะช่วยย่นเวลา เปลี่ยนเปลือกมะนาวหรือเศษอาหารอื่นๆ ให้กลายเป็นดินในเวลาแค่ 3 ชั่วโมงเท่านั้นเอง  หลังจากนั้นก็สามารถนำดินนี้ไปปลูกพืชต่างๆ ได้ตามใจชอบไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ ต้นไม้หรือพืชผักสวนครัว  ซึ่ง ข้อดีของเครื่องนี้ก็คือ กระบวนการทำนั้นจะไม่ส่งกลิ่นเหม็นออกมาเลยเพราะทำในภาชนะปิดทั้งหมด รายการอ้างอิง : เปลี่ยนเศษอาหารให้เป็นดิน . ครอบครัวข่าวสามออนไลน์ (ข่าวเทคโนโลยี) . สืบค้นข้อมูลเมื่อ 28 กันยายน 2557. จาก http://www.krobkruakao.com/ข่าวเทคโนโลยี/101175/เปลี่ยนเศษอาหารให้เป็นดิน.html– ( 76 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การบินไทยออกกฎเรื่องการนำ Powerbank ขึ้นเครื่องบิน

สายการบินไทย โพสต์ภาพ Infographic เกี่ยวกับการนำ Powerbank ว่านำขึ้นเครื่องบินได้หรือไม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยมีเคสในต่างประเทศว่า Powerbank จัดเป็นวัตถุอันตรายถึงขั้นไม่สามารถนำ Powerbank ขึ้นเครื่องได้ ในบางสายการบิน  โดยทั้งนี้การบินไทยได้ออกกฎเกี่ยวกับนำ Powerbank ขึ้นเครื่องบินอย่างละเอียดว่า สามารถนำ Powerbank ขึ้นเครื่องได้ โดยกรณีที่มีความจุไม่เกิน 32,000 mAh เท่านั้น และต้องใส่กระเป๋าเล็กหรือพกติดตัวขึ้นเครื่อง ทั้งนี้การพก Powerbank ขึ้นเครื่องบินนั้น สามารถพกได้แบบมีความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 20,000 mAh  ไปจนถึงความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 32,000 mAh  ไม่เกิน 2 ก้อน ขึ้นเครื่องได้ – ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Shellshock บั๊กใหม่กระทบคอม 500 ล้านเครื่อง

มีการค้นพบบั๊กรุนแรงตัวใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์  และอุปกรณ์อื่นๆ นับร้อยล้านเครื่องทั่วโลก  ช่องโหว่นี้ถูกค้นพบในส่วนประกอบของซอฟท์แวร์ที่มีชื่อว่า Bash ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ Linux รวมถึง OS X ของแอปเปิล บั๊กตัวนี้มีชื่อว่า Shellshock มันสามารถถูกควบคุมจากระยะไกลเพื่อยึดครองระบบปฏิบัติการที่ใช้ Bash เป็นองค์ประกอบ (Bash ย่อมาจาก Bourne-Again SHell ซึ่งเป็น command prompt บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งเป็นพื้นฐานของ Linux และ Mac OS) ศาสตราจารย์ Alan Woodward นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก University of Surrey เชื่อว่าบั๊กตัวนี้ร้ายแรงกว่าบั๊ก Heartbleed ที่ค้นพบเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา Heartbleed นั้นจะใช้ช่องโหว่ในการดักจับข้อมูลเพื่อใช่เป็นกุญแจในการเข้าระบบอย่างชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน เมื่อได้สองอย่างนี้แล้วถึงจะเข้าควบคุมระบบได้ เมื่อเทียบกันแล้วช่องโหว่ที่เกิดจาก Bash นั้น เปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนกับการเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ ใครจะเข้ามาก็ได้ มีการคาดการณ์ว่าคอมพิวเตอร์ที่ได้รับผลกระทบจาก Heartbleed มีประมาณ 500,000 เครื่องทั่วโลก

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments