Hybrid Operating Room ของสถาบันโรคทรวงอก ได้รับงบประมาณจากกรมการแพทย์กว่า 48 ล้านบาท ขณะนี้พร้อมใช้งานได้แล้ว นับได้ว่าเป็นห้องผ่าตัด Hybrid Operating Room ของสถาบันโรคทรวงอกที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย คำว่า Hybrid เป็นการผสมผสานกันของ สิ่งใดก็ตาม 2 สิ่งซึ่งเป็นคนละชนิดกัน อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต หรือ เป็นกรรมวิธี เพื่อให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ในทางเดียวกัน เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าร่วมกับพลังงานน้ำมันในการทำให้รถขับเคลื่อนได้ เป็นต้น – ( 1005 Views)

โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย
สวทช. ร่วมกับ สสวท. และองค์กรความร่วมมือแลกเปลี่ยนทางวิชาการสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เปิดตัว “โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และองค์กรความร่วมมือแลกเปลี่ยนทางวิชาการแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (DAAD) แถลงข่าวเปิดตัว “โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อจุดประกายความคิดให้เด็กและเยาวชนเกิดแรงบันดาลใจ และมีทัศนคติที่ดีในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่สนุก และมีความสุข ด้วยบรรยากาศทดลองเสมือนอยู่ในห้องปฎิบัติการของมหาวิทยาลัย — ( 173 Views)

แครกเกอร์ น้ำตาลต่ำ
ขนมขบคิดส์ นวัตกรรมตอบโจทย์คนรักสุขภาพ นายวรกร เลาหเสรีกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ขนมขบคิดส์ จำกัด เปิดเผยว่า ขนมขบคิดส์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกแก่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ยิ่งเมื่อได้รับการสับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่เปรียบเสมือนลมใต้ปีกที่ช่วยให้ฝันของผู้ประกอบการกลายเป็นของจริงที่จับต้องได้ เนื่องจากมีขั้นตอนการทำงานหลายอย่าง ที่ผู้ประกอบการไม่สามารถทำได้ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจึงแนะนำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มองว่า การเป็นธุรกิจขนาดเล็กไม่ได้เป็นอุปสรรค หากแต่จะเป็นจุดแข็งเพราะมีความคล่องแคล่วว่องไวกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ที่สำคัญคือต้องเลือกภาคีที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุนอย่างเหมาะสม เหมือนดังเช่นบริษัทได้เลือกทีมวิชาการจาก สกว. เข้ามาช่วยเหลือทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเติบโตในเส้นทางสายธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบันขนมขบคิดส์เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพประเภทขนมปังกรอบและขนมขบเคี้ยว เช่น แครกเกอร์และคุกกี้โดยมีผลงานวิชาการรองรับ อีกทั้งพัฒนาเครื่องจักรกระบวนการผลิตและสูตรของตนเองโดยมีพื้นฐานจากการทำวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์การอาหาร ล่าสุดบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ แครกเกอร์ดัชนีน้ำตาลต่ำ หรือ Low GI Diet ซึ่งผลิตจากแป้งสาลีและธัญพืชที่มีประโยชน์หลายชนิด ปลอดไขมัน นม เนย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และเคยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ “อาหารเพื่อสุขภาพ” โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รายการอ้างอิง : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. แครกเกอร์ น้ำตาลต่ำ. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). วันที่ 28

กระเป๋า “เอาอยู่” สู้ภัยพิบัติน้ำ
“ชุดยังชีพสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม” วิทยานิพนธ์ตอบโจทย์ เกี่ยวกับปัญหาถุงยังชีพเสียหายระหว่างการขนส่งในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย นางสาวรัชนิกานต์ เผ่าวิจารณ์ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ออกแบบ “ชุดยังชีพสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม” ภายใต้แนวคิดของการทำศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาเป็นการสื่อสารต่อสาธารณะ – ( 162 Views)

เอไอทีวิจัย’น้ำเสียจากส้วม’
ทีมนักวิทยาศาสตร์ AIT เตรียมการที่จะนำเสนอระบบการจัดการน้ำเสียจากส้วมรูปแบบใหม่ ในประเทศที่กำลังพัฒนาสามประเทศในเอเชีย ในความพยายามที่จะหาวิธี การอย่างยั่งยืนสำหรับการแก้ปัญหาด้านสุขาภิบาลที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งคนยากไร้ในประเทศไทย กัมพูชาและเวียดนามกำลังเผชิญอยู่ นักวิจัยได้เริ่มโครงการวิจัยระยะ เวลา 5 ปี ด้วยทุนสนับสนุนจำนวน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (150 ล้านบาท) จากมูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation (BMGF) ในสหรัฐอเมริกา – ( 275 Views)

“หุ่นยนต์จัดยา” ตัวแรกในภูมิภาคเอเชีย
โรงพยาบาลโรงพยาบาลเวชธานี ได้นำหุ่นยนต์จัดยาอัจฉริยะ (Smart Dispensing Robot) รุ่นอีวี 220 (EV220) ซึ่งพัฒนาโดยยูยาม่า (yuyama) ประเทศญี่ปุ่น มาใช้ในโรงพยาบาลเพื่อให้บริการจัดยาแก่ผู้ป่วยนอก โดยมีขั้นนตอนการทำงานผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทุกขั้นตอน ขั้นตอนการใช้หุ่นยนตร์อัจฉริยะสำหรับจัดยา มีดังนี้ แพทย์ตรวจรักษาผู้ป่วย และทำการพิมพ์สั่งยาให้กับผู้ป่วยผ่านคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบออนไลน์ คำสั่งจะถูกส่งตรงไปยังสมองกลของหุ่นยนต์จัดยาอัจฉริยะ แขนกลของหุ่นยนต์จะควบคุมเลือกชนิดยา ปริมาณและขนาดตามคำสั่งแล้วบรรจุยาลงกระบอกยา พร้อมพิมพ์ฉลากและบาร์โค้ด เภสัชกรนำยาที่หุ่นยนต์จัดยาบรรจุกระบอก และติดบาร์โค้ดแล้วมาตรวจสอบความถูกต้องด้วยบาร์โค้ด ก่อนนำยาไปจ่ายให้กับผู้ป่วยต่อไป – ( 473 Views)

โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบผลิตอาหารสุกร
รายการฉลาดล้ำกับงานวิจัยไทย ตอน “โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบผลิตอาหารสุกร” การนำระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่เข้ามาช่วยควบคุมกระบวนการผลิตอาหารสุกร ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น กระบวนการผลิตก็เป็นไปตามมาตรฐาน เพราะสามารถเตรียมวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิต ควบคุมการผสมวัตถุดิบตามสูตรอาหารต่างๆ ที่ได้บันทึกไว้ในฐานข้อมูล จึงช่วยลดความผิดพลาดในการผลิตที่เกิดจากพนักงานได้ และได้อาหารสุกรที่มีคุณภาพ ติดตามชมรายการ “ฉลาดล้ำกับงานวิจัยไทย” ได้ทางทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี เวลา 20.35-21.25 น. (ในรายการฉลาดสุดสุด) ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2555– ( 195 Views)