แนวโน้มทั่วโลกในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้หลายประเทศหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างหนึ่งคือการหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ ประเทศไทยไม่แค่เพียงต้องการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพแต่ต้องการเป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในอาเซียนและในโลก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบคือ มันสำปะหลัง อ้อย อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยขาดเทคโนโลยีและตลาด ในอาเซียนประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ของผู้นำทางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเหมือนกับสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่การลงทุนจากต่างประเทศไทยยังมีน้อยกว่าสิงคโปร์ ส่วนเมื่อมองระดับโลกยุโรปและอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ในขณะที่ในเอเชียเกาหลี ญี่ปุ่น มีนโยบาย เทคโนโลยี แต่ไม่มีวัตถุดิบ – ( 133 Views)
ความพร้อมของทรัพยากรจุลินทรีย์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา นอกจากก่อโรคมีประโยชน์มากมายต่อการแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เช่น ผลิตสารหรือเอนไซม์ที่เป็นยา ราก่อโรคในแมลงใช้เป็นวิธีทางชีวภาพ (biocontrol) ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีความหลากหลายของชนิดของจุลินทรีย์สูงโดยมีประมาณมากกว่าหนึ่งแสนชนิด มีความพร้อมสูงในการมีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ – ( 165 Views)
คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on Disaster Management – ACDM)
คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (เอซีดีเอ็ม) หรือ ASEAN Committee on Disaster Management (ACDM) จัดตั้งเมื่อต้นปี ค.ศ. 2003 เพื่อ ASEAN Committee on Disaster Management – ACDM หรือ คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ เพื่อให้มีการดำเนินการในเชิงรุกในการจัดการภัยพิบัติ โดยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติทุกด้านอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การป้องกัน การเตรียมความพร้อม การตอบโต้ การบรรเทาและการฟื้นฟู ติดตามกิจกรรมของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ได้ที่ http://202.46.9.39:8889/About/ASEANCommitteeonDisasterManagement.aspx– ( 53 Views)
ASEAN Food Security Information System (AFSIS)
Asean Food Security Information System (AFSIS) หรือ ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารอาเซียน เป็นระบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศในกลุ่มสมาชิก สามารถพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ถูกต้องครบถ้วนทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคและ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและจัดทำนโยบาย รวมทั้งติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงทางด้านอาหารในภูมิภาค อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันการเกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร หรือการผลิตเกินความต้องการ อีกทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างระบบเตือนภัย เช่นการเกิดโรคระบาด ภาวะตกต่ำของราคาสินค้า เป็นต้น ประเทศไทยโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งได้รับมอบหมายจากอาเซียนให้เป็นผู้จัดการโครงการนี้ได้จัดทำข้อมูลและ เป็นศูนย์กลางข้อมูลการเกษตรของกลุ่มประเทศอาเซียนโดยแต่ละประเทศจะจัดส่ง ข้อมูลมายังฐานข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งจะทำการรวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ผ่าน Website “afsis.oae.go.th” รายการอ้างอิง: Thailand. Ministry of Agricuture and Cooperatives. Office of Agricultural Economics. Asean Food Security Information System (AFSIS). [Online]: Available: http://afsis.oae.go.th/proj_bri.php Accessed: 19 March 2013.
วันไข้เลือดออกอาเซียน หรือ ASEAN Dengue Day
ปีพ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) เป็นปีที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของกลุ่มประเทศอาเซียน มีมติให้ทุกวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันไข้เลือดออกอาเซียน” หรือ ASEAN Dengue Day วันที่ 15 มิถุนายน 2554 (2011) จึงเป็นปีแรกของวันไช้เลือดออกอาเซียน เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยภูมิประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น เหมาะสำหรับการแพร่พันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก จากสถิติผู้ป่วยในกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่าประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด รองลงมาคือ ประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้รณรงค์จัดการกับสิ่งแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตัดวงจรการเกิดยุงและการแพร่กระจายของโรค โดยใช้ประเด็นการสื่อสาร Big Cleanning Day “เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย” คือ 1. เก็บขยะ เศษภาชนะขังน้ำแหล่งเพาะพันธุ์ยุง วัสดุเหลือใช้นำไปขายเป็นรายได้เสริม เก็บแล้วรวย 2. เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งยุงลายไม่เกาะพัก ขัดล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ 3. เก็บน้ำ น้ำกินน้ำใช้เก็บให้มิดชิด โดยการปิดฝาโอ่ง ถัง ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่
คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ
คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ หรือ ASEAN Committee on Disaster Management (ACDM) เกิดขึ้นเนื่องจากในปี ค.ศ. 1971 กลุ่มประเทศอาเซียนได้จัดตั้ง ASEAN Combined Operation Against Natural Disaster หรือการปฏิบัติการร่วมของอาเซียนเพื่อต่อสู้กับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งข้อตกลงฉบับนี้เป็นผลทำให้ คณะผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติของประเทศอาเซียน ได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1971 ต่อมาในการประชุมครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ.1979 คณะผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ได้เป็นที่รู้จักกันในนามของ ASEAN Experts Group on Natural Disasters และจนกระทั่งในการประชุมครั้งที่ 8 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1993 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ASEAN Experts Group on Disaster Management (AEGDM) ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจด้านภัยพิบัติทั้งภัยจากธรรมชาติและภัยจากมนุษย์ด้วย – ( 768 Views)
ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน (ASEAN Environmental Education Inventory Database)
ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน (เออีอีไอดี) หรือ ASEAN Environmental Education Inventory Database (AEEID) เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่กลุ่มประเทศอาเซียนได้จัดทำแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมแห่งอาเซียน (ASEAN Environmental Education Plan) เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศึกษาในกลุ่มประเทศสมาชิกและกระตุ้นให้ประชาชนในภูมิภาคนี้ ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม การจัดทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน จึงเป็นกิจกรรมหนึ่ง เพื่อเผยแพร่ผลงานสิ่งแวดล้อมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง ติดตามข้อมูลได้จากเว็บไซต์ http://aeeid.aseansec.org/index.php – ( 125 Views)
การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการพลเรือน (เอซีซีเอสเอ็ม)
การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการพลเรือน (เอซีซีเอสเอ็ม) หรือ ASEAN Cooperation on Civil Service Matters (ACCSM) สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นหน่วยงานดูแล การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการพลเรือน (เอซีซีเอสเอ็ม) เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1980 เดิมมีชื่อเรียกว่า ASEAN Conference on Reforms in the Civil Service (ACRCS) ต่อมาในปี 1987 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ASEAN Conferences on Civil Service Matters (ACCSM) โดยมีจุดเน้นในเรื่องของความร่วมมือด้านราชการ รวมถึงระบบการบริหารและการจัดการภาครัฐ (public administration and management systems) เริ่มมีการประชุมตั้งแต่ปี 1981 และสำนักงาน ก.พ. ได้เป็นเจ้าภาพแล้ว 2 ครั้ง คือในปี 1985 และ 1997
เครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN Occupational Safety and Health Network : ASEAN-OSHNET)
สืบเนื่องจากที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายการฝึกอบรมและสารสนเทศด้านการปรับปรุงสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (Workshop on Feasibility Study on Establish ASEAN Training and Information Centre / Network for Improvement of Working Conditions and Environment) ณ Quezon City ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักเลขาธิการอาเซียน มีมติที่ประชุม 1. จัดตั้งเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN Occupational Safety and Health Network : ASEAN-OSHNET) 2. จัดตั้งคณะกรรมการบริหารเครือข่ายความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN-OSHNET Coordinating Board) 3. รายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการอาเซียนด้านแรงงาน (ASEAN Subcommittee on Labour Affairs-ASCLA) หรือที่ประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนในปัจจุบัน –