หนังสือ นวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม ฉบับการจัดการ การแก้ปัญหา ภัยธรรมชาติ โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำเพื่อเนื้อหามุ่งเน้นการจัดการ การแก้ปัญหาภัยธรรมชาติ พร้อมสาระและข้อมูลที่น่ารู้ต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันภัยธรรมชาติ และสาระอื่นๆ ในส่วนของผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอุทกภัย โดยมีเนื้อหา ดังนี้ – ( 274 Views)
คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on Disaster Management – ACDM)
คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (เอซีดีเอ็ม) หรือ ASEAN Committee on Disaster Management (ACDM) จัดตั้งเมื่อต้นปี ค.ศ. 2003 เพื่อ ASEAN Committee on Disaster Management – ACDM หรือ คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ เพื่อให้มีการดำเนินการในเชิงรุกในการจัดการภัยพิบัติ โดยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติทุกด้านอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การป้องกัน การเตรียมความพร้อม การตอบโต้ การบรรเทาและการฟื้นฟู ติดตามกิจกรรมของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ได้ที่ http://202.46.9.39:8889/About/ASEANCommitteeonDisasterManagement.aspx– ( 53 Views)
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปี 2555
ขอสรุปข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติ ประจำปี 2555 ที่ส่งผลกระทบอย่่างรุนแรง ท่านสามารถติตตามเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทางเว็บไซต์ http://technology.in.th/disaster ซึ่งจะประมวลเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ในรอบปีที่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง หรือส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย มิถุนายน สถาบันศึกษามหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) รายงานว่า สหรัฐฯกำลังเผชิญกับภัยแล้งกินบริเวณกว้างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1956 พื้นที่ร้อยละ 55 ของ 48 รัฐ โดยเฉพาะในแถบมิดเวสต์ประสบภัยแล้งรุนแรง อันเนื่องมาจากอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ พืชประเภทข้าวโพดและถั่วเหลืองได้รับผลกระทบอย่างหนัก และเกิดไฟไหม้ป่าในหลายรัฐ โดยได้ขยายตัวไปในภาคตะวันตก เขตมิดเวสต์ และที่ราบทุ่งหญ้า เมื่อประเมินจากข้อมูลภาวะแห้งแล้งจากระดับอุณหภูมิและปริมาณฝนตก จึงนับว่าเป็นภัยแล้งขยายวงกว้างที่สุดในรอบ 56 ปี (ภาพจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342511304&grpid=03&catid=03) – ( 5157 Views)
การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจของห้องสมุด
ห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่มีทรัพย์สินในรูปของทรัพยากรสารสนเทศ จำเป็นต้องตระหนักถึงเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมของห้องสมุด เหตุการณ์ดังกล่าว หมายรวมถึง เหตุการณ์อันเกิดอย่างไม่คาดฝัน ที่อาจเกิดจากธรรมชาติ เช่น พายุเฮอริเคน น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุทราย เป็นต้น หรือจากกระทำของมนุษย์ เช่น การจลาจล การก่อการร้าย ไฟไหม้ สารเคมีรั่วไหล ท่อน้ำแตกเป็นต้น ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และจบลงภายในเวลาไม่นานนัก แต่ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นที่ห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ ควรหาทางรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม – ( 113 Views)