กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เปิดศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 เนื่องจากการที่อาเซียนจะรวมตัวกันทางเศรษฐกิจเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ. 2558 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในการถ่ายทอดข้อมูลและสร้างความเข้าใจ โดยมุ่งการให้บริการที่เน้นการสื่อสารสองทาง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนผู้เจรจาการค้า (Negotiators) ไปสู่ผู้ใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรี (Stakeholders) ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SME และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าตามความตกลงต่างๆ ของไทยในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมโดยสามารถวางแผนธุรกิจเตรียมความพร้อมทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อใช้โอกาสจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเปิดเสรีทางการค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ติดตามข้อมูลและขอใช้บริการได้ที่ โทร 0 2507 7555 โทรสาร 0 2547 5612 อีเมล info@dtn.go.th – ( 107 Views)
นานาสาระเกี่ยวกับ AEC กับ EXIM Bank
ในเว็บไซต์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ AEC ในแง่ของการลงทุน การทำธุรกิจ การส่งสินค้ากับประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน บทความต่างๆ เหล่านี้ น่าสนใจมากทีเดียว เป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการ นักลงทุนของไทย ในการเข้าสู่ถนน AECโดยเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ที่ http://www.exim.go.th/Newsinfo/aec.aspx?section_=77711844 นอกจากเว็บไซต์นี้แล้ว ท่านสามารถติดตามแหล่งสารสนเทศอาเซียนในแง่มุมอื่นๆ ได้ที่ http://stks.or.th/th/asean-resources.html และ http://nstda.or.th/asean/ – ( 111 Views)
AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)
AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) เป็นการบรรยายวันที่ 31 มีนาคม 2556 เวลา 13.30-15.30 น. เนื่องจากในระยะเวลาเพียง 3 ปี ต่อจากนี้ ไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) บุคลากรในสาขาต่างๆ จะมีทางเลือกในการทำงานอย่างเปิดกว้าง กระแสของการหมุนเวียนแรงงานจะเปิดกว้างมากขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ทุกภาคส่วนจะต้องมีกลยุทธ์ในการจูงใจและรักษาคนเก่ง แรงงานก็ต้องพัฒนาตนเองและสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและองค์กร เพื่อรักษางาน และสร้างจุดแข็งให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศได้ การนำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนของประเทศของวิทยากรในหัวข้อนี้ เพื่อสร้างความตระหนักด้านกำลังคนด้าน ว และ ท คุณลักษณะเด่นของ Talent บุคลากรคุณภาพภายในองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ
สถาปนิกอาเซียน
สภาสถาปนิก ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน ได้รวบรวมข้อมูลในส่วนของประเทศไทยที่มีการผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และตลาดวิชาชีพผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมภายใต้กรอบ AFAS (ASEAN Framework Agreement on Service) หรือ กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ซึ่งมีการกำหนดให้เปิดตลาดการค้าบริการให้เป็นตลาดการค้าบริการที่เสรีและเป็นตลาดเดียวภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) และยอมรับร่วมกันของอาเซียนด้านการบริการสถาปัตยกรรม (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Architectural Services: MRAs) เพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษา ประสบการณ์การทำงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อให้สถาปนิกในกลุ่มประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ทั้งนี้ ติดตามข้อมูลรายละเอียดของสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน (ASEAN Architect Council – AAC) ได้ที่ http://www.aseanarchitectcouncil.org/about.html และติดตามข้อมูลของสภาสถาปนิก ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และตลาดวิชาชีพผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรม ได้ที่ http://www.act.or.th/th/asean_architect/– ( 132 Views)
สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA)
เดิมชื่อว่า องค์การรัฐสภาพอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 เพื่อสร้างความร่วมมือของรัฐสภาแห่งชาติในอาเซียนให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเมื่อการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียนครั้งที่ 27 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีการเปลี่ยนชื่อจากองค์การรัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) มาเป็นสมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร และบูรณาการการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติให้มีรูปธรรม ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างรัฐสภาในประเทศสมาชิกอาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นปรับปรุงโครงสร้างการทำงานขององค์กร เพิ่มช่องทางการทำงานร่วมกันกับ ASEAN โดยการแลกเปลี่ยนการเข้าร่วมประชุมระหว่างประธาน AIPA และประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน และให้อำนาจกับที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในการริเริ่มการจัดทำกฎหมายในประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสนใจร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ติดตามความกิจกรรมความเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.aipasecretariat.org/ และ http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=14330&filename= – ( 152 Views)
ศูนย์สารสนเทศอาเซียน มรภ. มหาสารคาม
ศูนย์สารสนเทศอาเซียน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ASEAN Information Center, Rajabhat Mahasarakham University) ให้บริการสารสนเทศอาเซียน เพื่อให้ความรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับโรงเรียน สถานศึกษา ซึ่งสามารถนำไปเป็นต้นแบบในกรจัดทำศูนย์อาเซียนศึกษาได้ ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วยเอกสารข้อมูล นิทรรศการ และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งสารสนเทศอาเซียนอื่นๆ และที่ทางศูนย์ฯ พัฒนาขึ้นเอง สามารถเข้าถึงสารสนเทศและกิจกรรมของศูนย์ฯ ได้ที่ http://arcm.rmu.ac.th/~asean/asean_web/home.php – ( 154 Views)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ด้านวัฒนธรรมอาเซียน
ท่านที่สนใจวัฒนธรรมอาเซียน สามารถติดตามอ่านได้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวงวัฒนธรรมเผยแพร่ไว้ที่ http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=3561 มีจำนวน 64 รายการ จากรูปเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน แหล่งที่มา: กระทรวงวัฒนธรรม– ( 194 Views)
หอการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน
ติดตามข้อมูลของหอการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ที่ http://www.nccibd.com/ (บรูไน) http://www.umfcci.com/ (พม่า) http://www.lncci.laotel.com/ (ลาว) http://www.philippinechamber.com/ (ฟิลิปปินส์) http://www.thaichamber.org/ (ไทย) http://www.ppcc.org.kh/ (กัมพูชา) http://www.kadin-indonesia.or.id/ (อินโดนีเซีย) http://www.micci.com (มาเลเซีย) http://www.sicc.com.sg/ (สิงคโปร์) http://www.vcci.com.vn/ (เวียดนาม) แหล่งอ้างอิง: หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย. http://www.thaichamber.org/scripts/aec.asp – ( 162 Views)
ปี 56 ไทยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ที่มีประชากรสูงวัย
คำว่า “สังคมสูงวัย” พิจารณาได้จากประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีมากกว่าร้อยละ 7 และหากมีมากกว่า ร้อยละ 14 เรียกได้ว่าเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” และ ถ้ามีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 จัดว่า เป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในปี พ.ศ. 2556 พบว่า ประเทศสิงคโปร์แก่ที่สุดในอาเซียน คือ ร้อยละ 12 รองลงมาคือ ไทย ร้อยละ 11 และเวียดนาม ร้อยละ 7 และในอีก 30 ปีข้างหน้า คือ ปี พ.ศ. 2583 ทั้ง 3 ประเทศจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด รายการอ้างอิง: ศุทธิดา ชวนวัน. ประชากรสูงวัยในอาเซียน. ประชากรและการพัฒนา 33,4 (เม.ย.-พ.ค. 56) : 11. [ออนไลน์] : www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter