magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "DNA"
formats

ข้อมูลเชิงลึกของโรคอัลไซเมอร์

Published on January 22, 2014 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การศึกษาด้าน DNA นำพาให้เราเข้าสู่ข้อมูลเชิงลึกของโรคอัลไซเมอร์ ภาพรวมของสาเหตุการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เริ่มเป็นที่กระจ่างมากยิ่งขึ้นหลังจากการวิเคราะห์ DNA ของผู้ป่วยครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์วิจัยที่ครอบคลุมมากกว่าที่เคยมีมา ทำให้เราทราบถึงความสัมพันธ์ของยีนที่ส่งผลให้เกิดภาวะความจำเสื่อมได้แล้ว งานวิจัยที่ค้นพบนี้ตีพิมพ์ในวารสารเกี่ยวกับพันธุศาสตร์ ซึ่งบ่งบอกถึงบทบาทที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน – ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ลอจิกเกตจากดีเอ็นเอสำเร็จแล้ว

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ลอจิกเกตจากดีเอ็นเอสำเร็จแล้ว นักเคมีจากมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่าสเตท ได้สร้างลอจิกเกตจากดีเอ็นเอที่สามารถดำเนินการได้ภายในเซลล์ของมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นการวิจัยพื้นฐานที่อาจจะทำให้เราสามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนในสิ่งมีชีวิตได้ต่อไป นำมาสู่การตรวจพบและรักษาโรคล้ำสมัยได้ในอนาคต ลอจิกเกต เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของการคำนวณของคอมพิวเตอร์ เมื่อนำมาประกอบกันด้วยวิธีต่างๆ ก็จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำการคำนวณได้หลากหลายมาก ตัวอย่าง เช่นการบวกเลขลบเลข แต่สิ่งที่น่าทึ่งคือ ดีเอ็นเอหลายๆ เกลียวสามารถนำมาสร้างเป็นลอจิกเกต และนำมาต่อเป็นทรานซิสเตอร์ต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการคำนวณด้วยดีเอ็นเอยังประสบผลสำเร็จแค่ในหลอดทดลอง ไม่ใช่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447161– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ศาลคัดค้านจดสิทธิบัตรดีเอ็นเอมนุษย์

ศาลสูงสหรัฐฯ ได้ตัดสินว่าดีเอ็นเอมนุษย์ไม่สามารนำไปจดสิทธิบัตรได้ แต่ดีเอ็นเอทำเลียนแบบสามารถอ้างเป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ ศาลสหรัฐฯ ได้คัดค้านสิทธิบัตรสองประเภทที่ถือครองโดยบริษัทในมลรัฐยูทาที่มีการทดสอบ ด้านยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งทรวงอกและรังไข่ และมีความเห็นว่า ดีเอ็นเอมาจากธรรมชาติไม่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพสหรัฐฯ ได้ออกมาเตือนว่า การคัดค้านการออกสิทธิบัตรที่ครอบคลุมเกินไปเช่นนั้นอาจทำให้การลงทุนมหาศาล ในการวิจัยยีนเพื่อการรักษาโรคชงักงันได้ ทั้งนี้ในส่วนของกระบวนการยุติธรรมได้อ้างเหตุผลที่ต้องคัดค้านเพราะ ดีเอ็นเอเป็นผลผลิตตามธรรมชาติและไม่สามารถนำไปจดสิทธิบัตร เนื่องจากได้ถูกคัดแยกแล้ว ทั้งนี้ การตัดสินอ้างว่า หากเป็นโมเลกุลสังเคราะห์ที่เรียกว่า Complementary DNA สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้เนื่องจากไม่ใช่ผลผลิตตามธรรมชาติ คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร | อ่านเพิ่มเติม– ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เชื้อชาติอาจบ่งบอกภูมิคุ้มกัน

Published on April 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เชื้อชาติอาจบ่งบอกภูมิคุ้มกัน หลังจากดูรหัสดีเอ็นเอของคนจากหลายภาคส่วนของโลก ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้เปิดมุมมองใหม่ด้านงานวิจัยระบบภูมิคุ้มกันวิทยาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า จำนวนของยีนแอนติบอดี้ที่เหมาะสมต่อร่างกายคน ประสิทธิภาพการทำงานของแอนติบอดี้ และเชื้อโรคที่มันจะไปทำลายได้ แท้ที่จริงแล้วมีความแตกต่างในแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งก็หมายความได้ว่า ยา วิธีการรักษา และวัคซีน ที่ทำขึ้นมาเพื่อรักษาคนให้ได้ทุกคนบนโลกนั้นควรจะคิดใหม่ โดยควรจะต้องใช้วิธีการที่เหมาะสมกับคนที่จะรักษามากกว่า รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446638– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญทางด้านพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

คำว่า พันธุวิศวกรรมเป็นคำที่รู้จักอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่าเป็นการทำให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะตามต้องการโดยอาศัยการส่งถ่าย DNA ที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวเข้าไปในสิ่งมีชีวิตนั้น แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบอะไรบ้างที่นำไปสู่พันธุวิศวกรรม การค้นพบที่นำไปสู่พันธุวิศวกรรมเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1879 ในขณะนั้น Albrecht Kossel ค้นพบ DNA และ RNA ซึ่งส่งผลให้อีก 31 ปีต่อมา Kossel ได้รับรางวัลโนเบล หลังจากนั้นมีการค้นพบเกิดขึ้นมากมายจนกระทั่งใน ค.ศ. 1973 Stanley Cohen และ Herbert W. Boyer ได้ทำการทดลองทางพันธุวิศวกรรมเป็นครั้งแรก โดยตัดโมเลกุล DNA ด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzyme) แล้วแทรกชิ้น DNA นั้นเข้าไปในแบคทีเรีย Escherichia coli (E. coli) หลังจากนั้นพันธุวิศวกรรมได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากการค้นพบอีกหลายครั้ง จนกระทั่งใน ค.ศ. 2003 โครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human genome project) เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้งานด้านพันธุวิศวกรรมขยายวงกว้างขึ้นมาก ในที่นี้ได้รวบรวมการค้นพบที่สำคัญทางด้านพันธุวิศวกรรมตั้งแต่ ค.ศ.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments