magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "RNA"
formats

การค้นพบที่สำคัญทางด้านพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

คำว่า พันธุวิศวกรรมเป็นคำที่รู้จักอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่าเป็นการทำให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะตามต้องการโดยอาศัยการส่งถ่าย DNA ที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวเข้าไปในสิ่งมีชีวิตนั้น แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบอะไรบ้างที่นำไปสู่พันธุวิศวกรรม การค้นพบที่นำไปสู่พันธุวิศวกรรมเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1879 ในขณะนั้น Albrecht Kossel ค้นพบ DNA และ RNA ซึ่งส่งผลให้อีก 31 ปีต่อมา Kossel ได้รับรางวัลโนเบล หลังจากนั้นมีการค้นพบเกิดขึ้นมากมายจนกระทั่งใน ค.ศ. 1973 Stanley Cohen และ Herbert W. Boyer ได้ทำการทดลองทางพันธุวิศวกรรมเป็นครั้งแรก โดยตัดโมเลกุล DNA ด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzyme) แล้วแทรกชิ้น DNA นั้นเข้าไปในแบคทีเรีย Escherichia coli (E. coli) หลังจากนั้นพันธุวิศวกรรมได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากการค้นพบอีกหลายครั้ง จนกระทั่งใน ค.ศ. 2003 โครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human genome project) เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้งานด้านพันธุวิศวกรรมขยายวงกว้างขึ้นมาก ในที่นี้ได้รวบรวมการค้นพบที่สำคัญทางด้านพันธุวิศวกรรมตั้งแต่ ค.ศ.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

RNA มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างโปรตีน

ในกระบวนการสร้างโปรตีนตามลำดับเบสของดีเอ็นเออาศัย RNA ที่สำคัญ 2 ชนิดคือ messenger RNA (mRNA) และ transfer RNA (tRNA) กระบวนการดังกล่าวเริ่มจากการถอดรหัสลำดับเบสของดีเอ็นเอเป็น mRNA เรียกว่า transcription หลังจากนั้นลำดับเบสทีละ 3 เบสที่เรียงติดกันของ mRNA แปลรหัสเป็นกรดอะมิโนแต่ละตัวเรียกว่า translation ในกระบวนการนี้อาศัย ribosome (จับกับ mRNA ในขณะเกิดการแปลรหัส) และ tRNA (มีหน้าที่ลำเลียงกรดอะมิโนเข้าสู่ ribosome เพื่อมาเชื่อมต่อเป็นโปรตีนตามรหัสของ mRNA) หลังจากผ่านการแปลรหัสได้โปรตีนที่เซลล์ต้องการ ที่มา : สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546.– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments