magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "H7N9"
formats

จีนพบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H7N9 อีกรายในกวางตุ้ง

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ กว่างโจว 26 ก.พ. 2014 – สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า จีนพบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H7N9 เพิ่มขึ้นอีกรายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โฆษกสำนักงานสาธารณสุขกวางตุ้งระบุว่า ผู้ติดเชื้อดังกล่าวเป็นชาย วัย 71 ปี ในเมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้งตอนใต้ของจีน  เขาได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก  H7N9 เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รายงานระบุว่า ผู้ป่วยมีอาการหนักและกำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลท้องถิ่น ก่อนหน้านี้ เมื่อวันจันทร์มณฑลกวางตุ้งมีรายงานผู้เสียชีวิต 1 คน และผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 4 คน จีนมีรายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 กว่า 120 คน และมีผู้เสียชีวิตไป 31 คนในปีนี้ อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. – http://www.mcot.net/site/content?id=530d3f43be047002168b45b9#.Uw1gXYWDjGg– ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จีนพบผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกเอช 7 เอ็น 9 ที่อาจติดจากคนเป็นครั้งแรก

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ ปารีส 7 ส.ค.2013  -คณะนักวิทยาศาสตร์จีนแจ้งว่า พบผู้เสียชีวิตจากเชื้อไข้หวัดนกเอช 7 เอ็น 9 ที่อาจเกิดจากการติดต่อจากคนสู่คนเป็นครั้งแรก หลังจากเชื้อนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 40 คน  นับตั้งแต่เดือนมีนาคม คณะนักวิทยาศาสตร์จีนเขียนบทความลงในเว็บไซต์บีเอ็มเจดอทคอมของอังกฤษว่า ชายวัย 60 ปีรายหนึ่งที่มักไปตลาดสัตว์ปีกมีชีวิตเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหลังจากติดเชื้อเอช 7 เอ็น 9   ขณะที่บุตรสาววัย 32 ปี ซึ่งดูแลเขามานานกว่าสัปดาห์ก็เสียชีวิตที่โรงพยาบาลเช่นกัน ทั้งที่ไม่มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกป่วย ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเธออาจติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจากบิดา  ผลการตรวจพันธุกรรมตัวอย่างไวรัสของทั้งคู่พบว่ามีความเหมือนกันแทบทุกประการ อย่างไรก็ดี คณะนักวิทยาศาสตร์ไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับพ่อลูกคู่นี้ก่อนเสียชีวิต ทำให้ไม่สามารถชี้ขาด ได้ว่าบุตรสาวอาจติดเชื้อจากแหล่งอื่นหรือไม่ – ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9: Facts & Future

การต่อสู้เชื้อไวรัส H7N9 โดยใช้บทเรียนจากการศึกษาไวรัส  H5N1 ของ Asia Partnership on Emerging Infectious Diseases Research (APEIR) การระบาดล่าสุดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H7N9 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการนำบทเรียนของการศึกษาวิจัยจาก APEIR ที่ศึกษาไข้หวัดนก H5N1 มาประยุกต์ใช้และ APEIR ได้พัฒนาข้อเสนอสำหรับผู้กำหนดนโยบายที่สอดคล้องมากกับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H7N9 ในปัจจุบัน คณะนักวิจัยได้ศึกษาประสิทธิผลของมาตรการการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก H5N1 พบว่า การดำเนินการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มที่ทำการศึกษาส่วนมากยังคงมีข้อบกพร่องร้ายแรง เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H7N9 เข้ามาในฟาร์มได้รวมทั้งไม่สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์ปีกติดเชื้อ ไม่เพียงแต่ฟาร์มขนาเล็กเท่านั้น เพราะแม้แต่ฟาร์มขนาดใหญ่ก็ยังไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพเช่นกัน APEIR  เป็นเครือข่ายการวิจัยโรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำเพียงแห่งเดียวในเอเชีย ซึ่งประกอบด้วย 30 สถาบัน จาก 6 ประเทศ (กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทยและเวียตนาม)  เครือข่ายความร่วมมือนี้ดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ผลการศึกษาวิจัยภายใต้การดำเนินงานของ APEIR ทำให้เกิดองค์ความรู้มากมาย จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะปรับใช้ผลการวิจัยที่มีอยู่เพื่อลดผลกระทบและป้องกันการเกิดโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ H7N9 ที่สำคัญ APEIR

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำความรู้จักไวรัสหวัดนก H7N9

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ จีน 5 เม.ย.2013 – คอลัมน์ “มองโลก มองเรา” วันนี้ พาไปทำความรู้จักกับไวรัสไข้หวัดนก H7N9 ที่กำลังระบาดหนักในจีนขณะนี้ ไวรัสไข้หวัดนก H7N9 ตามความรู้เดิมของนักวิทยาศาสตร์ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ ซึ่งปกติพบในสัตว์ปีก ไก่ เป็ด ผู้ที่เสียชีวิตไป 2 คนนั้นไม่มีประวัติสัมผัสกับสัตว์ปีกมาก่อนเลย นักวิทยาศาสตร์ ยังหาสาเหตุการเสียชีวิตไม่ได้  สันนิฐานว่า เชื้ออาจมีการกลายพันธ์ บางคนระบุว่าอาจมาจากสาเหตุ ซากหมูตายในกรุงเซี่ยงไฮ้ ก่อนหน้านี้ ขณะนี้ยังเป็นปริศนา ให้ระมัดระวังอาหารที่มาจากประเทศจีน หรือ ชาวจีนที่เดินทางเข้ามาไทย ชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์สำนักข่าวไทย – http://www.mcot.net/site/content?id=515e3947150ba0466b00037c#.UV6NAVdhsa8– ( 63 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments