magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "MTEC"
formats

ผู้บริหารพบนักวิจัย: ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล และทีมวิจัย กับผลงานวิจัย “ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลวเพื่อช่วยป้องกันการสำลักในระหว่างริน” ได้รับอนุสิทธิบัตร และได้รับรางวัลเหรียญทองในงาน 41st International Exhibition of Inventions of Geneva

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผพว. มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล นายดำรงค์ ถนอมจิตร และ นางสาวณัชชา ประกายมรมาศ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลาสติก หน่วยวิจัยโพลิเมอร์ ศว. กับผลงานวิจัยเรื่อง “ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลวเพื่อช่วยป้องกันการสำลักในระหว่างริน” โดยได้รับความคุ้มครองอนุสิทธิบัตรตามประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการประกวดในงาน 41st International Exhibition of Inventions of Geneva – ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชู Smart Grid รับมือยานยนต์ไฮบริด-ไฟฟ้า

นักเทคโนโลยีฟันธง 20 ปีข้างหน้า ไทยจะมีศักยภาพรับมือการเติบโตของยานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้า คาด 1 ล้านคัน ความต้องการใช้ไฟเพิ่มแค่ 2% ขณะที่ความเห็นในเชิงผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐฯยังเห็นต่างกับภาคเอกชน ชี้ทุกฝ่ายต้องมองภาพเดียวกัน โดยเริ่มจากการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้ารวมทั้งแบตเตอรี่และชิ้นส่วนอื่นๆ ภายในประเทศให้ได้ และต้องเดินหน้ามาตรการหนุนรถยนต์ไฮบริดและไฟฟ้าให้อยู่ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี อย่างจริงจัง แม้อีก 20 ปีข้างหน้า มีรถยนต์ไฟฟ้า 1 ล้านคัน ต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพียง 2% ของแผนการผลิตไฟฟ้าในปี 2030 แนะเดินหน้า Smart Grid รองรับไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น คาดไร้ปัญหา ในช่วง peak load – ( 158 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

AEC to help lift R&D to 1% of GDP

The National Science and Technology Development Agency (NSTDA) has projected research and development budgets of the public and private sectors will account for 1% of gross domestic product over the next five years, up from 0.2%last year. President Thaweesak Koanantakool said the forecast is based on growing inquiries from private companies  both large and small 

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

N-Mask หน้ากากอนามัย

N-Mask หน้ากากอนามัย ผลงานการวิจัยจากนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค เป็นผลงานการวิจัยที่ได้ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร เรื่อง หน้ากากอนามัยที่มีสมบัติดักจับและย่อยสลายแบคทีเรียและไวรัส ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักวิจัยจาก เอ็มเทค ได้พัฒนาผงวัสดุเชิงประกอบของ ”ไฮดรอกซีอาปาไทต์ ไททาเนียมไดออกไซด์” เป็นวัสดุที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยคุณสมบัติของวัสดุ 2 ชนิด คือ ไฮดรอกซีอาปาไทด์ เป็นวัสดุเซรามิกที่มีส่วนประกอบใกล้เคียงกับกระดูกธรรมชาติซึ่งถูกนำมาใช้งานทางด้านการแพทย์ เช่น เป็นวัสดุทดแทนกระดูกมนุษย์ เป็นต้น และด้วยคุณสมบัติไฟฟ้าสถิต (Electrostatic charges) อันเนื่องจากการยึดเกาะแบบจำเพาะของประจุแคลเซียมและการสลายตัวแบบพิเศษของประจุฟอสเฟตจากผิวของอาปาไทต์ ทำให้ไฮดรอกซีอาปาไทด์สามารถจับยึดไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ซึ่งมีประจุบนผิวเซลล์ไว้ได้ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้ทำให้ต่อมามีการนำเอาไฮดรอกซีอาปาไทด์มาใช้ในงานด้านหน้ากากอนามัยดังกล่าว ไททาเนียมไดออกไซด์หรือไททาเนีย เป็นวัสดุเซรามิกที่มีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลาย โมเลกุลของสารอินทรีย์ เช่น สารพิษ แบคทีเรีย ไวรัส จุลินทรีย์ หรือกลิ่น ภายใต้สภาวะแสง  (Photocatalysis) ให้อยู่ในรูปของโมเลกุลอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กและไม่เป็นอันตราย หลักการทำงานของวัสดุเชิงประกอบของไฮดรอกซีอาปาไทด์ไททาเนียมไดออกไซด์ ประกอบด้วยการจับยึดสารอินทรีย์ หรือจุลินทรีย์ เช่น ไวรัส และแบคทีเรีย  ไว้บนผิวของไฮดรอกซีอาปาไทด์ ในขณะที่ไททาเนียมไดออกไซด์ช่วยเร่งการย่อยสลายของสารอินทรีย์หรือจุลินทรีย์ที่ถูกจับยึดไว้  จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันสารอินทรีย์ที่เป็นพิษและจุลินทรีย์ได้ดีขึ้น เป็นหน้ากากอนามัยที่มีแผ่นกรองอากาศถึง 4

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เม็ดมวลเบาสังเคราะห์ (G-Rock)

เม็ดมวลเบาสังเคราะห์ (G-Rock) เป็นนวัตกรรมใหม่ของวัสดุก่อสร้างที่คิดค้นขึ้นโดยนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการเซรามิกส์ประยุกต์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) โดยมีแนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากกากของเสียในโรงงาน ที่ได้มีการดำเนินงานในเอ็มเทค อาทิเช่น  การนำของเหลือทิ้งประเภทตะกอนจากอุตสาหกรรมมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุเม็ดมวลเบาสังเคราะห์ (G-Rock) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงสูง โดยเมื่อนำ G-Rock มาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างประเภทคอนกรีต เช่น กระเบื้องมุงหลังคา ผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จ และแผ่นพื้นคอนกรีต จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่มีน้ำหนักที่ลดลงมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงความแข็งแรงเทียบเท่าคอนกรีตทั่วไปและยังเป็นฉนวนกันความร้อนได้ ซึ่งสามารถลดค่าการก่อร้างเป็นจำนวนมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1628-1629 โทรสาร: 0 2564 7003– ( 288 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments