จากหนังสือวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2557 : 33-56) ได้หยิบยกตัวอย่าง งานวิจัยและพัฒนา ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่นำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยสรุปมีดังนี้ ตัวอย่างงานวิจัยและพัฒนาที่นำมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 1. ตัวอย่างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม 1.1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมกับ บริษัท ซัมมิท อาร์แอนด์ดี เซ็นเตอร์ จำกัด (SRDC)) 1.2 ระบบวางแผนอัตโนมัติสำหรับการบริหารอะไหล่กังหันก๊าซ (พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ; หน่วยงานผู้รับถ่ายทอด คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) 1.3 เครื่องขันสกรูอัตโนมัติสำหรับการประกอบแผ่นวงจรฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ; หน่วยงานผู้รับถ่ายทอด คือ บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์จำกัด) 1.4 ผิวเคลือบฉนวนความร้อนสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า (พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
การส่งเสริมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การส่งเสริมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Boosting R&D to Support Green Growth Policy of Thailand) หัวข้อหนึ่งในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 สวทช. ซึ่งในปีนี้จัดภายใต้หัวข้อ เรื่อง “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พลังขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (S & T : Driving Force for Sustainable Development) ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2557 โดยหัวข้อ ดังกล่าว กำหนดขึ้นในวันพุธที่ 2 เมษายน 2557 ได้รับเกียรติจากวิทยากรหลายท่าน ได้แก่ Dr. Stefanos Fotiou (UNEP Asia-Pacific Regional Office) มาบรรยายในหัวข้อเรื่อง International Policy and Action
Tags: Green Economy, Green Growth, Green NSTDA, NAC2014, Stefanos Fotiou, Suatainable Procurement, Sustainable development, UNEP, การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่่งแวดล้อม, การประชุมวิชาการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การพัฒนาที่ยั่งยืน, การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่่งแวดล้อม, การเติบโตสีเขียว, คาร์บอนฟุตพรินต์, คาร์บอนฟุตพริ้นท์, ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัตถุดิบ, ทวีศักดิ์ กออนันตกูล, วิจารย์ สิมาฉายา, สวทช., เศรษฐกิจสีเขียว