ทุ่ม 100 ล้าน พัฒนาต้นแบบเครื่องมือแพทย์เทคโนโลยีพลาสมาเย็น เน้นเสริมความงาม-รักษาแผลเรื้อรัง ชี้ประสิทธิภาพสูงแต่ราคาถูกกว่าวิธีเดิม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พัฒนาต้นแบบเครื่องมือแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีพลาสมาเย็น โดยใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท มั่นใจเสร็จใน 2 ปี ระบุเป็นเทคโนโลยีใหม่ ประสิทธิภาพสูงแต่ราคาถูกกว่า เน้นเสริมความงามและรักษาแผลเรื้อรัง – ( 58 Views)
เม.ย.ทีเซลส์เล็งเปิดศูนย์หุ่นยนต์แพทย์
นายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) พัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีชีววิศวกรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายผลิตและบริการคนไทยในราคาที่เหมาะสม และอีก 7 ปีข้างหน้าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าหุ่นยนต์ทางการแพทย์ 100 ล้านบาท/ตัว ลงได้ 50% นอกจากนี้ในวันที่ 9 เม.ย.นี้จะเปิดตัวศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง จะเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล การแพทย์ฉุกเฉิน และการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วย ผู้สูงอายุในระดับแนวหน้าของอาเซียน โดยจะเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกระทรวงมากขึ้น เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ จากข้อมูล Business Report San Jose, California ระบุถึงมูลค่าของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูงในตลาดโลกคือ 1.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 เมื่อเทียบกับประชาคมอาเซียน ประเทศไทยมีความพร้อมสูง โดยเฉพาะมีบุคลากร องค์ความรู้ความชำนาญด้านการแพทย์และนักประดิษฐ์ หุ่นยนต์ แต่ยังขาดการบูรณาการให้เกิดผลผลิตจนถึงระดับอุตสาหกรรมการตลาดและพาณิชย์ “เชื่อว่าหากทุกภาคส่วนผนึกกำลังกันจะสามารถผลักดันหุ่นยนต์ทางการแพทย์ของ ไทยไปสู่ระดับอาเซียนและระดับโลกได้” ผู้อำนวยการศูนย์ทีเซลส์ กล่าว รายการอ้างอิง : เม.ย.ทีเซลส์เล็งเปิดศูนย์หุ่นยนต์แพทย์. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่