magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

บาร์โค้ดแบบล่องหน เนคเทคท้าชนสินค้าปลอม

ยิ่งเศรษฐกิจดิ่งลง สินค้าปลอมยิ่งผุดเพิ่ม อัพเดทเทคโนโลยีแห่งเนคเทค ล่าสุดคือ บาร์โค้ดล่องหน เพื่องานป้องกันการปลอมแปลงที่บาร์โค้ด (Barcode) เป็นแถบเส้นแนวตั้ง เรียงเป็นแถวและมีตัวเลข 13 หลัก

บาร์ โค้ดยังมีประโยชน์ตั้งแต่ตอนผลิตขนส่งและจัดเก็บ จนกระทั่งตอนขายสินค้าเป็นเสมือนกับเลขประจำตัวของสินค้าชิ้นนั้นๆ บาร์โค้ดอีกแบบหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลวดลายเป็นจุด เราเรียกว่า คิวอาร์โค้ด สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ URL Link ที่จะเชื่อมโยงผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ และปลอมแปลงได้เช่นเดียวกั

เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดคือ พิมพ์บาร์โค้ดด้วยหมึกล่องหน นักวิจัยที่ South Dakota School of Mine ประสบความสำเร็จในการผลิตหมึกอนุภาคขนาดนาโนที่ทำมาจากแร่ Lanthanide เมื่อผสมในหมึกใสที่เรืองแสง เมื่อถูกกระตุ้นด้วยคลื่นแสงในช่วงคลื่นใกล้กับอินฟราเรดเท่านั้น เป็นเทคโนโลยีท้าทายการปลอมแปลงใหม่ล่าสุดที่ยังหยุดอยู่กับที่ไม่ได้อีก ชิ้น

ที่มา : บาร์โค้ดแบบล่องหน เนคเทคท้าชนสินค้าปลอม. (2556, 10 มกราคม). บ้านเมือง, น. 24.– ( 98 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

CEO บริษัท OverDrive สาธิตการอ่าน e-Book บน TV

Published on January 10, 2013 by in e-Book, IT Tech

Steve Potash, CEO บริษัท OverDrive สาธิตการใช้ OverDrive เพื่ออ่าน e-Book บนโทรทัศน์ซึ่งถูกเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและรองรับเว็บเบราว์เซอร์ เพื่อตอบคำถามที่ผ่านมาว่า คนต้องการอ่าน e-Book ทั้งเล่ม บนจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่หรือไม่ นอกเหนือจากการอ่านบทความหนังสือพิมพ์หรือบทความวารสารสั้นๆ  ซึ่งเกิดจากการพัฒนา web-based ereader ของ OverDrive

ที่มาข้อมูล:
Price, Gary. (2013). “OverDrive CEO Demonstrates eBooks on TV”. infoDocket [Online] http://www.infodocket.com/2013/01/09/video-overdrive-ceo-demonstrates-ebooks-on-tv [Accessed 10 January 2013].– ( 111 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุด หนังสือวันเด็กแห่งชาติ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุด หนังสือวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2528-2552

ย้อนวัยเด็กเมื่อวันวาน สามารถอ่าน หนังสือวันเด็กฉบับย้อนหลังในรูปแบบ  e-Book  http://www.lib.obec.go.th/children-book/Part2/main.html

– ( 226 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุด หนังสือวันเด็กแห่งชาติ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุด หนังสือวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2502-2527

ย้อนวัยเด็กเมื่อวันวาน สามารถอ่าน หนังสือวันเด็กฉบับย้อนหลังในรูปแบบ  e-Book  http://www.lib.obec.go.th/children-book/Part1/main.html

 – ( 190 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวเลียนแบบมนุษย์

หน่วยงานสนับสนุนงานวิจัยในสังกัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DARPA) สร้างผลงานสุดน่าทึ่ง “หุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวเลียนแบบมนุษย์” สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางต่างๆ ได้โดยการเคลื่อนไหวคล้ายมนุษย์มาก

ที่มา : ARPA’s Pet-Proto Robot Navigates Obstacle. ค้นข้อมูลวันที่ 10 มกราคม 2556. จาก http://www.youtube.com/embed/FFGfq0pRczY.– ( 57 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คนไทยเล่น-ใช้โปรแกรม “LINE” (ไลน์) มากที่สุดในโลก !

[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] สมกับสโลแกนที่ว่า “คนไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก” จริงๆ เมื่อมีการเปิดเผยถึงประเทศที่ใช้ “LINE” บ่อยที่สุดในโลก ผลปรากฎว่าประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ของประเทศที่มีผู้ใช้บ่อยที่สุดในโลก แถมตอนนี้ยังมียอดผู้ใช้ LINE มากกว่า 10 ล้านคนแล้ว ว้าววว !!

จากข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยโดยนายจิน วู ลี ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส สำนักงานฝ่ายธุรกิจ LINE เอ็นเอชเอ็น คอร์ปอเรชั่น และผู้แทนส่วนธุรกิจ LINE ประเทศไทย ที่ระบุว่าหลังเปิดตัวแอพพลิเคชั่นให้ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ดาวน์โหลด ฟรีใน 37 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ผลการสำรวจออกมาว่า ประเทศไทยมีอัตราผู้ใช้ LINE กว่า10 ล้านคน เติบโตกว่า 1,150 % เมื่อเทียบกับช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งในเวลานั้นยังมีผู้ใช้ไม่ถึง 1 ล้านคน และเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ใช้ LINE จากทั่วโลกล่าสุดเมื่อสิ้นเดือนพฤษจิกายน ปรากฎว่ามีผู้ใช้ถึง 82.4 ล้านคน จาก 231 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ที่ใช้ LINE บ่อยที่สุดในโลก

นอกจากนี้นายจิน วู ลี ได้เปิดเผยอีกด้วยว่า ประเทศไทย ครองอันดับสามของโลกจากจำนวนผู้ใช้ LINE เป็นรองประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน แต่หากเทียบอัตราการเข้าใช้งานนั้น ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยการเข้ามาใช้งานอย่างน้อย 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ถือว่ามากเป็นอันดับ 1 ของโลก นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจอีกว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการ Android มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55 รองลงมาเป็น iOS ที่ร้อยละ 40 และเป็นระบบ Windows และ BlackBerry อีกร้อยละ 5

รายการอ้างอิง :

คนไทยเล่น-ใช้โปรแกรม “LINE” (ไลน์) มากที่สุดในโลก !. มติชนออนไลน์ (เทคโนโลยี). วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555.

 

– ( 111 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้คอลเลคชั่น e-Book กรณีศึกษา The J.N. Desmarais Library of Laurentian University

การศึกษาล่าสุดที่นำเสนอผลการสำรวจเชิงปริมาณและระบบเกี่ยวกับการใช้ e-Book ภายใน The J.N. Desmarais Library of Laurentian University ในช่วง 9 ปี โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าขนาดของคอลเลคชั่น e-Book มีความสัมพันธ์มากที่สุดต่อระดับการใช้ e-Book จากปัจจัยทั้งหมดที่มีการตรวจสอบ กล่าวคือ การตัดสินใจยอมรับและใช้ประโยชน์คอลเลคชั่น e-Book นั้น ผู้ใช้ให้ความสำคัญต่อขนาดและจำนวนเนื้อหาของคอลเลคชั่นมากที่สุด

นอกจากนี้ประเด็นระดับการศึกษา พบว่า นักศึกษาในระดับปริญญาเอกมีระดับความสัมพันธ์ต่อการใช้ e-Book ที่ชัดเจนมากที่สุด ต่างจากนักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มีระดับความสัมพันธ์ต่อการใช้ e-Book ที่น้อยมาก ขณะที่ประเด็นคณะนั้นแสดงความสัมพันธ์ที่น้อยต่อการใช้งาน e-Book โดยรวม คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายงานฉบับเต็ม
ที่มาข้อมูล:
Lamothe, A. R. (2013). “Factors influencing the usage of an electronic book collection: size of the e-book collection, the student population, and the faculty population”. College and Research Libraries [Online], 74 (1), 39-59. http://crl.acrl.org/content/74/1/39.full.pdf [Accessed 9 January 2013].– ( 821 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับกรดอะมิโน (amino acid) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

เป็นที่รู้จักกันว่ากรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน แต่ละชนิดมีคุณสมบัติและโครงสร้างที่แตกต่างกัน แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบที่สำคัญอะไรบ้างในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 ที่เกี่ยวกับกรดอะมิโน

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับกรดอะมิโนพบได้น้อยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อเทียบการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับวิตามิน เอนไซม์ และฮอร์โมน ดังได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ การค้นพบที่สำคัญในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 เกี่ยวกับกรดอะมิโนได้รวบรวมไว้ดังนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 88 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมน (hormone) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

ฮอร์โมนเป็นที่รู้จักว่าหลั่งโดยเซลล์ของต่อมไร้ท่อแล้วเข้าสู่กระแสโลหิตเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังเซลล์เป้าหมายเพื่อควบคุมการทำงานของเซลล์ แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบที่สำคัญอะไรบ้างเกี่ยวกับฮอร์โมนในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003

การค้นพบเริ่มต้นเมื่อค.ศ. 1902 โดย William Maddock Bayliss และ Ernest Henry Starling ค้นพบฮอร์โมน secretin ซึ่งหลั่งโดยผนังของลำไส้เล็กเพื่อควบคุมตับอ่อน (pancreas) หลังจากนั้นอีก 12 ปี Edward Kendall ค้นพบฮอร์โมน thyroxin ซึ่งหลั่งโดยต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ต่อมามีการค้นพบฮอร์โมนอีกหลายชนิด เช่น ฮอร์โมน parathormone (ค.ศ. 1926) ในที่นี้ได้รวบรวมการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมนในช่วงตั้งแต่อดีตจนถึง ค.ศ. 2003 ดังนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 117 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์ (enzyme) จนถึงปี ค.ศ. 2003

Published on January 9, 2013 by in S&T Stories

เอนไซม์เป็นที่รู้จักว่าคือโปรตีนที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต แต่หลายคนอาจสงสัยว่ามีการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์อะไรบ้างจนถึง ค.ศ. 2003

การค้นพบเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1833 ในขณะนั้น Anselme Payen ค้นพบเอนไซม์ diastase ซึ่งสกัดได้จากข้าวมอลต์ (malt) โดยทำหน้าที่เร่งการเปลี่ยนแป้ง (starch) เป็นน้ำตาล (sugar) หลังจากนั้นมีการค้นพบเอนไซม์อีกหลายชนิด เช่น เอนไซม์ invertase (ค.ศ. 1871)  เอนไซม์ reverse transcriptase (ค.ศ. 1970) เอนไซม์ gyrase (ค.ศ. 1976) การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์จนถึง ค.ศ. 2003 ได้รวบรวมไว้ดังนี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 174 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments