คราวที่แล้ว ผมได้เล่าให้ฟังถึงความสำคัญของธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจ ในตอนนี้ จะยกตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงลงไปถึงการใช้การออกแบบกับธุรกิจ ที่ผ่านมาภาคธุรกิจมักตกเป็นจำเลยในเรื่องการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม แต่ในขณะนี้ภาคธุรกิจต่างเร่งปรับตัวและได้ให้ ความสำคัญกับประเด็นนี้กันอย่างจริงจัง ปัจจุบันนักออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศหันมาใส่ใจกับประเด็นสิ่งแวด ล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม และสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบกระบวนการผลิต การคัดเลือกวัตถุดิบ การใช้งานผลิตภัณฑ์ และวงจรของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน อาทิ การเลือกใช้วัสดุรักษ์โลก ซึ่งกระบวนการได้มาซึ่งวัสดุประเภทนี้จะต้องสิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวัสดุเหล่านี้จะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามหลัก 3Rs คือ Reduce, Reuse, Recycle Read more…– ( 183 Views)
‘เรื่องเล่าทางสังคม’ของขวัญวันเด็ก…ที่ทำให้พ่อแม่ยิ้ม
สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จัดงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2556 ก่อนวันเด็กแห่งชาติในชื่องาน “เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ให้เด็ก.คนพิเศษ” นับเป็นงานวันเด็กที่สำคัญและเป็นงานวันเด็กที่รวมเด็กพิเศษมากที่สุด แถมได้ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญมาออกแบบกิจกรรม ทั้งเกมเสริมทักษะพัฒนาการ การแสดงนวัตกรรมเพื่อเด็กพิเศษ รวมถึงการมอบรางวัลแก่นักกีฬาสเปเชี่ยลโอลิมปิกที่เป็นเด็กบกพร่องทาง พัฒนาการและสติปัญญาที่มีความสามารถได้รับชัยชนะในระดับนานาชาติได้ Read more…– ( 123 Views)
My Act เกาะติดทุกท่วงท่า
“หนุ่มสาวออฟฟิศที่มีพฤติกรรมนั่งแช่ยาวหน้าจอคอมพ์ ร่างกายแทบจะไม่ได้ขยับ สงสัยหรือไม่ว่าตลอดทั้งวันคุณใช้พลังงานไปกี่แคลอรี เมื่อเทียบกับอาหารที่กินเข้าไป”
พฤติกรรมผู้นั่งโต๊ะทำงานที่นั่งนานต่อเนื่องเกินกว่า 2 ชั่วโมง โดยไม่เคลื่อนไหวเปลี่ยนอิริยาบถ เพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงในผู้หญิงถึง 26% ไม่ว่าผู้หญิงเหล่านั้นจะออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ภาวะอ้วนลงพุงนี้ยังเปิดประตูรอรับโรคความดันสูง ไขมันในเลือดสูงและเบาหวาน ตามมาเป็นแพกเกจอีกด้วย Read more…– ( 66 Views)
มีผู้สำเร็จการศึกษาใหม่กว่าหนึ่งล้านคนภายใต้โปรแกรมการศึกษา STEM ในหนึ่งทศวรรษข้างหน้า
รัฐบาลโอบามาได้ประกาศเพิ่ม ปริมาณเเป้าหมายของนักเรียนที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ให้เป็นจำนวนหนึ่งล้านคนในหนึ่งทศวรรษ และกำหนดเป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ชื่อว่า Cross-Agency
Priority (CAP) goal ซึ่งมุ่งเน้นในการประสานงาน และสนับสนุน หาวิธีการที่ดีที่สุดจากทุกหน่วยงานที่มีส่วนร่วม เพื่อทำภารกิจให้
เสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ การออกมาประกาศแสดงให้เห็นถึง ความตั้งใจที่จะทำตามคำแนะนำของสภาที่ปรึกษาฯ ของ
ประธานาธิบดีว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ประเมินว่า ปริมาณงานทางด้าน STEM จะเติบโตเร็วกว่าด้านอื่นถึง 1.7 เท่า ในช่วงปี ค.ศ.2008-2018 และ
เพื่อที่จะมีแรงงานเพียงพอ สหรัฐฯต้องการผู้มีทักษะทาง STEM เพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งล้านคน นอกจากนี้ การมุ่งเน้นในการรักษาจำนวน
นักเรียนในช่วงปีแรกของการเรียนในภาควิชาด้าน STEM จะมีความสำคัญมาก เพราะในปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนด้าน STEM
ตั้งแต่ต้น และสำเร็จการศึกษาในสาขา STEM ไม่ถึงร้อยละ 40 หากยังคงรักษาจำนวนนักเรียนไว้ได้ร้อยละ 50 จะสามารถผลิตนักเรียน
ที่จบด้าน STEM ได้ถึง 3 ใน 4 ของเป้าหมายหนึ่งล้านคนในเวลาหนึ่งทศวรรษ หรือประมาณ 75,000 คนต่อปี
การเตรียมการส่วนใหญ่ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของรัฐบาล รายละเอียดหลักการของ CAP goal สามารถสรุปได้ดังนี้
- กำหนดแนวทางและนำการปฏิบัติจริงมาพัฒนาการสอนด้าน STEM และทำให้นักเรียนมีความสนใจด้าน STEM มากขึ้น
- เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเรียน การสอน STEM จากการค้นคว้าโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรกในการเรียนระดับ
มหาวิทยาลัย
- เน้นการปรับปรุงพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เมื่อนักเรียนเข้ามา โดยใช้การเรียนจากการปฏิบัติจริง เพื่อเพิ่มผลลัพท์
- เปิดโอกาสทางการศึกษา และสนับสนุนผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยที่ไม่ค่อยมีโอกาสทางการเรียน ค้นหาและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม
ในการศึกษาที่ก้าวหน้ามากขึ้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1153—-12556
– ( 53 Views)
Lycopene อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
สาร lycopene เป็นสารประกอบที่ทำให้มะเขือเทศเปลี่ยนสีกลายเป็นสีแดง มีคุณสมบัติที่สามารถระงับอาการอักเสบ จำกัดการผลิตคลอ
เลสเตอรอล และยับยั้งการแข็งตัวของเลือด แต่สิ่งแรกและเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ สาร lycopene เป็นสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid)
ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่ช่วยกำจัดโมเลกุลต่าง ๆ ที่ไม่เสถียร หรืออนุมูลอิสระ (free radicals) ออก
จากร่างกาย เนื่องจากอนุมูลอิสระที่มีอยู่ภายในร่างกายสามารถทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอ ฆ่าเซลล์ โจมตีโปรตีน และส่งเสริมให้เกิด
โรคหลอดเลือดได้อีกด้วย นักวิจัย ระบุว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าสาร lycopene มีผลโดยตรงต่อการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอด
เลือดสมองตีบตัน จากการศึกษาดูเหมือนว่า ผู้ที่ชื่นชอบรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ จะมี
ความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตีบตันน้อยลง แต่ยังมีการทำการศึกษาไม่เพียงพอที่สามารถวิเคราะห์ผล
กระทบของสาร lycopene ที่มีต่อความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
Jouni Karppi และคณะนักวิจัยจากๅ University of Eastern Finland เมือง Kuopio ได้ติดตามศึกษากลุ่มผู้ชายจำนวน 1,031 คน
ที่มีอายุตั้งแต่ 46 ถึง 65 ปี เป็นระยะเวลา 12 ปี เพื่อวัดระดับปริมาณสาร lycopene ในกระแสเลือด จากการติดตามคนกลุ่มนี้ตลอดระยะ
เวลา 12 ปี นักวิจัยได้สรุปผลการเฝ้าติดตามว่า มีผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบตันจำนวน 67 ราย กลุ่มคนที่มีระดับสาร lycopene
ในกระแสเลือดต่ำที่สุดมีโอกาสป่วยเป็นโรคหลอดลเลือดสมองตับตันมากกว่ากลุ่มคนที่มีระดับสาร lycopene ในกระแสเลือดสูงที่สุดถึง
สองเท่านักวิจัยยังอธิบายถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบตันได้ เช่น การสูบบุหรี่ มวลร่างกาย ความดันโลหิต
คลอเรสเตอรอลชนิด LDL โรคเบาหวาน และประวัติของโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1153—-12556– ( 92 Views)
ตรวจเบาหวานจากลมหายใจ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค/สวทช.) เผยความสำเร็จของผลงานวิจัยเครื่องตรวจเบาหวานจากลมหายใจของไทย ที่สามารถคว้ารางวัลท็อปโหวต (Audience Choice Winner Award) จาก 15,000 โครงการที่เข้าร่วมแข่งขันในงาน Intel-DST Asia Pacific Challenge 2012
งานดังกล่าว เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นสำหรับนักสร้างสรรค์นวัตกรรมและนักธุรกิจหน้าใหม่ด้านเทคโนโลยีใน 12 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยความร่วมมือของอินเทลและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศอินเดีย เพื่อเชิดชูผลงานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและนักธุรกิจหน้าใหม่ ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สุขภาพ พลังงาน สิ่งแวดล้อม การจ้างงาน และเทคโนโลยีสำหรับผู้คนโดยรวม
Read more…– ( 212 Views)
ยุทธการปราบไวรัส
ไข้เลือดออก ยังเป็นภัยคุกคามชีวิตมนุษย์ ตราบใดที่โรคนี้ยังไม่มียารักษาหรือแม่แต่วัคซีนป้องกัน นั้นเป็นเหตุผลให้ “ศันสนีย น้อยสคราญ” ดอกเตอร์หญิงจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค ทุ่มเทให้กับงานวิจัยอย่างเต็มที่
เธอได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยโรคไข้เลือดออก โดยรับหน้าที่ศึกษากลไกการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซึ่งทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสจากยุงลายเกิดโรคเฉียบพลัน ในขณะที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษา Read more…– ( 99 Views)