จากการร่วมเข้าฟังสัมมนาในหัวข้อ “ข้อความระวังกรณีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน” โดยคุณมนูญ ช่างชำนิ ได้กล่าวแนะนำเรื่องของข้อความระวังกรณีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในระดับของอาเซียน ซึ่งมีสาระทีน่าสนใจ ดังนี้
สถิติระดับความรุนแรงด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ในอาเซียนแยกตามการกระทำนั้น จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีการทำนำเข้า-ส่งออกสินค้า รวมทั้งการกระจายสินค้าหรือการบริโภคสินค้าในประเทศมีระดับความรุนแรงด้านการละเมินค่อนข้างสูง และประเทศกัมพูชามีการผลิต การส่งออก และการส่งผ่านข้ามแดนนั้น มีระดับความรุนแรงด้านการละเมินค่อนข้างสูงเช่นกัน ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้มักจะถูกจับตามมองจากประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาค่อนข้างมาก
ระดับความรุนแรงด้านการละเมิด IP ในอาเซียนแยกตามสินค้า ซึ่งประเทศที่มีระดับความรุนแรงสูงที่สุดคือประเทศกัมพูชา รองลงมาคือลาวและเวียดนาม โดยสินค้าที่มักจะมีการละเมิดกันมากคือ อะไหล่รถยนต์ (Car spare parts) วัดจากสถิติการจับกุมของแต่ละประเทศ
จุดเด่นด้าน IP ของประเทศต่างๆ นั้นมีความแตกต่างกันตามความพร้อมในด้านต่างๆ ที่มาสนับสนุนการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งสำหรับประเทศไทยเองนั้น สามารถจำแนกความโดดเด่นในเรื่องต่างๆ ได้ ดังนี้
- Copyright ซึ่งประเทศไทยมีการปรามปราบและบังคับใช้กฏหมายอย่างชัดเจนและเข้มแข็งกว่าหลายๆ ประเทศ
- Gographical Indication สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประเทศไทยนำร่วมกับเวียดนาม เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
- IP Education
- IP Enforcement ประเทศที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการบังคับใช้สิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน อันได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ และเวียดนาม
ระบบกฏหมายที่ใช้บังคับสิทธิด้านทรัพทย์สินทางปัญญาอาเซียน
- ระบบกฏหมายแพ่ง อันได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม
- ระบบกฏหมายจารีตประเพณี บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และพม่า
วิธีการบังคับใช้สิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน
- การบังคับใช้สิทธิโดยฝ่ายบริหาร
- การบังคับใช้สิทธิทางอาญา
- การบังคับใช้สิทธิทางแพ่ง
การบังคับใช้สิทธิทางอาญา
ประเทศที่ใช้วิธีการบังคับทางอาญาเป็นหลัก ซึ่งดำเนินการผ่านตำรวจโดยการแจ้งความ ได้แก่
- อินโดนีเซีย
- ฟิลิปปินส์
- สิงคโปร์
- ไทย
ประเทศที่ใช้วิธีการบังคับสิทธิทางอาญาจะจำกัดเฉพาะกรณีการละเมิดจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะบังคับสิทธิผ่ายฝ่านยบริหารมากกว่าการแก้ไขความเสียหายทางแพ่งและอาญา ได้แก่
- บูรไน
- กัมพูชา
- ลาว
- มาเลเซีย
- เวียดนาม
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิด้าน IP ในอาเซียน
- ความทับซ้อนในอำนาจหน้าที่และการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่/หน่วยงานรัฐ
- การสับเปลี่ยนโอนโยกย้ายเจ้าหน้าที่
- บุคลากรและเครื่องมือไม่เพียงพอ
- ความคลุมเครือในการปฏิบัติ
- อาจมีค่าใช้จ่ายด้านการอำนวยความสะดวก
- บางประเทศไม่มีแผนงานในระดับชาติ
- การบังคับใช้สิทธิในที่ๆ ห่างไกล (ต่างจังหวัด) ทำได้ยาก ไม่มีประสิทธิภาพ
- ระบบราชการมักจะขาดแคลนข้อมูลที่เป็นระบบ (Computerized System)
- ขาดความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
- การดำเนินการล่าช้า มีงานค้างสะสม
- มาตราการบังคับไม่รุนแรง มีการกระทำละเมิดซ้ำ
- การทำลานสินค้าปลอมแปลงไม่มีมาตรฐานแน่นอน
การป้องกันการละเมิด IP ควรปฏิบัติอย่างไร
- ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร หรือ IP อื่นๆ อยู่เสมอ
- สำรวจการใช้ IP ของคู่แข่ง ก่อนส่งสินค้าออกสู่ตลาด โดยเฉพาะกรณีที่นำสินค้าออกขายโดยไม่มีการจดทะเบียนไว้ก่อน
- สำรวจตลาดเพื่อระมัดระวังการละเมิด IP โดยผู้อื่น
- ติดตามสอดคล้องการใช้ IP ของคู่แข่ง
- กรณีอนุญาต (License) ให้ผู้อื่นใช้ IP ก็ควรติดตามสอดส่องการใช้ตามการอนุญาตินั้นๆ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพ
- วางนโยบายที่ชัดเจนในการบังคับใช้สิทธิกับผู้ละเมิด โดยเฉพาะเรื่องการปลอมแปลงสินค้า
การป้องกันความเสี่ยงจากการลอกเลียนแบบสินค้า
- จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และ IP อื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้ก่อน
- ติดสัญลักษณ์/ข้อความเกี่ยวกับ IP บนสินค้าและบรรจุภัณฑ์ในขณะขายหรือนำสินค้าออกแสดง
- การส่งตัวอย่างสินค้าไปให้ลูกค้าดู ควรมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิใน IP กำกับไว้
- ในสถานที่แสดงสินค้า ควรมีป้ายหรือข้อความเกี่ยวกับสิทธิใน IP ให้เป็นที่สังเกต
เมื่อพบการละเมิด IP ควรทำอย่างไร
- รวบรวมหลักฐานการกระทำละเมิดให้มากที่สุด
- ไม่ควรติดต่อผู้ละเมิดโดยตรงก่อนการปรึกษากับฝ่ายกฎหมาย
- พิจารณาทางเลือกการดำเนินการกับผู้กระทำละเมิด
- เลือกการดำเนินการที่เหมาะสมที่สุดตามขั้นตอนของกฎหมาย
บทสรุปและข้อพึงระวัง
- การป้องกันที่ดีที่สุดคือการจดทะเบียน IP ทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้ก่อนการนำสินค้าออกสู่ตลาด
- พึงตระหนักว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการค้าขายล้วนมีเจ้าของทั้งสิ้น
- หลายๆ อย่างอาจะเป็นสินทางปัญญาซึ่งเจ้าของมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Right) การทำซ้ำ ลอกเลียน แอบอ้างความีชื่อเสียง หรือกระทำการอื่นโดยไม่สุจริตต่อทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นย่อมมีความเสี่ยง
- วิธีที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดคือ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองในการสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และแสวงหาความคุ้มครองให้แก่สิ่งที่สร้างสรรค์นั้น
สามารถอ่านรายเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ข้อความระวังกรณีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน
– ( 447 Views)