magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "Intellectual Property"
formats

Lab notebook: บันทึกช่วยจำในงานวิจัย

บันทึกช่วยจำในงานวิจัย (Laboratory notebook) เป็นการบันทึกความคิด ผลการทดลอง ข้อสังเกต ผลลัพธ์ และกระบวนการในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ วัตถุประสงค์หลักของบันทึกช่วยจำในงานวิจัยคือการบันทึกสิ่งที่อาจขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร โดยบันทึกเหตุการณ์ตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องแม่นยำ ประโยชน์ของบันทึกช่วยจำในงานวิจัย คือ ผู้ประดิษฐ์สามารถนำข้อมูลที่บันทึกไว้พิสูจน์สิทธิในศาลเวลาเกิดข้อพิพาททางกฎหมาย ส่วนผู้ร่างคำขอรับสิทธิบัตรสามารถนำสิ่งที่บันทึกไว้เป็นข้อมูลประกอบการร่างข้อถือสิทธิในคำขอรับสิทธิบัตรได้ บทความนี้ เขียนโดย ดร. ใจรัก เอื้อชูเกียรติ นักวิชาการ  สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี  ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เกริ่นนำถึงความสำคัญและความจำเป็นของการมีบันทึกช่วยจำในงานวิจัย อธิบายถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อให้บันทึกช่วยจำในงานวิจัยนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดสมความมุ่งหมาย จากนั้นจึงกล่าวถึงคดีที่เกิดขึ้นที่มีการนำบันทึกช่วยจำในงานวิจัยมาใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิ คดีที่เกิดขึ้นทั้งหมดแม้เป็นคดีที่เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่สามารถนำผลของคดีมาศึกษาเทียบเคียงหากมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลไทยได้เช่นกัน ด้วยเหตุว่าพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ระบุว่าในการคัดค้านการขอรับสิทธิบัตรใด ๆ ผู้คัดค้านและผู้ถูกโต้แย้งสิทธิจะต้องนำเสนอหลักฐานประกอบการพิจารณาด้วย ในกรณีเช่นว่านั้น บันทึกช่วยจำในงานวิจัยจะเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ใช้ในการพิสูจน์สิทธิได้ว่ามีการทำวิจัยขึ้น หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สรุปได้จากตัวอย่างคดีที่เกิดขึ้นที่มีข้อเท็จจริงที่หลากหลายจะนำไปสู่ข้อพึงระวังและบทสรุป อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/13009-lab-notebook– ( 135 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่องความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายในส่วนของคุณปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดังนี้ ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบ ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า โดยวิทยากรเน้นบรรยายเรื่องเครื่องหมายการค้า  ว่าจะปกป้องและขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าอย่างไรในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้การเข้าร่วม AEC วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าให้ดีขึ้น ซึ่งพื้นฐานอยู่ที่การวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งโดยภาพรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 4 ข้อ คือ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ข้อความระวังกรณีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน

Published on April 23, 2013 by in ASEAN

จากการร่วมเข้าฟังสัมมนาในหัวข้อ “ข้อความระวังกรณีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน” โดยคุณมนูญ ช่างชำนิ ได้กล่าวแนะนำเรื่องของข้อความระวังกรณีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในระดับของอาเซียน ซึ่งมีสาระทีน่าสนใจ ดังนี้  – ( 446 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ASEAN Intellectual Property Rights Actions Plan 2011-2015

ASEAN Intellectual Property Rights Actions Plan 2011-2015 (by ASEAN Working Group on Intellectual Property Cooperations: AWGIPC  and printed by Department of Intellectual Property of Thailand) compiles the background and concept of the ASEAN IPR Action Plan 2011-2015 and the resulting 28 Work Plans under the said action plan.– ( 308 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments