magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)
formats

AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)

AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)  เป็นอีกหัวข้อหนึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) เป็นการบรรยายวันที่ 31 มีนาคม 2556 เวลา 13.30-15.30 น.

เนื่องจากในระยะเวลาเพียง 3 ปี ต่อจากนี้  ไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) บุคลากรในสาขาต่างๆ จะมีทางเลือกในการทำงานอย่างเปิดกว้าง กระแสของการหมุนเวียนแรงงานจะเปิดกว้างมากขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ทุกภาคส่วนจะต้องมีกลยุทธ์ในการจูงใจและรักษาคนเก่ง แรงงานก็ต้องพัฒนาตนเองและสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและองค์กร เพื่อรักษางาน และสร้างจุดแข็งให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศได้ การนำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนของประเทศของวิทยากรในหัวข้อนี้ เพื่อสร้างความตระหนักด้านกำลังคนด้าน ว และ ท คุณลักษณะเด่นของ Talent บุคลากรคุณภาพภายในองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ และการรักษา Talent ไว้กับองค์กรและประเทศ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย (ตามลำดับของหัวข้อที่บรรยาย)

  • ทรัพยากรมนุษย์ คือ ขุมทรัพย์…อย่างไร? โดย ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ (ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
  • How to Hunt: สุดยอดทรัพยากรมนุษย์ กรณีศึกษาจริง โดย คุณธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ (ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาค-ไทยและเวียดนาม กลุ่มบริษัท อเด็คโก็ ประเทศไทย)
  • คุณหรือใคร คือ คนที่องค์กรต้องการ? โดย คุณสัมพันธ์ ศิลปนาฏ (รองประธาน บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด)
  • พลังของสถาบันการศึกษา กับการสร้าง Talent โดย รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน (อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
  • คุณก็เป็นคนดี คนเก่ง และเป็นที่ยอมรับได้ : มุมมองจากประสบการณ์ของคนที่ใช่ โดย ผศ. นพ. สุนทร วงษ์ศิริ (โรงพยาบาลสงขลานครินทร์) ร่วมกับคุณพลศักดิ์ ปิยะทัต (เจ้าของ 9 เหรียญทองนักประดิษฐ์นานาชาติและสภาวิจัยแห่งชาติ 7 ปีซ้อน)

วิทยากรแต่ละท่านได้ให้ข้อคิดที่ทำให้รู้สึกว่า ไทยต้องเร่งศักยภาพ ปรับตัว เพื่อแข่งขันกับกลุ่มประเทศอาเซียน  เนื่องด้วย ทรัพยากรมนุษย์นั้น  คือ ขุมทรัพย์ ไทยใช้เวลาถึง 26 ปี สามารถทำได้ถึง Middle income group และจะทำอย่างไรต่อให้เป็น low end ของ high income group โครงสร้างของตลาดแรงงานจะเปลี่ยนไปหลังจากเกิด AEC เพราะ AEC มีนโยบายด้านแรงงานร่วมกัน จึงต้องมีการเพิ่มงบประมาณ และทรัพยากรในการพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ยอมรับ สร้างโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ในกระบวนการหาคนเก่ง และคนมีคุณภาพมาทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปจากกระบวนสรรหาคนแบบเดิมๆ ต้องมี international database pool มีการทำงานเป็นแบบ Talent acquisition และการสรรหาบุคลากรจะเป็นในลักษณะ Marketing HR  รวมมีการใช้ Social network เข้ามาใช้เป็นอย่างมาก

การจะก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน ถ้าประเทศไทย ไม่ปรับตัว จะมีแต่ชาวต่างประเทศเข้ามาทำงานในประเทศไทย มากกว่าคนไทยออกไปทำงานต่างประเทศ  เพราะขาดทักษะ (Skill) และคุณลักษณะ (Attribute)  กล่าวคือ บุคลากรในองค์กรจะต้องมีความสามารถ (Competencies) มีความรู้ (Knowledge) และต้องมีคุณลักษณะ (Attribute) คือ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท (Passion) มีความกระตือรือรันในการเรียนรู้ (Eager to learn) เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในตัวเอง (Resourcefulness) และ มีความรับผิดชอบในงาน (Accountability) นอกจากนี้จะต้องมีทักษะ (Skill) โดยจะต้องมี ความคิดเชิงวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา  การทำงานร่วมกับผู้อื่น การรับฟัง ความเข้าใจ  ความสามารถในการใช้ภาษา  การสื่อสารด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร  การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษา มีบทบาทในเรื่องของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาที่เข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนากำลังคน ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการผ่านการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา และทักษะวิศวกรรม– ( 197 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


8 + = sixteen

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>