ในเว็บไซต์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ AEC ในแง่ของการลงทุน การทำธุรกิจ การส่งสินค้ากับประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน บทความต่างๆ เหล่านี้ น่าสนใจมากทีเดียว เป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการ นักลงทุนของไทย ในการเข้าสู่ถนน AECโดยเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ที่ http://www.exim.go.th/Newsinfo/aec.aspx?section_=77711844 นอกจากเว็บไซต์นี้แล้ว ท่านสามารถติดตามแหล่งสารสนเทศอาเซียนในแง่มุมอื่นๆ ได้ที่ http://stks.or.th/th/asean-resources.html และ http://nstda.or.th/asean/ – ( 111 Views)
AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)
AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) เป็นการบรรยายวันที่ 31 มีนาคม 2556 เวลา 13.30-15.30 น. เนื่องจากในระยะเวลาเพียง 3 ปี ต่อจากนี้ ไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) บุคลากรในสาขาต่างๆ จะมีทางเลือกในการทำงานอย่างเปิดกว้าง กระแสของการหมุนเวียนแรงงานจะเปิดกว้างมากขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ทุกภาคส่วนจะต้องมีกลยุทธ์ในการจูงใจและรักษาคนเก่ง แรงงานก็ต้องพัฒนาตนเองและสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและองค์กร เพื่อรักษางาน และสร้างจุดแข็งให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศได้ การนำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนของประเทศของวิทยากรในหัวข้อนี้ เพื่อสร้างความตระหนักด้านกำลังคนด้าน ว และ ท คุณลักษณะเด่นของ Talent บุคลากรคุณภาพภายในองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ
สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA)
เดิมชื่อว่า องค์การรัฐสภาพอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 เพื่อสร้างความร่วมมือของรัฐสภาแห่งชาติในอาเซียนให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเมื่อการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียนครั้งที่ 27 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีการเปลี่ยนชื่อจากองค์การรัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) มาเป็นสมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร และบูรณาการการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติให้มีรูปธรรม ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างรัฐสภาในประเทศสมาชิกอาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นปรับปรุงโครงสร้างการทำงานขององค์กร เพิ่มช่องทางการทำงานร่วมกันกับ ASEAN โดยการแลกเปลี่ยนการเข้าร่วมประชุมระหว่างประธาน AIPA และประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน และให้อำนาจกับที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในการริเริ่มการจัดทำกฎหมายในประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสนใจร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ติดตามความกิจกรรมความเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.aipasecretariat.org/ และ http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=14330&filename= – ( 152 Views)
ศูนย์สารสนเทศอาเซียน มรภ. มหาสารคาม
ศูนย์สารสนเทศอาเซียน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ASEAN Information Center, Rajabhat Mahasarakham University) ให้บริการสารสนเทศอาเซียน เพื่อให้ความรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับโรงเรียน สถานศึกษา ซึ่งสามารถนำไปเป็นต้นแบบในกรจัดทำศูนย์อาเซียนศึกษาได้ ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วยเอกสารข้อมูล นิทรรศการ และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งสารสนเทศอาเซียนอื่นๆ และที่ทางศูนย์ฯ พัฒนาขึ้นเอง สามารถเข้าถึงสารสนเทศและกิจกรรมของศูนย์ฯ ได้ที่ http://arcm.rmu.ac.th/~asean/asean_web/home.php – ( 154 Views)
ก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของภาคการเกษตร (Towards ASEAN Community 2015 of Agricultural Sector)
การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015) นั้น สามารถส่งผลดีและผลกระทบต่อภาคการเษตร เพื่อรัษาภาคการเกษตรของไทย เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส หรือสร้างโอกาสในการขยายการดำเนินการธุรกิจไปยังประเทศสมาชิก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียนความพร้อมภาคการเกษตรสู่ประชาคมอาเซียน ขึ้น เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเร่งรัดให้มีความพร้อมของภาคการเกษตรเร็วยิ่งขึ้น และได้มีการจัดทำเว็บไซต์ “ก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของภาคการเกษตร”นี้ เพื่อเผยแพร่่ข้อมูลและกิจกรรมตามนโยบายดังกล่าว โดยสามารถติดตามได้ที่ http://moac2aec.moac.go.th/main.php?filename=index ผู้ที่จะได้รับผลดีและผลกระทบต่อภาคการเกษตร ตั้งแต่ระบบงานของรัฐ ระบบการผลิต ผลผลิต และสินค้าการเกษตรของเอกชนจนถึงเกษตรกรและผู้บริโภค น่าจะได้ติดตามอ่าน เพื่อจะได้รับทราบและเข้าใจถึงขั้นตอน กระบวนการ รายละเอียด ความท้าทาย และโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน – ( 112 Views)