magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home STKS สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร)
formats

สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร)

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ 


หัวข้อการบรรยาย : สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร)
บรรยายโดย : รศ.อังสนา ธงไชย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เอกสารประกอบการบรรยาย  

สรุปจากการบรรยาย
OA เกิดขึ้นเมื่อปี 2004 มีการพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นที่ยอมรับจากแนวโน้มของยุคดิจิทัล โมเดล การตีพิมพ์เชิงพาณิชย์ เน้นการตีพิมพ์แบบออนไลน์ซึ่งมีการสร้างคลังเอกสาร (Repository) เป็นคลังเอกสารแบบเปิด (OA) เกิดการสนับสนุนอย่างกว้างขวางมีประโยชน์ต่อการวิจัย นอกจากนี้ OA ยังมีประโยชน์ต่อสังคม เจ้าของผลงาน และ หน่วยงานวิจัยอีกด้วย

OA อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

  1. OA ประเภท Gold เปิดให้ทางออนไลน์ทันที
  2. OA ประเภท Green (self archive)

มีสัญญาอนุญาตแบบต่างๆ ทั้ง CC Gnu ขณะนี้มี 378 Funding agency ที่มีนโยบายให้ตีพิมพ์แบบ OA วารสารของประเทศ
ไทยมี 16 ชื่อที่เป็น OA เช่น วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น วารสารวิทยาศาสตร์สงขลานครินทร์

ตัวอย่างสำนักพิมพ์ SpringerLink ทำ Journal แบบ hybrid มี Business model 2 แบบ ทั้ง Traditional และ Open Access

  • DOAR – Traditional และ Open Repository
  • DOAB – Directory of Open Access Books

PLOS ถือเป็นวารสาร mega OA ที่มีชื่อเสียง มี 7 ฉบับ ตีพิมพ์บทความราว 1 พันบทความ/ปี ห้องสมุดควรเป็นผู้นำหรือ แกนนำในการผลักดันเรื่องนี้

ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความมักเป็นหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนให้เป็นส่วนใหญ่ (ในรูปของงบประมาณการวิจัย) หน่วยงานวิจัยต้องมีนโยบายให้ชัดเจน

สำนักพิมพ์ Elsevier ร่วมกับ สภาอเมริกาออกกฎหมายทำการกีดกันวารสาร OA ต่อมาได้ตกไป จึงเกิดเป็นการต่อต้าน (Boycott Elsevier) นักวิทยาศาสตร์ราวๆ 8 พันคนจะไม่เสนอบทความลงพิมพ์ของ Elsevier

ประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 8 มีนาคม 2556 หน้า 38 มีข้อความ “ผลงานวิชาการรับใช้สังคม” สามารถรับรองผลงานวิชาการได้

ห้องสมุดควรส่งเสริม OA ดังนี้

  1. ศึกษาเกี่ยวกับ OA
  2. ปฏิเสธข้อเสนอที่เกี่ยวกับฐานข้อมูลวารสารที่มีราคาสูง
  3. แจ้งประชาคม เหตุผลการเลิกบอกรับ
  4. จัดทำรายการ OAJ, OAR, OJB ใน OPAC ของห้องสมุด
  5. จัดทำ OAJ ในสาขาวิชาต่างๆ
  6. สร้างฐานข้อมูลดัชนีชี้แหล่ง OA
  7. จัดทำ OAR ช่วยเหลือนักวิจัยในการนำบทความเข้าเก็บในคลัง
  8. เผยแพร่แนวคิด OA เช่น จัด OA Week

สรุปจากการบรรยายโดย : นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่– ( 240 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 

One Response

  1. [...] สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างไร) บรรยายโดย : รศ.อังสนา ธงไชย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารประกอบการบรรยาย | สรุปจากการบรรยาย [...]

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− four = 5

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>