magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "Open access"
formats

Open Access ของสำนักพิมพ์ Elsevier

Open Access (OA) หมายถึง เอกสารวิชาการแบบดิจิทัล ที่มีการเผยแพร่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์ได้แบบเสรี (ฟรี) ปัจจุบันเรื่องคุณภาพ Open Access กำลังเป็นที่น่าสนใจในแวดวงวิชาการเกี่ยวกับการตีพิมพ์บทความวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจาก Jeffrey Beall บรรณารักษ์แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมรายชื่อสำนักพิมพ์และรายชื่อวารสารที่เข้าข่ายลักษณะจอมปลอม หลอกลวง (Predatory) ที่เรียกว่า Beall’s List of Scholarly Open Access Publishers ไว้ ว่าผู้แต่งบทความควรจะเสนอตีพิมพ์บทความวิจัยภายในสำนักพิมพ์หรือวารสารดังกล่าวหรือไม่ Elsevier สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของโลก และเป็นเจ้าของฐานข้อมูล ScienceDirect มีวารสารที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ตนเอง จำนวน 2,500 รายชื่อ ได้เกาะติดกระแส Open Access โดยจัดบริการ Open Access ไว้ 3 เรื่อง คือ Open Access Journal, Open Access Articles และ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประเมินคุณภาพผลงานวิจัย ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

เป็นหัวข้อการบรรยาย ในกิจกรรม NSTDA Knowledge Sharing ภายใน สวทช. ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่  18 กรกฎาคม 2556 โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  สรุปใจความได้ดังนี้ ผู้บรรยาย กล่าวย้ำว่าหัวข้อการบรรยายนี้ เป็นการประเมินคุณภาพ ของงานวิจัยเพื่อความเลิศทางวิชาการ เท่านั้น (ยกเว้นงานวิจัยประเภทอื่นๆ คือ  งานวิจัยเพื่อเศรษฐกืจ  งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างชุมชน และงานวิจัยนโยบาย)  โดยวัด นับจำนวนจากบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร หนังสือวิชาการเป็นหลัก (research publication) เทียบกับระดับนานาชาติ วารสารวิชาการที่มีคุณภาพ ต้องมี กองบรรณาธิการ (Editorial review) และการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญในสาขา (Peer review)    การประเมินคุณภาพ เชิงคุณภาพ วิธีดีที่สุด คือ ต้องตรวจสอบด้วยการอ่านเท่านั้น ซึ่งในการปฏิบัติ  ต้องใช้เวลามาก ใช้ผู้เชี่ยวชาญอ่านจำนวนมาก  ซึ่งไม่สามารถทำได้ จึงใช้ทางอ้อมแทน คือ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access

การประชุมวิชาการประจำปี 2556 ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access” วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556 ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ หัวข้อการบรรยาย : ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access บรรยายโดย : รศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกสารประกอบการบรรยาย สรุปจากการบรรยาย ขั้นตอนหนึ่งของงานวิจัย คือ การตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ในปัจจุบันจะเป็น Publish หรือ Perish ซึ่งมีตัวชี้วัดปริมาณคุณภาพผลงานวิจัยมากมาย เช่น จำนวนบทความ การอ้างอิง วารสารคุณภาพสูง ฯลฯ จึงมีสำนักพิมพ์หาช่องทางการทำธุรกิจแบบใหม่ในยุค OA วารสารแบบ Traditional Journal ผู้อ่านจะต้องจ่ายคือห้องสมุดบอกรับ จำกัดสิทธิ์ในการเข้าอ่าน ส่วนวารสาร Open Access Journals คือ ผู้แต่งบทความจ่ายค่าตีพิมพ์

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร)

การประชุมวิชาการประจำปี 2556 ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access” วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556 ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ  หัวข้อการบรรยาย : สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร) บรรยายโดย : รศ.อังสนา ธงไชย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารประกอบการบรรยาย   สรุปจากการบรรยาย OA เกิดขึ้นเมื่อปี 2004 มีการพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นที่ยอมรับจากแนวโน้มของยุคดิจิทัล โมเดล การตีพิมพ์เชิงพาณิชย์ เน้นการตีพิมพ์แบบออนไลน์ซึ่งมีการสร้างคลังเอกสาร (Repository) เป็นคลังเอกสารแบบเปิด (OA) เกิดการสนับสนุนอย่างกว้างขวางมีประโยชน์ต่อการวิจัย นอกจากนี้ OA ยังมีประโยชน์ต่อสังคม เจ้าของผลงาน และ หน่วยงานวิจัยอีกด้วย – ( 239 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

ควรลงพิมพ์ หรือเป็นบรรณาธิการ ในวารสารที่เป็น Open Access หรือไม่

จากการประชุมวิชาการประจำปีของฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ประจำปี 2556 ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน นั้น รศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ วิทยากรท่านหนึ่ง ได้ขึ้นบรรยายในหัวข้อเรื่อง ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access (สไลด์การบรรยายของอาจารย์สามารถติดตามได้ที่ http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28-library-science/4134-predatory-publishers.html) ได้กรุณาส่งบทความเรื่อง Should I publish in, or be an editor for, an Open Access (OA) journal?: a brief guide (http://scitech.sla.org/pr-committee/oaguide/) มาให้เพิ่มเติมค่ะ เลยขอส่งต่อให้แฟนพันธุ์แท้ของ STKS และผู้ที่เข้าร่วมงานอ่านกันนะคะ ทั้งนี้ สามารถติดตามอ่านบทสรุปการบรรยายหัวข้อต่างๆ ของการประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556  ได้ที่ http://stks.or.th/blog และติดตามสื่อนำสนอ (ที่ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่) ได้ที่ http://stks.or.th/th/news/3686-annual-conference-2013.html– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สหราชอาณาจักร-นโยบาย Open Access

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 4 เมษายน  2556 ข่าวหมวดนโยบาย-  ในวันที่ 1 เมษายน 2013 เป็นวันที่มีผลบังคับใช้ เรื่องกฎ ระเบียบ ที่งานวิจัยที่รับทุนจากภาครัฐ ต้องเปิดเผยผลงานวิจัยให้แก่สาธารณะเข้าถึงได้แบบเสรี โดยในปี 2013 นี้ มีการคาดหวังว่า มหาวิทยาลัย และ สถาบันวิจัยที่ได้รับทุนจาก UK Research Council จะมีการเปิดเผยผลวิจัยอย่างน้อย ร้อยละ 45 โดยที่อาจเผยแพร่ทันทีหลังจากมีการตีพิมพ์ หรือ หลังจากมีการตีพิมพ์ไปแล้วในช่วง 6 เดือน หรือ 24 ดือน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นงานวิจัยสาขาวิชาไหน นโยบายนี้จะมีการทบทวนอีกครั้งในปี 2014  อ่านรายละเอียดได้ที่  www.nature.com/scipublishing อ้างอิง : UK Open access.  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature.,

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นโยบาย open access ของสหรัฐอเมริกา

Published on March 14, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 28  กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดนโยบาย -  งานวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ที่ใช้งบประมาณมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ จะต้องทำการเปิดเผยผลลัพธ์การวิจัย ให้แก่สาธารณชน ให้เข้าถึงได้ แบบฟรี ในระยะเวลาหลังจากตีพิมพ์ แล้ว 1 ปี  มีการแถลงการณ์เรื่องนี้ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2013 คำสั่ง ข้อบังคับนี้ เป็นการขยายนโยบายเดิมที่ บังคับเฉพาะสาขาวิชาชีวภาพการแพทย์ (Biomedical science) เท่านั้น อ้างอิง :  US open access . (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7438), 406-407. http://www.nature.com/news/seven-days-22-28-february-2013-1.12494– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สหรัฐอเมริกา ร่างกฎหมาย Open-access

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 21  กุมภาพันธ์  2556 ข่าวหมวดนโยบาย เป็นร่างกฏหมายที่ต้องการให้มีการบังคับเปิดให้เข้าถึงข้อมูลผลงานวิจัยได้รับทุนวิจัยจากงบประมาณของรัฐบาลกลางให้แก่สาธารณชนได้แบบฟรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013 ได้มีการนำร่างกฎหมายเรื่องนี้เข้าที่ประชุมรัฐสภาสหรัฐอเมริกา  หากมีการอนุมัติเห็นชอบในร่างกฎหมายนี้ อาจจะมีการสั่งการให้หน่วยงานวิจัยผู้ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลกลางเปิดเผยข้อมูลผลงานวิจัยได้แบบฟรี ไม่ช้าไปกว่า 6 เดือน หลังจากบทความนั้นมีการตีพิมพ์ ในขณะนี้ หน่วยงานวิจัยหลัก  National  Institutes of  Health, NIH  มีระเบียบให้เปิดเผยผลงานวิจัย ภายใน 12เดือน ร่างกฎหมายนี้เป็นฉบับที่ 4 ของเรื่อง Open-access  ที่นำเข้ารัฐสภาสหรัฐอเมริกา  โดยที่ยังไม่มีออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนี้ อ้างอิง : US open-access bill .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7437), 286 – 287. http://www.nature.com/polopoly_fs/1.12444!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/494286a.pdf–

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Open Access สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์: แนวทางกำหนดนโยบาย โดย UNESCO

UNESCO ได้จัดพิมพ์ “Policy Guidelines for the Development and Promotion of Open Access” เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง Open Access (OA) พร้อมแนะนำขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมในการวางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ OA คู่มือเล่มนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อโปรโมท OA ด้วยการเสนอมุมมองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ OA เพื่อตอบสนองความต้องการของการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับ OA ในหน่วยงานของรัฐ สถาบัน หน่วยงานวิจัยและพัฒนา ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้ทุนทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาภายในคู่มือ แบ่งออกเป็น 9 หมวด คือ The Development of Open Access to Scientific Information and Research Approaches to Open Access The Importance of Open Access The Benefits

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

IEEE Computer Society เปิดตัว “TETC”วารสาร Open-Access

IEEE Computer Society เปิดตัววารสารที่เป็น Open-Access ชื่อใหม่ เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นใหม่ๆ ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ วารสาร IEEE Transactions on Emerging Topics in Computing (TETC) คือ วารสารที่เป็น Open-Access ชื่อใหม่ของ IEEE Computer Society ซึ่งเน้นเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ และการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งยังไม่เคยมีการตีพิมพ์ในวารสารของ IEEE ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ TETC จะเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ครั้งแรกประมาณเดือนกรกฎาคม 2013 วารสาร TETC เป็นหนึ่งในวารสารที่เป็น Open-Access ของ IEEE ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียกร้องของชุมชนวิชาการในการเข้าถึงและใช้งานบทความวิชาการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับสาธารณะ โดยวารสารที่เป็น Open-Access นั้น ผู้อ่านไม่ต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าถึงและดาวน์โหลดบทความที่ตนต้องการ แต่ผู้เขียนบทความจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์และเผยแพร่บทความของตนเองแทน โดยหนึ่งบทความมีราคาประมาณ $1,350 หรือ 4,1850 บาท ที่มาข้อมูล:

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments