การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ
หัวข้อการบรรยาย : ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access
บรรยายโดย : รศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการบรรยาย
สรุปจากการบรรยาย
ขั้นตอนหนึ่งของงานวิจัย คือ การตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ในปัจจุบันจะเป็น Publish หรือ Perish ซึ่งมีตัวชี้วัดปริมาณคุณภาพผลงานวิจัยมากมาย เช่น จำนวนบทความ การอ้างอิง วารสารคุณภาพสูง ฯลฯ จึงมีสำนักพิมพ์หาช่องทางการทำธุรกิจแบบใหม่ในยุค OA วารสารแบบ Traditional Journal ผู้อ่านจะต้องจ่ายคือห้องสมุดบอกรับ จำกัดสิทธิ์ในการเข้าอ่าน ส่วนวารสาร Open Access Journals คือ ผู้แต่งบทความจ่ายค่าตีพิมพ์ เปิดฟรีให้ผู้อ่านเกิดเหตุการณ์ สำนักพิมพ์ Nature ขึ้นราคาค่าตีพิมพ์สูงมากแบบไม่มีเหตุผล
การผลิต OAJ เกิด Conflict of interest ทำให้มีการรับตีพิมพ์ทุกเรื่อง เพราะมีรายได้เข้ามา เกิดคำถามในเรื่องคุณภาพของบทความ OAJ มีการเจริญเติบโตมาก (เกิดขึ้น 1,000 ชื่อทุกปี) บรรณารักษ์ชื่อ Jeffrey Beall จาก University of Colorado Denver มีบทบาทในเรื่องนี้มากทำการเปิดโปงสำนักพิมพ์จอมปลอม เช่น Hindawi (อียิปต์) / QMICS Group Bentham Open / MDPI เป็นต้น โมเดล OA ทำให้เกิดปัญหาระดับโลก / ระดับชาติ (มีบทความเรื่องนี้ในวารสาร Nature สามารถติดตามอ่านได้) กระบวนการ review ไม่มีคุณภาพ ไม่ถูกต้อง ไม่โปร่งใส ไม่ยอมรับ นักวิชาการไทยมีการตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้มาก หน่วยงาน สกอ. คปก. เริ่มประกาศรายชื่อวารสารจอมปลอมโดยใช้ Beall’s List
วารสาร OA จอมปลอม มักจะตั้งชื่อเลียนแบบ หลอกลวงในชื่อวารสารชื่อเดิม เช่น ชื่อเดิม Cancer เลียนแบบหรือปลอมแปลงเป็น Cancers หรือ Cell เป็น Cells ฯลฯ จงใจให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจผิด หลงเชื่อ รวมทั้งวารสารจอมปลอมเหล่านี้มีค่า impact factor (IF) อีกด้วย มีการเรียงความ Menuscript ด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งทำให้เนื้อหาไม่มีความถูกต้องเลย ชื่อซอฟต์แวร์ SCIgen รวมถึงมีการปิดสำนักพิมพ์ทำให้บทความหายไปทั้งหมด อีกทั้งยังมีการ charge ค่าที่จะถอนบทความออกด้วย (Retract)
OA ที่เป็นของดี และ ของปลอม สามารถแยกออกได้อย่างไร
- อาจใส่ข้อความให้ตรวจสอบอย่างมีวิจารณญาณ หรือ อ่านให้ละเอียด
- เช็คชื่อวารสารจากฐานข้อมูล JCR (Journal Citation Report) ของ ISI เพื่อความมั่นใจ หรือ SCImag ที่เปิดให้บริการฟรี
- ตรวสอบจาก Beall’s List ที่ scholarlyoa.com มีทั้ง List ของ publishers และ Journals
สรุปคือ
- OA เป็นเจตนาที่ดีแต่มีคนแสวงหาผลประโยชน์จึงทำให้เกิดเรื่องที่ไม่ดีขึ้น
- คุณภาพวารสารสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (จากสีเทา พัฒนาจนมีค่า IF)
- นักวิจัยรุ่นใหม่ ไม่ควรเสี่ยงตีพิมพ์ใน OAJ ที่ไม่ดี หรือ ไม่มีคุณภาพ
สรุปจากการบรรยายโดย
นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่
– ( 952 Views)