ในการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์พบว่าผู้สอนยังใช้ความรู้เดิมที่ตนเองมี อันได้จากอาจารย์ท่านใดสอนหรือแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ยังมีเอกสารที่น่าสนใจอีกหลายฉบับที่ควรศึกษาเพิ่มเติม อันได้แก่
1) คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
2) คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับการเรียนการสอน
และอยากเสนอให้ห้องสมุด สถาบันการศึกษาจัดทำมุมความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์กันด้วย เพราะยังพบว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนดังเช่น
ประเด็นอันสืบเนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ที่น่าห่วงสำหรับการทำผลงานวิชาการ ก็คือ ผู้ทำผลงานวิชาการมักจะเชื่อ (หรือเข้าใจ) ว่าการอ้างอิง จะช่วยป้องกันการละเมิดประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ หรือเชื่อประมาณว่า “ไม่ถูกฟ้อง” จริงๆ แล้วการถูกฟ้องหรือไม่ เป็นเรื่องของผู้ฟ้อง .. หากเค้าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็เป็นเรื่องของเค้านะครับ ดังนั้นไม่เกี่ยวกับการอ้างอิงที่มา .. การอ้างอิงจะเป็นเพียงหนึ่งหลักฐานที่ใช้ในการต่อสู้คดี … ภายใต้การอ้างอิงบนฐานของการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม …
หรือการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมที่คลาดเคลื่อน ดังเช่น
กฎหมายลิขสิทธิ์ ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กล่าวถึงความหมายของลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ อายุแห่งการคุ้มครองสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ และการใช้งานโดยธรรม ของบรรณารักษ์และนักสารนิเทศ การใช้งานโดยธรรม ของบรรณารักษ์และนักสารนิเทศ ตามพระราชบัญญัติ มาตรา 34 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ ของการทำซ้ำ งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด เป็นการกระทำอันชอบธรรม ซึ่งถือว่าเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
นอกจากนี้มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาอันเกิดจากลิขสิทธิ์ ดังนี้
- การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยท่านผู้พิพากษานันทน อินทนนท์ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
- Post เรื่อง ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพ… ผมเอาความผิดของตัวเอง มาให้ดูเป็น case study ครับ
- กฎหมายลิขสิทธิ์ : การนำ “ภาพ” มาประกอบการเขียน
สำหรับท่านที่มองว่าเรื่องนี้ไม่ใหญ่ ลองประเมินเล่นๆ ดูสิครับว่า “หากงานที่ท่านทำตามหน้าที่ ส่งผลให้ถูกฟ้องประเด็นลิขสิทธิ์” จะ
1) หน่วยงาน พร้อมช่วยเหลือเต็มที่
2) หน่วยงาน ให้คุณดูแลตัวเอง
3) หน่วยงาน ให้คุณดูแลตัวเอง และตั้งกรรมการสอบถาม ฐานทำให้หน่วยงานเสียหาย
ดังนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ และการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมโดยเฉพาะในการเรียนการสอน จึงเป็นประเด็นที่ควรนำมาทบทวนและให้ความรู้กันใหม่อีกครั้ง– ( 236 Views)