ยังพบว่ามีบุคคลจำนวนมากที่ละเลยในประเด็น “ลิขสิทธิ์” การเขียนแบบนี้ … รับรองไม่ถูกฟ้องแน่นอน งานห้องสมุด ไม่ถูกฟ้องหรอก ใส่อ้างอิงไว้แล้ว ไม่ถูกฟ้องแน่นอน เราเป็นครู อาจารย์ ใช้ได้ครับ ทั้งนี้หากท่านใดไม่เคยถูกฟ้องฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ย่อมไม่ทราบว่าทำไหมต้องให้ความสำคัญ และอาจจะละเลย รวมทั้งหลายๆ ท่านก็คงคิดว่าไม่เกิดแน่นอนกับตัวเอง แต่ก็อย่างว่านะครับ “อะไรอะไรก็เกิดได้” ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่เข้มข้น และมีการอธิบายประเด็นต่างๆ ที่เคยเป็น “นามธรรม” จนเป็น “รูปธรรม” มากขึ้น ดังรายละเอียดประเด็นน่าสนใจการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม …. สำหรับทุกท่าน ดังนั้นอยากเสนอว่า “อย่าทำอะไรให้เสี่ยงกันเลยครับ” ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกเนื้อหาของผู้อื่นมาประกอบการเขียน Blog การเขียนบทความ การทำผลงานวิชาการ … แล้วจะเขียนอย่างไร ทีมงาน Gotoknow ได้จัดทำเนื้อหา “เขียนอย่างไม่ละเมิดลิขสิทธิ์” ให้ท่านอ่านแล้ว รวมทั้งอาจจะศึกษาเพิ่มเติมจาก Thai Wikipedia ฝากอ่านกันด้วยนะครับ ต่อด้วย Clip Art ภาพถ่าย ภาพวาด ยังไงก็เลี่ยงๆ กันบ้างก็ดีครับ ไม่ว่าจะเป็นการค้นภาพจาก Google แล้ว Save
การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์
ในการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์พบว่าผู้สอนยังใช้ความรู้เดิมที่ตนเองมี อันได้จากอาจารย์ท่านใดสอนหรือแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ยังมีเอกสารที่น่าสนใจอีกหลายฉบับที่ควรศึกษาเพิ่มเติม อันได้แก่ 1) คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม 2) คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับการเรียนการสอน และอยากเสนอให้ห้องสมุด สถาบันการศึกษาจัดทำมุมความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์กันด้วย เพราะยังพบว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนดังเช่น ประเด็นอันสืบเนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ที่น่าห่วงสำหรับการทำผลงานวิชาการ ก็คือ ผู้ทำผลงานวิชาการมักจะเชื่อ (หรือเข้าใจ) ว่าการอ้างอิง จะช่วยป้องกันการละเมิดประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ หรือเชื่อประมาณว่า “ไม่ถูกฟ้อง” จริงๆ แล้วการถูกฟ้องหรือไม่ เป็นเรื่องของผู้ฟ้อง .. หากเค้าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็เป็นเรื่องของเค้านะครับ ดังนั้นไม่เกี่ยวกับการอ้างอิงที่มา .. การอ้างอิงจะเป็นเพียงหนึ่งหลักฐานที่ใช้ในการต่อสู้คดี … ภายใต้การอ้างอิงบนฐานของการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม … หรือการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมที่คลาดเคลื่อน ดังเช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กล่าวถึงความหมายของลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ อายุแห่งการคุ้มครองสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ และการใช้งานโดยธรรม ของบรรณารักษ์และนักสารนิเทศ การใช้งานโดยธรรม ของบรรณารักษ์และนักสารนิเทศ ตามพระราชบัญญัติ มาตรา 34 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ ของการทำซ้ำ งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด เป็นการกระทำอันชอบธรรม