สมาคมห้องสมุดวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (The Association of Research Libraries หรือ ARL) ร่วมกับ American University’s Washington College of Law และ American University’s School of Communication จัดทำ Infographic เกี่ยวกับ Library fair use และ Code of best practices ในเรื่องดังกล่าวสำหรับห้องสมุดวิจัยและห้องสมุดอุดมศึกษา สนใจดาวน์โหลด PDF (ขนาดเต็ม) PDF (พร้อมพิมพ์เผยแพร่/Handout) หรือ รูปภาพ (PNG) – ( 482 Views)
การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์
ในการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์พบว่าผู้สอนยังใช้ความรู้เดิมที่ตนเองมี อันได้จากอาจารย์ท่านใดสอนหรือแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ยังมีเอกสารที่น่าสนใจอีกหลายฉบับที่ควรศึกษาเพิ่มเติม อันได้แก่ 1) คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม 2) คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับการเรียนการสอน และอยากเสนอให้ห้องสมุด สถาบันการศึกษาจัดทำมุมความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์กันด้วย เพราะยังพบว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนดังเช่น ประเด็นอันสืบเนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ที่น่าห่วงสำหรับการทำผลงานวิชาการ ก็คือ ผู้ทำผลงานวิชาการมักจะเชื่อ (หรือเข้าใจ) ว่าการอ้างอิง จะช่วยป้องกันการละเมิดประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ หรือเชื่อประมาณว่า “ไม่ถูกฟ้อง” จริงๆ แล้วการถูกฟ้องหรือไม่ เป็นเรื่องของผู้ฟ้อง .. หากเค้าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็เป็นเรื่องของเค้านะครับ ดังนั้นไม่เกี่ยวกับการอ้างอิงที่มา .. การอ้างอิงจะเป็นเพียงหนึ่งหลักฐานที่ใช้ในการต่อสู้คดี … ภายใต้การอ้างอิงบนฐานของการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม … หรือการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมที่คลาดเคลื่อน ดังเช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กล่าวถึงความหมายของลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ อายุแห่งการคุ้มครองสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ และการใช้งานโดยธรรม ของบรรณารักษ์และนักสารนิเทศ การใช้งานโดยธรรม ของบรรณารักษ์และนักสารนิเทศ ตามพระราชบัญญัติ มาตรา 34 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ ของการทำซ้ำ งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด เป็นการกระทำอันชอบธรรม