magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เทคโนโลยีชีวภาพ ประเภทของฉลาก Carbon Footprint
formats

ประเภทของฉลาก Carbon Footprint

ฉลาก Carbon Footprint (CF) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศใช้เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases; GHG) ของประเทศเป็นไปตามเป้าหมายภายใต้พิธีสารเกียวโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศ สำหรับประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกสำคัญของโลกได้เริ่มศึกษาและพัฒนางานด้าน CF เมื่อปลายปี 2551 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลาก CF 101 รายการ โดยกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารและบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม

ซึ่งนักวิจัยจากหน่วยศึกษานโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ หน่วยศึกษานโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบด้านต่างๆ ของ Carbon Footprint พบว่า หากพิจารณาตามประเภทสินค้า สามารถแบ่งฉลาก Carbon Footprint ที่มีอยู่ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

- ฉลาก Carbon Footprint สำหรับผลิตภัณฑ์ทั่วไป เป็นฉลากที่ใช้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทุกชนิด เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุตกแต่งบ้าน วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม เป็นต้น พบในประเทศสหราชอาณาจักร เยอรมันนี สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐมเอริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และไทย

- ฉลาก Carbon Footprint สำหรับผลิตภัณฑ์เฉพาะ เป็นฉลากที่พัฒนาขึ้นสำหรับใช้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อประชาสัมพันธ์และทำการตลาดผลิตภัณฑ์ ซึ่งป็นสินค้าหลักขององค์กรหรือสินค้าที่ภาครัฐต้องการกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการคาร์บอนต่ำเพิ่มขึ้น ขณะนี้มีการพัฒนาฉลาก Carbon Footprint ประเภทนี้ใน 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร พบในประเทศฝรั่งเศส สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบในประเทศไต้หวัน และผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง พบในสหภาพยุโรป โดยมีการศึกษานำร่องในประเทศเยอรมันนี เนเธอร์แลนด์และมอลตา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ที่มา :

ยุวนันท์ สินติทวีฤกษ์. (2554).ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับโอกาสของไทยในการผลิตและส่งออก สินค้าเกษตรและอาหารคาร์บอนต่ำ. ค้นข้อมูลวันที่ 3 มีนาคม 2557 จาก http://www.biotec.or.th/TH/images/stories/policy/Article/ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับโอกาสของไทยในการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารคาร์บอนต่ำ.pdf

ยุวนันท์ สินติทวีฤกษ์, กุลวรางค์ สุวรรณศรี, และกฤษดา บำรุงวงศ์. (ม.ป.ป.) .Carbon footprint มาตรการสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของภาคการส่งออกไทย. ค้นข้อมูลวันที่ 3 มีนาคม 2557 จาก http://www.biotec.or.th/th/images/pdf/article/Carbon%20footprint%20มาตรการสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้.pdf

 – ( 115 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven + = 14

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>