ฉลาก Carbon Footprint (CF) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศใช้เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases; GHG) ของประเทศเป็นไปตามเป้าหมายภายใต้พิธีสารเกียวโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศ สำหรับประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกสำคัญของโลกได้เริ่มศึกษาและพัฒนางานด้าน CF เมื่อปลายปี 2551 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลาก CF 101 รายการ โดยกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารและบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งนักวิจัยจากหน่วยศึกษานโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ หน่วยศึกษานโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบด้านต่างๆ ของ Carbon Footprint พบว่า หากพิจารณาตามประเภทสินค้า สามารถแบ่งฉลาก Carbon Footprint ที่มีอยู่ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ – ( 115 Views)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ
การส่งเสริมการใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของผลิตภัณฑ์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้พลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าและการทำลายสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่นๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิต ภาคบริการในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม รวมถึงภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภค– ( 16 Views)