magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การประชุมวิชาการประจำปี การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors)
formats

การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors)

การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 10 วันที่ 2 เมษายน 2557

ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันการตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ท าให้สามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้สะดวกขึ้น สามารถที่จะสกัดพฤติกรรมการคัดลอกผลงานของคนอื่นส่งผลให้การผลิตผลงานทางวิชาการในระดับต่างๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยได้มีการนำโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา และมีแผนจะนำไปใช้กับการพิจารณาการให้ทุนวิจัยการพิจารณาผลงานทางวิชาการ

การสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้พัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานและความคล้ายกันของเอกสาร  3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เทคโนโลโยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

โดยความสามารถของแต่ละโปรแกรมมีจุดเด่น ความเหมือนแตกต่างกันไป รายละเอียด ดังนี้

โปรแกรมการตรวจสอบการคล้ายกันของเอกสาร Anti-Kobpae เข้าถึงได้ที่ http://antikobpae.applebred.net


 คุณสมบัติ

  • ใช้งานกับภาษาไทยได้ดี
  • รองรับไฟล์ได้หลายรูปแบบ (.doc, .odt, .docx, .txt, .pdf)
  • เชื่อมต่อกับระบบ LDAP เพื่อเข้าสู่ระบบเช่นเดียวกับการเข้าระบบสารสนเทศนิสิต/นักศึกษา
  • จัดกลุ่มผู้ใช้ได้
  • สร้าง Folder ของตนเองได้/li>
  • สร้างความเป็นส่วนตัว (แบ่งปันข้อมูลหรือไม่ก็ได้)
  • จัดเก็บข้อความบางส่วนได้
  • กำหนดจำนวนคำที่ต้องการตรวจสอบได้
  • ตรวจสอบเฉพาะเอกสารนำเข้าได้ (Recursive Checking)
  • แสดงผลเอกสารที่คล้ายกันพร้อม Hilight ข้อความที่คล้ายกัน

ปัจจุบันได้นำร่องใช้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีแผนที่จะขยายผลใช้กับ มหาวิทยาลัยวิจัย 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยสงขลา

โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ อักขราวิสุทธิ์ เข้าถึงได้ที่ http://www.akarawisut.com

ระบบอักขราวิสุทธิ์ เป็นระบบตรวจจับการลักลอกวิทยานิพนธ์ โดยตัวระบบได้พัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันการลักลอกงานเอกสารอันมีลิขสิทธิ์ในฐานข้อมูล ขณะนี้ตัวระบบรองรับฐานข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจะมีฐานข้อมูลเพิ่มเติมในปีพ.ศ. 2557 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้สิทธิ์ในการใช้งานกับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานที่สนใจสามารถใช้บริการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับมหาวิทยาลัยอื่นที่สนใจ

คุณสมบัติ

  • มีรายงานแสดงส่วนคล้าย: ระบบจะแสดงเปอร์เซ็นต์ความคล้ายระหว่างเอกสารที่ต้องการตรวจสอบกับเอกสารที่เจอในระบบ
  • สามารถตรวจสอบได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ: ระบบถูกออกแบบให้ตรวจภาษาไทยได้ดีกว่าโปรแกรมอื่น แต่อย่างไรก็ตามระบบสามารถตรวจสอบภาษาอังกฤษได้ดีเทียบเท่ากัน
  • รองรับการดัดแปลงของข้อวาม: สามารถตรวจประโยคที่มีการแก้ไขบางส่วน เช่น เพิ่มคำ ลดคำ หรือเปลี่ยนคำได้
  • ตรวจสอบเอกสารกับฐานข้อมูลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ระบบอักขราวิสุทธิ์เชื่อมกับฐานข้อมูลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำให้สามารถตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์ได้มีความครอบคลุม
  • รองรับรูปแบบไฟล์ได้หลายรูปแบบ: ระบบสามารถรองรับไฟล์ PDF และ  Microsoft Word ได้
  • รวดเร็ว: การตรวจสอบเอกสารมีความรวดเร็ว เอกสารที่ใหญ่มาก ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที

ระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ผลงานวิชาการและวิทยานิพนธ์ด้วย CopyCat และ MyCat เข้าถึงได้ที่ http://copy-cat.in.th
CopyCat (อ่านว่า ก๊อปปี้-แคท) ย่อมาจาก Copyright, Academic Work and Thesis Checking System เป็นระบบตรวจสอบการคัดลอกและลอกเลียนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ เช่น วิทยานิพนธ์ ข้อเสนอโครงการ ผลงานวิชาการ เว็บเพจ เป็นต้น สามารถตรวจสอบความคล้ายกันของเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถตรวจสอบกับเอกสารที่จัดเก็บไว้ในคลังข้อมูลหรือเอกสารออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต และแสดงผลเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ความคล้ายกันของเอกสาร พร้อมทั้งระบุแหล่งข้อมูลที่พบและทำแถบสีข้อความในส่วนที่คล้ายกัน

คุณสมบัติ

  • Multi-File format support: รองรับการทำงานกับเอกสารหลายรูปแบบ เช่น Plain Text (txt), Microsoft Word Document (doc, docx), Portable Document Format (pdf) และ Open Office Writer (odt)
  • Thai-English language support: ตรวจสอบเอกสารภาษาไทยและอังกฤษ
  • Copy and Paste:ตรวจสอบเอกสารที่มาจากการคัดลอกและวางได้
  • Modified document checking: ตรวจสอบเอกสารที่ถูกเปลี่ยนแปลงบางส่วนได้ เช่น ลบคำ เพิ่มคำ แทนที่คำและการสลับประโยค
  • Internet checking: ตรวจสอบกับหน้าเว็บบนอินเทอร์เน็ตได้
  • Database checking: ตรวจสอบเอกสารกับคลังเอกสารที่สร้างขึ้นเองได้
  • Document highlighting: แสดงผลการตรวจสอบเป็นแถบสีข้อความที่คล้ายกันพร้อมทั้งเปอร์เซ็นต์ความคล้าย
  • Statistical report: ออกรายงานผลสถิติความคล้ายและสรุปผลการตรวจสอบ

จุดเด่นของระบบอยู่ที่ความสามารถในการตัดแบ่งคำภาษาไทย โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ที่มีประสิทธิภาพและความถูกต้องสูง รวมทั้งเทคนิคการเลือกเฉพาะข้อความที่สำคัญอย่างชาญฉลาด เพื่อลดเวลาในการตรวจเอกสาร– ( 809 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 × = forty two

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>