เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) กำลังเป็นโรคที่วงการแพทย์และบุคคลทั่วไปให้ความสนใจมาก เพราะเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ (ประมาณ 50 ปีขึ้นไป) ร่างกายขาดแคลเซียม (Ca) คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน สตรีวัยหมดระดูหรือวัยหมดประจำเดือน รวมทั้งสตรีที่ได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ยังพบร่วมในโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบต่อมไร้ท่อบางชนิด โรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์ หรืออาจเกิดจากการทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ เป็นต้น ดังนั้นจะพอมีวิธีไหนที่จะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ หลายคนบอกว่าต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และต้องออกกำลังกายเป็นประจำ แต่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังกายไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามล่ะ ทางวิทยาลัยแพทย์ยอร์เยียสหรัฐฯ รายงานว่า การสั่นเขย่าตัวทั้งตัวทุกวัน อาจจะช่วยลดการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกซึ่งเป็นไปตามวัยลงได้ จริงหรือไม่
นักวิจัยของวิทยาลัยได้ทดลองกับหนูทดลอง ด้วยการจัดให้หนูตัวผู้อายุ 18 เดือน ซึ่งเทียบเท่ากับคนวัย 55-65 ปี เครื่องเขย่าทุกวันนานวันละ 30 นาที ปรากฏผลว่าสามารถป้องกันการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูในแต่ละปี ซึ่งเป็นเหตุให้กระดูกหัก พิการ และเสียชีวิตลงได้
นอกจากนั้น การเขย่าทำให้ข้อต่อสะโพก กระดูกโคนขา กระดูกท่อนยาวของขา มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้้น กระดูกสะโพกหักเป็นสาเหตุของความพิการ และการเสียชีวิในหมู่ผู้สูงอายุใหญ่อย่างหนึ่ง
ผลการค้นพบหนนี้ นับเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันคุณประโยชน์ของเทคนิคเก่าแก่ มาตั้งแต่ยุคทศวรรษ ปี พ.ศ.2423 นี้ยิ่งขึ้น ซึ่งโผล่มาให้เห็นใช้กันอยู่ตามบ้าน โรงพลศึกษาและคลินิกฟิ้นฟูสุขภาพมากขึ้น
นักวิทยาศาสตร์แสดงความเห็นว่า การเคลื่อนไหวที่เป็นจังหวะ ที่สร้างความรู้สึกแบบการสั่นไหวของโทรศัพท์มือถือ ในขนาดที่ใหญ่โตกว่ากันมาก มีส่วนทำให้เซลล์ได้ออกกำลังทำให้ทำงานดีขึ้น การสั่นไหวไปกระตุ้นให้แกนนิวเคลียสของเซลล์ได้เคลื่อนไหว
โรคกระดูกพรุน เป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุ และสตรีวัยหมดระดู หากได้รับการตรวจวินิจฉัยจะสามารถลดโอกาสเสี่ยงและป้องกันการเกิดกระดูกหักได้ ในผู้สูงอายุเองอาจชลอหรือยับยั้งการสูญเสียกระดูกได้ ด้วยการรับประทานแคลเซียมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการรักษาด้วยยาเมื่อเกิดโรคกระดูกพรุนแล้วการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกควรพิจารณาตรวจในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเพราะเป็นเป้าหมายของการตรวจคือการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้การตรวจจะยังให้ประโยชน์ในการประเมินผลการรักษา โดยเปรียบเทียบความหนาแน่นของกระดูกก่อนและระหว่างการรับการรักษา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของกระดูกจะเป็นไปอย่างช้าๆ ดังนั้น การตรวจซ้ำเพื่อประเมินผลการรักษา ควรจะกระทำ1 ปี ภายหลังให้การรักษา หรืออย่างน้อย 6 เดือน หลังให้การรักษา
รายการอ้างอิง :
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=181. (วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2555 2555).
จันทร์เต็ม เก่งสกุล. โรคกระดูกพรุน และ…การตรวจวัดความหนาแน่นกระดูก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.vichaiyut.co.th/jul/27_01-2547/27_01-2547_p31-33.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2555 2555).
สั่นเขย่าตัวทุกวันเป็นประโยชน์ ป้องกันความหนาแน่นของกระดูก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thairath.co.th/content/edu/302701. (วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2555 2555).
Batty. การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY) วัดไปทำไม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/07/15/entry-2. (วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2555 2555).
– ( 223 Views)