magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ “ไซน์ปาร์ค เฟส 2″ เปิดแล้ว ดัน 150 เอกชน ปักธง “ธุรกิจอาหาร-การแพทย์”
formats

“ไซน์ปาร์ค เฟส 2″ เปิดแล้ว ดัน 150 เอกชน ปักธง “ธุรกิจอาหาร-การแพทย์”

ธุรกิจที่มาจากงานวิจัยและพัฒนา เป็นอีกโมเดลของธุรกิจยุคใหม่ ไม่จำเป็นต้องเริ่มด้วยตัวเงินจำนวนมาก แต่เริ่มต้นที่องค์ความรู้ที่หลากหลาย จนกลายเป็นธุรกิจที่ตอบสนองกับความต้องการของสังคมในอนาคต

อุทยานวิทยาศาสตร์ เฟส 2 เป็นพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการที่เน้นการวิจัยและพัฒนา และกำลังจะเริ่มเปิดดำเนินการในกลางเดือนกรกฎาคม 2556 นี้
สำหรับอุทยานวิทยาศาสตร์ เฟส 2 ประกอบไปด้วย 4 ทาวเวอร์ มีพื้นที่ทั้งหมด 20,000 ตารางเมตร จะเริ่มเปิดให้บริการ 2 ทาวเวอร์ก่อน ในเดือนกรกฎาคม 2556 อาคารแรก แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาดำเนินการ อาคาร 2 เป็นพื้นที่เปิดให้เอกชนเข้าไปใช้บริการ โดยจะเปิดรับเอกชน 150 ราย เช่าพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร จนถึง 1,000 ตารางเมตร ตารางเมตรละ 400 บาท มีระยะเวลาสัญญาเช่า 3 ปี

ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าของเฟส 2 เกือบสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว เหลือเฉพาะการเตรียมความพร้อม ซึ่งภาคเอกชนสามารถติดต่อเข้าไปใช้พื้นที่ได้ โดยทางอุทยานวิทยาศาสตร์จะพิจารณาจากการทำแผนการทำวิจัยวัตถุประสงค์ของบริษัท

ดร.เจนกฤษณ์กล่าวต่อว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ระยะ 2 เป็นการต่อยอดจากระยะแรก ทั้งพื้นที่และการพัฒนา โดยในเฟส 2 มีเป้าหมายที่จะเน้นการพัฒนาใน 2 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมอาหาร และการแพทย์ เพื่อให้งานวิจัยเกิดการต่อ ยอดและเกิดห่วงโซ่ซัพพลายเชนมากขึ้น

“ตอนนี้เราเริ่มชักชวนภาคเอกชนให้เข้ามาใช้บริการ และเริ่มการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ หน่วยบ่มเพาะธุรกิจ สวทช. สสว. สกว. หน่วยบ่มเพาะจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 60 แห่ง ไซน์ปาร์ค นิคมอมตะซิตี้ และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ หรือ spa ที่เป็นหน่วยงานให้การส่งเสริมอุทยานวิทยาศาสตร์ ฯลฯ”

ดร.เจนกฤษณ์กล่าวต่อว่า “อุทยานมีความพร้อมในทุกด้าน ตั้งแต่การให้บริการด้านการวิจัย วิเคราะห์ ทดสอบ ข้อมูล เครื่องใช้ ประกอบกับพื้นที่ที่เอกชนจะเข้ามาใช้นั้นอยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรม สถานศึกษา มหาวิทยาลัย 10 กว่าแห่ง มีโรงงานรอบ ๆ มีรายได้มหาศาล เป็นแหล่งคน แหล่งทำวิจัย และแหล่งโรงงาน ซึ่งสามารถที่จะเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ได้”

โดยเป้าหมายของการดำเนินการในระยะสอง ตั้งแต่ปี 2557-2559 หลังจากที่เอกชนเข้ามาดำเนินการและเกิดผลในเชิงพาณิชย์แล้ว คาดว่าจะสร้างงานวิจัยที่เอกชนสามารถนำไปต่อยอดไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปี และผลักดันให้เกิดการลงทุน 9 พันล้านบาท รวมถึงเกิดธุรกิจใหม่ ๆ ไม่ต่ำกว่า 100 ราย

จากการประชุม IASP Asia 2012 ของสมาคมอุทยานวิทยาศาสตร์นานาชาติ (IASP) นายแชล ฮะคาน นาร์เฟล (Kjell Hakan Narfelt) หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารยุทธศาสตร์ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ สวีเดน แนะนำผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างธุรกิจจากนวัตกรรมว่าการเปิดรับความรู้ใหม่ ๆ จากทางอินเทอร์เน็ตสามารถพบนักวิจัยกว่า 7,500 คน และมีถึง 1,200 คนที่มีความสามารถมาก โดยเน้นว่าการที่บริษัทขนาดใหญ่นำเงินไปลงให้กับการวิจัยเรื่องหนึ่งเรื่องใดและไม่เปิดรับความรู้ทางอื่นเป็นวิธีที่ล้าสมัยในปัจจุบัน

ขณะที่ผู้ประกอบการรายกลางรายเล็กนั้นต้องหาคู่คิด เพราะงานที่เป็นนวัตกรรม ผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะจัดการเรื่องปัญหาต่าง ๆ ได้ทั้งหมด เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาทางการเมือง เมื่อมีการย้ายการผลิตออกไปนอกประเทศ

นายแชลแนะว่า กรณีที่เบลเยียมที่ทำสำเร็จมาแล้ว อย่างเช่น เจ้าของรีสอร์ตจับมือกับนักวิจัย สถาปนิกออกแบบบ้านต้นไม้ ทำบ้านที่ไม่มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผลที่ออกมาคือบ้านต้นไม้ดีไซน์ต่าง ๆ ซึ่งถูกเผยแพร่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต มีคนสนใจจะขอเข้าพักถึง 400 คน ซึ่งการเกิดของธุรกิจที่ต้องการนวัตกรรมอาจจะไม่ต้องใหม่ในโลก แต่เน้นให้คนใช้มีความสุขเพิ่มขึ้น และต้องเกิดจากความร่วมมือของหลายฝ่ายและแบบ win-win ด้วย

 

ที่มา : “ไซน์ปาร์ค เฟส 2″ เปิดแล้ว ดัน 150 เอกชน ปักธง “ธุรกิจอาหาร-การแพทย์”. ค้นข้อมูลวันที่ 6 ธันวาคม 2555. จาก http://www.prachachat.net– ( 137 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


five + = 11

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>