หัวข้อบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการ สวทช. NAC 2013 ก็คือ การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน (The ASEAN Machine Translation Project) อันเป็นหนึ่งโครงการของคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology- COST) โดยมีทีมนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เป็นผู้นำทีมการพัฒนา อันมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกระบวนการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ระหว่างชาติอาเซียน โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หากผลงานเป็นไปตามเป้าหมาย ก็คงจะทำให้ทุกคนในอาเซียนสามารถสื่อสารได้สะดวกยิ่งขึ้น– ( 83 Views)
ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมุมมองแต่ละภาคส่วน
หัวข้อสัมมนาในงานประชุมวิชาการ สวทช. NAC 2013 ที่ได้รับความสนใจมากหัวข้อหนึ่งก็คือ “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมุมมองแต่ละภาคส่วน” อันเป็นหัวข้อเสวนาที่ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ คุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการ BOI และ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. ประเด็นสำคัญที่ได้มีการพูดถึงในฐานะผู้แทนของภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย มีหลากหลายประเด็น ดังเช่นคุณกานต์ ได้ให้แนวคิดเดียวกับการพัฒนาธุรกิจว่าจะต้องนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่กระบวนการวิจัย พัฒนา โดย SCG ได้ทุ่มงบประมาณจำนวนมากเพื่อการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า HVA Brand (High Value Added Brand) หรือสินค้าและบริการที่เป็นนวัตกรรมก้าวหน้าที่เกิดจากกระบวนการสร้างระบบ Creative Management อย่างครบวงจรการบริหารจัดการ พร้อมๆ กับการส่งเสริมเรื่อง Creative Idea กับบุคลากรในองค์กร จนก่อให้เกิดกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมก้าวหน้า และมีบทบาทสำคัญที่ทำให้วันนี้ผลิตภัณฑ์หลายประเภทของเครือซิเมนต์ไทย