magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by boonlert (Page 3)
formats

ระบบจำลองการขับรถไฟ – การรถไฟไทย

ไม่น่าเชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ของรถไฟไทยของเราจะมีเครื่องมือประกอบการเรียนการสอนที่น่าทึ่ง เพราะเป็นคนหนึ่งที่ใช้บริการรถไฟมาตั้งแต่เด็กภายใต้คำบ่นตลอดเวลา … รถไฟไม่สะอาด โดยเฉพาะห้องน้ำ รถไฟเสียเวลา แต่ก็ต้องมานั่งเป็น 1 ในกรรมการวิชาการของโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศไทย จากการไปนั่งช่วยโครงการฯ จึงได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกิจการที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของรถไฟ หนึ่งในนั้นที่เห็นแล้วประทับใจก็คือ “ระบบจำลองการขับรถไฟ” หรือ Training Simulator ที่ JICA ได้มาลงทุนจัดทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 และยังคงใช้มาจนถึงวันนี้ โดยห้องระบบจำลองการขับรถไฟตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ บริเวณสวนรถไฟ จตุจักร กทม. ห้องจำลองการขับรถแบ่งเป็น 2 ห้อง โดยห้องแรกฝึกรถไฟแบบฝึกโต้ตอบกับสื่อทั้งแบบกดปุ่ม และแบบตอบคำถามผ่านจอภาพ ระบบจำลองการขับรถไฟแบบกดปุ่ม – ( 169 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การใช้เลขไทยในการเขียนเอกสารเว็บ

เอกสารเว็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เนื้อหาออกสู่สาธารณะผ่านเทคโนโลยีเว็บและอินเทอร์เน็ต ซึ่งเอกสารเว็บทั้งหมดจะถูกเครื่องมือบางอย่างในกลุ่ม Search Engine วิเคราะห์ประเมิน “ค่าดัชนี” เพื่อใช้บริการสืบค้นกับผู้ใช้ อีกทั้งพฤติกรรมของผู้ใช้ที่สืบค้น ก็จะเขียนคำค้นในรูปแบบที่สั้น กระชับ และใช้ความเร็วในการเขียนมากกว่าการให้ความสำคัญกับรูปแบบ หรือไวยากรณ์ เช่น ชื่อสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ก็มักจะค้นด้วยคำว่า “สวทช” มากกว่า “สวทช.” หรือชื่อเต็ม เช่นเดียวกับชื่อมหาวิทยาลัยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็มักจะค้นด้วยคำว่า “จุฬา” หรือ “chula” เป็นต้น รวมทั้งการค้นด้วยตัวเลขไทย เทียบจะไม่มีให้เห็น ด้วยเหตุผลข้างต้น การนำเสนอเนื้อหาในเอกสาร จึงควรให้ความสำคัญกับ Search Engine Robot และพฤติกรรมผู้ใช้ นอกจากจะต้องคำนึงถึงเทคนิคในการเพิ่ม “ค่าดัชนี” แล้ว การพิมพ์เนื้อหาโดยการใช้ตัวเลขไทย (๐ ๑ ๒ ๓ … ๙) จึงควรละ หันมาใช้ตัวเลขอารบิค หรือปุ่ม Numbering ตามค่ากำหนดของ Editor จะเหมาะสมครับ หลายๆ ท่านอาจจะแย้งว่าก็มีประกาศ ครม.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การย่อหน้ากับเอกสารเว็บ

ถือเป็นการปฏิบัติที่สืบทอดกันมานานแล้ว ในการพิมพ์งานใดๆ มักจะมีการย่อหน้าบรรทัดแรก ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สืบเนื่องมาตั้งแต่การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด โดยการย่อหน้าบรรทัดมักจะกำหนดด้วย “การเคาะคานเว้นวรรค จำนวน xxx เคาะ” และถูกปรับเป็นย่อหน้า 0.5 นิ้ว หรือ 2.5 เซนติเมตร เมื่อการพิมพ์ปรับไปใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processor) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ “ผู้อ่าน” อ่านได้สะดวก ทราบว่าเนื้อหาขึ้นพารากราฟใหม่แล้ว อย่างไรก็ดี เมื่อมาถึงยุคเอกสารเว็บ การย่อหน้ากลับเป็นการสร้างปัญหาให้กับผู้อ่านได้มาก เพราะการพิมพ์ในเอกสารเว็บไม่สามารถกำหนดระยะย่อหน้าที่แน่นอนได้ เพราะฟอนต์ที่ใช้มีหน่วยจากค่าความสูง ไม่ใช่ความกว้าง ดังนั้นการย่อหน้าโดยเคาะ 5 เคาะ 8 เคาะ จึงได้ระยะที่ไม่เท่ากันในแต่ละฟอนต์ แต่ละรูปแบบของฟอนต์ วิธีการพิมพ์เนื้อหาสำหรับเอกสารเว็บ จึงไม่ควรย่อหน้า (โดยเฉพาะการย่อหน้าด้วยการเคาะ) กรณีที่โปรแกรมสร้างเอกสารเว็บ หรือนำเสนอเอกสารเว็บ ไม่ได้กำหนดค่าโปรแกรมควบคุมการย่อหน้าไว้อัตโนมัติ ให้พิมพ์ตัวอักษรแรกของบรรทัดแรกชิดขอบพื้นที่ Editor เลยครับ ไม่ต้องมาเคาะเอง และพิมพ์ไปเรื่อยๆ จนโปรแกรมตัดคำอัตโนมัติ ไม่ต้องไปกดปุ่ม Enter เพื่อตัดคำเอง ทั้งนี้จะกดปุ่ม Enter เมื่อจบพารากราฟและต้องการขึ้นพารากราฟใหม่เท่านั้น ลองทบทวนวิธีการพิมพ์งานของท่านกันดูนะครับ– (

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การคัดลอก (Copy) เนื้อหามาใส่ในเว็บที่ถูกต้อง

การเผยแพร่เนื้อหาผ่านเว็บได้รับการตอบรับอย่างมาก โดยรูปแบบหนึ่งของการเผยแพร่เนื้อหาผ่านเว็บ คือการนำเนื้อหาที่มีอยู่แล้ว ในรูปของเอกสารงานพิมพ์ด้วย Word หรือจากเว็บอื่นๆ มาวาง (จะเป็นการเรียบเรียงใหม่หรือไม่ ไม่แน่ใจนะครับ) หรือการใช้คำสั่ง Copy / Paste นั่นเอง บ่อยครั้งที่พบว่าผู้นำเข้าเนื้อหา มักจะ Copy จากต้นแหล่ง แล้วนำมา Paste ตรงผ่าน Editor ของ CMS ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าว เป็นการทำงานที่ผิดหลักการ ส่งผลให้การแสดงผลเนื้อหาแตกต่างไปจากโครงสร้างของเว็บ (เพราะการแสดงผลถูกควบคุมด้วย Format ที่มาจากโปรแกรมต้นทาง เช่น Word) วิธีการ Copy/Paste เนื้อหาจากแหล่งอื่นๆ มาวางในเอกสารเว็บที่ถูกต้องคือ ต้อง Copy แล้วนำไป Paste ผ่าน NotePad ก่อน เพื่อตัด Special Character ออกให้หมด จากนั้นจึง Copy จาก NotePad มาวางใน Editor ของ CMS หากท่านคิดว่า

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กฏระเบียบสำนักงาน

จากหลักสูตรโครงการเพิ่มพูนขีดความสามารถและเติมพลังในการทำงานสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ประจำปี 2556 ที่จัดให้บุคลากรในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง สวทช. นั้น ดร.หริส สูตะบุตร ได้กรุณาให้คำแนะนำแนวปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารไว้หลายข้อ มีสองข้อที่เกี่ยวข้องกัน คือ กฎระเบียบสำนักงาน คือ เรื่องระเบียบ อย่าเชื่อความจำ ต้องรู้หลักการของกฏระเบียบสำนักงาน นับว่าเป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก เพราะพบว่าหลายๆ ครั้งที่คนที่ก้าวมาเป็นผู้บริหาร มักจะละเลยเพราะในระดับปฏิบัติการอาจจะไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มาก แต่ในฐานะผู้บริหารคงไม่ได้เสียแล้ว อย่าลืมว่าองค์กรที่อยู่ ณ ตอนนี้เป็นองค์กรที่มีกรอบระเบียบที่ชัดเจน การขึ้นมาตำแหน่งบริหาร คือ การได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูง (ทั้งด้วยความไว้วางใจ ความเชื่อถือ) ให้มาช่วยกำกับดูแลสายงานตามที่มอบหมาย … ไม่ใช่การให้มาควบคุม (ไม่ได้ก้าวมาเป็นเจ้าสัวของบริษัทส่วนตัวที่จะทำไรก็ได้ตามอำเภอใจ) ผู้บริหารที่มารับตำแหน่ง จึงควรใส่ใจกฎระเบียบต่างๆ ให้มา รู้ที่มา หลักการ การปฏิบัติ การใช้งาน สำคัญคือ อย่าเชื่อว่าเคยรู้มาอย่างนั้น อย่างนี้ หากมีประเด็นที่ต้องดำเนินการ ก็ควรกลับไปเปิดดูระเบียบและศึกษาให้ถ่องแท้ก่อน การที่ผู้ก้าวมาเป็นผู้บริหาร แล้วลืมตัว “คิดว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จ” ก็เพราะลืมไปว่า “องค์กรมีกฎระเบียบ” อยู่ก่อนแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้จริง ก็คงเกิดความวุ่นวายแน่นอน … ฝากไว้กับน้องๆ ที่จะต้องเติบใหญ่ให้ลองศึกษา

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มาปรับเปลี่ยนวิธีการพิมพ์งานด้วย MS Word กันอีกนิดดีไหมครับ

Published on April 30, 2013 by in ICT Stories

โปรแกรม MS Word นับเป็นโปรแกรมพื้นฐานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคน หลายคนก็เรียนตั้งแต่ชั้นประถม บางคนก็ใช้ MS Word มากกว่า 10 ปี แต่ไม่น่าเชื่อว่า “แทบจะทุกคน” ที่รู้จัก ใช้ MS Word ผิดวิธี หรือไม่ก็ใช้ไม่ถูกต้องกับหลักการพิมพ์งาน รวมทั้งหลายๆ ฟังก์ชันที่ MS Word เตรียมให้แต่ไม่ได้ใช้ ยังไงลองหันมาศึกษาวิธีการใช้ MS Word ที่ถูกต้องกันอีกทีดีไหมครับ คู่มือ Microsoft Office Word 2007 คู่มือการใช้งาน Microsoft Word 2010 ฉบับพื้นฐาน มาตรฐานงานพิมพ์ด้วย Microsoft Word คู่มือการสร้างเอกสารงานพิมพ์ทางวิชาการด้วย Microsoft Word การใช้ปุ่ม Enter ใน Word Processor ให้ความสำคัญกับแบบตัวอักษร (Font) กันอีกรอบ การกำหนดค่า Default Font

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Digital Public Library of America ปะทะ Europeana

หากท่านต้องการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดดิจิทัลขนาดใหญ่ของโลก ขอแนะนำให้เริ่มจากเว็บไซต์ Digital Public Library of America และเว็บไซต์ Europeana โดยทั้งสองเว็บนับเป็นต้นแบบห้องสมุดประชาชนที่เปิดบริการในรูปดิจิทัลขนาดใหญ่ ที่เกิดจากความร่วมมือของแหล่งข้อมูลชั้นนำทั้งจากอเมริกาและยุโรป ให้บริการสืบค้นฟรี รวมทั้งทรัพยากรหลายชิ้นที่สืบค้นได้มีสิทธิ์การใช้งานแบบ CreativeCommons หรือไม่ก็ Public Domain – ( 98 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

องค์กรธรรมภิบาลของ สวทช.

สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความโปร่งใสในการบริหารประเทศ มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การร่วมรับรู้ ร่วมคิดไปจนถึงการร่วมดำเนินการ ร่วมตรวจสอบ อย่างกว้างขวางและครอบคลุมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติลงไปถึงระดับท้องถิ่นชุมชน ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สวทช. ในฐานะองค์กรของรัฐองค์กรหนึ่ง จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อก้าวเป็น “องค์กรธรรมาภิบาล” ไว้เช่นกัน ดังรายละเอียด องค์กรจะมีธรรมาภิบาลได้นั้น ต้องอาศัย การมีส่วนร่วมของพนักงาน สร้างความโปร่งใส และยุติธรรม สร้างขวัญและกำลังใจ รวมทั้งบรรยากาศการทำงาน ทำให้พนักงานพร้อมที่จะทุ่มเทเวลา กำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญา ทำงานให้กับสำนักงานอย่างเต็มที่ เพราะเห็นชัดเจนว่าตนเองจะสามารถมีบทบาทในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับองค์กรได้ – ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่องความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายในส่วนของคุณปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดังนี้ ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบ ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า โดยวิทยากรเน้นบรรยายเรื่องเครื่องหมายการค้า  ว่าจะปกป้องและขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าอย่างไรในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้การเข้าร่วม AEC วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าให้ดีขึ้น ซึ่งพื้นฐานอยู่ที่การวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งโดยภาพรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 4 ข้อ คือ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คำแนะนำดีๆๆ จาก ดร.หริส สูตะบุตร

คำแนะนำดีๆๆ จาก ดร.หริส สูตะบุตร จากการบรรยายให้กับบุคลากร สวทช. ในโครงการเพิ่มพูนขีดความสามารถและเติมพลังในการทำงานสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ประจำปี 2556 ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี เรื่องระเบียบ อย่าเชื่อความจำ อย่าคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว เร็วเกินไป หรือกัดไม่ปล่อย อย่าดุใครโดยไม่จำเป็น ให้ผู้ที่ถูกสั่งให้ทำงาน เข้าใจเหตุผลที่ต้องทำ และเห็นด้วยว่าต้องทำ ช่วยคนอื่นทุกครั้งที่มีโอกาส และให้ความอบอุ่น เรื่องที่เกี่ยวกับคนต้องยอมให้เวลา ปัญหาเล็กจะได้ไม่กลายเป็นปัญหาใหญ่ คิดถึงส่วนรวมก่อนเสมอ ต้องถ่องแท้ ได้ยินอะไรเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน อย่าเพิ่งเชื่อ หาข้อมูลให้ชัดเจนก่อน ขอให้ใช้ระบบบวกและลบสะสม การจะพูดจะเขียนต้องชัดเจน เข้าใจได้ง่าย อย่าพูดครึ่งจริงครึ่งเท็จ อย่าทึกทัก การแทงหนังสือต้องสื่อความหมายชัดเจน และมีข้อมูลพอให้ผู้รับหนังสือทำงานต่อได้ ต้องรู้หลักการของกฏระเบียบสำนักงาน ต้องรู้งานของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาระดับรองลงไปดีพอ เพื่อจะได้ให้คำแนะนำได้อย่างรวดเร็ว และต้องร่วมรับผิดชอบเมื่อมีปัญหา เมื่อลูกน้องมาหารือ เรื่องงานของเขา เช่น งานกฏหมาย งานพัส ต้องไม่ตอบกลับว่า งานของคุณ คุณน่าจะรู้ดี มาถามผมทำไม พยายามรับคนดี คนเก่งเข้ามาทำงาน ควรเลือกคนที่มีศักยภาพที่จะเก่งกว่าเราเข้าทำงาน Succession plan เป็นส่วนหนึ่งของานบริหาร เมื่อจะแก้ปัญหาต้องคิดทั้งระบบ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments