“คำว่า” Services” แยกอักษรออกเป็นความหมายดังนี้ S = Smile แปลว่า ยิ้มแย้ม E = enthusiasm แปลว่า ความกระตืนรือร้น R = rapidness แปลว่า ความรวดเร็ว ครบถ้วน มีคุณภาพ V= value แปลว่า มีคุณค่า I = impression แปลว่า ความประทับใจ C= courtesy แปลว่า มีความสุขภาพอ่อนโยน E = endurance แปลว่า ความอดทน เก็บอารมณ์ S = Satisfaction แปลว่า ความพึงพอใจ ข้อคิดในการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ ต้องสนใจและใส่ใจความต้องการของผู้ใช้บริการ ต้องสร้างสิ่งดี แปลกและแตกต่างให้ดีขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ต้องป้องกันปัญหาขาดตกบกพร่องจากการให้บริการ ต้องใช้กริยา
บักทึกปกขาวทีวีรักษ์โลก
งานมหกรรม “ทีวีรักษ์โลก 360 องศา Save the world EXPO 2013” ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2556 ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด “Learn to live in the world of change” เพื่อให้ประชาชนคนไทยเรียนรู้ถึงวิกฤตการด้านสิ่งแวดล้อมเข้าใจว่าปัญหาเกิดจากเหตุปัจจัยใดบ้างและสามารถทำได้ คือนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและยั่งยืน เพื่อเป็นสัญลักษณ์การขับเคลื่อนสังคมและประเทศ ในการหาแนวทางการอยู่รอดของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน บันทึกทีวีรักษ์โลก 360 องศา เพื่อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติในงานทีวีรักษ์โลก 360 องศา แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ คือ มนุษย์ สร้างและรักษาสมดุลธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กำหนดเป้าหมายเพิ่มปริมาณน้ำ ในกฎหมาย ลดใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดผังเมืองคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างระบบการขนส่งสาธารณพื้นฐาน และรณรงค์ให้ประชาชนใช้ ส่งเสริมการใช้ดัชนีความสุข ควบคู่ไปกับดัชนีรายได้มวลรวมผลผลิตประชาชาติ
ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)
การสัมมนา เรื่อง ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น โรคอาหารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ก่อโรคและอันตรายทางเคมี เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขสำาคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของประชาชน และเป็นอุปสรรคสำาหรับการค้าอาหารระหว่างประเทศที่ทำาให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระบบความปลอดภัยของอาหารที่มีประสิทธิภาพจึงจัดว่าเป็นเรื่องที่สำาคัญและเป็นประเด็นท้าทายสำาหรับทั้งผู้ผลิต และหน่วยงานรัฐที่ดูแลความปลอดภัยอาหาร ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งของการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของประชาคมอาเซียน และเป็นการเร่งให้เกิดโอกาสขนาดใหญ่ต่ออุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็นอย่างยิ่งโดยสินค้าอาหารของอาเซียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลกอาเซียนจึงเน้นความสำาคัญเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยของอาหารรวมถึงการจัดทำาระบบการรับรองสินค้าอาหารและเกษตรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างระบบและกระบวนการในการควบคุมคุณภาพของอาหารและมีความปลอดภัยมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน วิทยากรประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) – ( 563 Views)
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสียหาย
การสัมมนา เรื่อง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสียหายวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น ปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยกำลังถูกคุกคามอย่างมาก ทั้งผลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้เร่งฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมและเสียหายให้กลับคืนมา โดยความร่วมมือจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเทคโนโลยีและนำไปใช้ให้อย่างเป็นรูปธรรม วิทยากรประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐ จากการบรรยายในครั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้นำแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูมาใช้แก้ปัญหามาใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น การฟื้นฟูป่าโดยการโปรยเมล็ดจากอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดจิ๋ว (Micro-UAV) การส่งเสริมการปลูกป่า การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การใช้เทคโนโลยีในการติดตามสภาวะของสิ่งแวดล้อมช่วยให้ได้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง – ( 89 Views)
Information Literacy ในมิติของอาเซียน
การสัมมนา เรื่อง Information Literacy ในมิติของอาเซียน วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น Information Literacy ในมิติของอาเซียน ใประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ การรู้สารสนเทศ :แนวคิด การศึกษา และวิจัยในประเทศไทย และกลุ่มประชาคมอาเซียนโดย ศ.ดร.ชุติมา สัจจานันท์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การรู้สารสนเทศในยุคดิจิทัล : นโยบายและมุมมองในมิติเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย ดร. กษิติธร ภูภราดัย สวทช. วิทยากรทั้งสองท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนี้เป็นอย่างมาก – ( 709 Views)
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้รับการสถาปนาขึ้นตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พุทธศักราช 2540 ให้เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีระบบบริหารงานเป็นอิสระอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พันธกิจสำคัญคือ การพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดไปสู่กิจกรรมการวัดต่างๆ ในประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ หน่วยวัดของชาติได้รับการสถาปนาและพัฒนาให้เพียงพอตามความต้องการของผู้ใช้บริการในประเทศ และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ บุคคลากรด้านมาตรวิทยาได้รับการพัฒนา และสามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นองค์กรหลักในการประสานความร่วมมือด้านมาตรวิทยาของชาติทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมความเข้มแข็งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ทดสอบ และสอบเทียบระดับทุติยภูมิให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและจำนวนที่พอเพียงต่อ ความต้องการของประเทศ กิจกรรมการวัดต่างๆในประเทศมีความถูกต้องเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ กลุ่ม เป้าหมายผู้ใช้บริการมาตรวิทยาอันได้แก่ กลุ่มบุคคลผู้อยู่ในระบบงาน กลุ่มบุคคลผู้จะเข้าสู่ระบบงานในอนาคต และกลุ่มบุคคลทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของระบบมาตรวิทยา เพื่อให้สังคมไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กลุ่มเป้าหมายภาคอุตสาหกรรมได้รับการสนับสนุนในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานให้มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดการค้าโลกสูงขึ้น รัฐบาลสามารถใช้มาตรวิทยาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nimt.or.th แหล่งที่มา: สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.nimt.or.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 29 มีนาคม 2556)– ( 53 Views)
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกลางด้านการกำกับดูแล เฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ ตลอดจนเสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้งบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเกิดความปลอดภัยสูงสุด ทั้งกับตัวผู้ใช้และประชาชนทั่วไปเป็นสำคัญ พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหนึ่งในองค์กรกำกับการใช้พลังงานปรมาณูที่เป็นเลิศในอาเซียน (To be one of the excellent nuclear regulatory bodies in ASEAN) พันธกิจของหน่วยงาน พัฒนากฎหมาย และเสนอแนะนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณู เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม กำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้พลังงานปรมาณูให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เสริมสร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็งในการวิจัยและพัฒนาด้านกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู ประสานงาน และดำเนินการด้านพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศด้านพลังงานปรมาณู เผยแพร่ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยจากการใช้พลังงานงานปรมาณูให้แก่ประชาชน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.oaep.go.th แหล่งที่มา: สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : //www.oaep.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2556).– ( 55 Views)
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศโดยเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2434 จากการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2545 กรมวิทยาศาสตร์บริการอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นองค์กรเชี่ยวชาญและแหล่งอ้างอิงทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการของอาเซียน บริการด้านการวิเคราะห์ทดสอบในระดับเชี่ยวชาญของประเทศ วิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะด้านการทดสอบที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยการบริหารจัดการเชิงรุกแบบบูรณาการภายใต้ระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี บริการต่างๆ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ บริการวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ การให้บริการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ทดสอบความชำนาญห้องปฎิบัติการทดสอบและสอบเทียบ บริการสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dss.go.th แหล่งที่มา: กรมวิทยาศาสตร์บริการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : //www.dss.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2556).– ( 73 Views)
มหัศจรรย์คุณค่าจากผลไม้ไทย
มาบริโภคผลไม้กันเถอะ ประเทศไทยมีผลไม้หลากหลาย ผลไม้ไม่เพียงแต่อร่อย และยังมีคุณค่าต่อสุขภาพ ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้จัดทำกรอบการงานวิจัย 2 แนวทางคือ วิเคราะห์สารที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น คาโรทินอยด์ เฟลโวนอยด์ แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผลไม้มีสี และสารพวก dietary fiber ศึกษาผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการป้องกันโรคในผู้สูงอายุเช่น โรคหลอดเลือกอุดตัรน ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยความจำ ข้อมูลการวิจัยชี้ให้เห็นประโยชน์ของผลไม้ไทย ควรที่จะหันมาบริโภคผลไม้กันเถอะเพื่อสุขภาพที่ดี ประโยชน์ของผลไม้ไทยทีมีต่อสุขภาพ กล้วย…ช่วยเพิ่มไขมันดีในเลือด ทุเรียน..ลดไขมันในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน (ไม่ควรรับประทานทุเรียนร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์) ฝรั่ง..ลดเสี่ยงต่อหลอดเลือดอุดตัน – ( 107 Views)